‘บินไทย’เร่งสปีดรายได้ ตั้งเป้านี้แตะ 1.4 แสนล้าน ลุ้นออกจากแผนฟื้นฟูฯก่อนกำหนด

‘บินไทย’เร่งสปีดรายได้ ตั้งเป้านี้แตะ 1.4 แสนล้าน ลุ้นออกจากแผนฟื้นฟูฯก่อนกำหนด
การบินไทย เดินหน้าพลิกฟื้นกิจการ ปรับโหมดธุรกิจเลิกไทยสไมล์โอนย้ายเหลือ TG แบรนด์เดียว ปักธงปีนี้โกยรายได้ 1.3-1.4 แสนล้าน  หลังโชว์กำไรสุทธิ 1.1 หมื่นล้าน

นายปิยสวัสดิ์  อัมระนันทน์   ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า ภาพรวมผลการดำเนินงานของบริษัท ฯดีขึ้นต่อเนื่อง โดยมีกำไรติดต่อกัน 2 ไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 ผลจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยว

 รวมทั้งการปรับโครงสร้างทางธุรกิจและต้นทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการ โดยมีกำไรสุทธิ 11,154 ล้านบาท และมีกำไรก่อนหักต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) จากการดำเนินงาน 11,061 ล้านบาท ดีกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 660%

สำหรับปี 2565 สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2565 บริษัทฯมีรายได้ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 97,514 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 341% จากปี 2564   ซึ่งมาจากกิจกรรมขนส่งผู้โดยสาร สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ที่เติบโตสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มีค่าใช้จ่ายไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 86,307 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 127% จากปี 2564 จากค่าใช้จ่ายผันแปรในส่วนน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานที่มีการปรับราคาขึ้นไปอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

นอกจากนี้มี EBITDA จากการดำเนินงานหลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามสัญญาเช่าเครื่องบิน 19,689 ล้านบาท ดีกว่าประมาณการตามแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขความสำเร็จของแผนฟื้นฟูกิจการที่ระบุว่าบริษัทฯต้องมี EBITDA จากการดำเนินงานหลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามสัญญาเช่าเครื่องบินไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาทในรอบ 12 เดือนก่อนหน้าที่จะรายงานผลถึงผลสำเร็จของการฟื้นฟูกิจการ

“ผลประกอบการที่ออกมาทำให้เห็นว่าการปรับโครงสร้างองค์กรตามแผนฟื้นฟูกิจการได้สำเร็จตามเป้าหมายแล้ว จนทำให้ฐานะการเงินแข็งแกร่งขึ้น โดยในปีนี้จากธุรกิจการบิน การท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาชัดเจน  ซึ่งคาดการณ์จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาไทย 25 ล้านคน  ทางบริษัฯได้ตั้งเป้ารายได้ปีนี้โต 30 % จากปีก่อน  หรือ 1.3-1.4 แสนล้านบาท”

นายปิยสวัสดิ์ กล่าวถึง กิจการไทยสไมล์ ว่า ตามแผนฟื้นฟูฯได้กำหนดไว้ว่าการปรับโครงสร้างธุรกิจการบินไทยจะต้องยุบให้เหลือแบรนด์เดียว  เพื่อลดต้นทุนการบิน โดยจะโอนพนักงานไทยสไมล์ 800 คน มาอยู่ในการบินไทย ซี่งข้อดีคือจะทำให้การบินไทยมีความคล่องตัวในการจัดเส้นทางการบินมากขึ้น เนื่องจากบางประเทศ มีเงื่อนไขห้ามสายการบินมีผลขาดทุนเปิดเส้นทางการบิน โดยการบริการผู้โดยสารยังคงเหมือนกัน โดยไม่อยากให้ใช้คำว่ายุบกิจการ แต่เป็นการปรับโครงสร้างธุรกิจมากกว่า

อย่างไรก็ตามเมื่อผลประกอบการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ได้วางเป้าหมายการออกจากแผนฟื้นฟูกิจการฯในต้นปี 2567 โดยจะเพิ่มทุนด้วยวิธีแปลงหนี้เป็นทุนจากสถาบันการเงินรายเดิม และนักลงทุน ทั้งหุ้นกู้ และการปล่อยสินเชื่อ เพื่อให้ทุนกลับมาเป็นบวกซึ่งสถานภาพของการบินไทยจะเป็นบริษัทเอกชน ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ หลังจากนั้นจะยื่นสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์( ก.ล.ต.)เพื่อเข้าไปซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ในปี 2568

ปัจจุบันการบินไทย และบริษัทย่อย มีฝูงบินรวมทั้งสิ้น 64 ลำ และในตารางการบินฤดูร้อน ปี 2566 ให้บริการเที่ยวบินสู่ 39 เส้นทางบินทั่วโลก โดยได้ปรับเพิ่มความถี่เที่ยวบินในเส้นทางบินยุโรป ออสเตรเลีย เอเชีย อาทิ โตเกียว (นาริตะ และฮาเนดะ) โอซากา โซล ไทเป ฮ่องกง สิงคโปร์ กัลกัตตา มุมไบ เป็นต้น

ขณะเดียวกันได้กลับมาให้บริการเส้นทางบินเพิ่มเติมในเส้นทางประเทศจีนในช่วงต้นปีได้แก่ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ คุนหมิง เฉิงตู กวางโจว เพื่อรองรับการเดินทางที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

 

 

 

ในปี 2565 บริษัทฯและบริษัทย่อย มีปริมาณการผลิต (ASK) เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 243% และมีปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) เพิ่มขึ้นถึง 1,118% มีอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 67.9% สูงกว่าปี 2564 ซึ่งเฉลี่ยเท่ากับ 19.1% มีจำนวนผู้โดยสารที่ทำการขนส่งรวมทั้งสิ้น 9.01 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 449% มีปริมาณการผลิตด้านการขนส่งสินค้า (ADTK) สูงกว่าปีก่อน 249% ปริมาณการขนส่งสินค้า (RFTK) สูงกว่าปีก่อน 134% อัตราส่วนการขนส่งสินค้า (Freight Load Factor) เฉลี่ยเท่ากับ 63.1%

 

ปัจจุบันบริษัทฯและบริษัทย่อยมีอากาศยานที่ใช้ทำการบินรวมทั้งสิ้น 64 ลำ และในตารางการบินฤดูร้อน ปี 2566 ให้บริการเที่ยวบินสู่ 39 เส้นทางบินทั่วโลก พร้อมเพิ่มความถี่เที่ยวบินในเส้นทางบินยุโรป ออสเตรเลีย เอเชีย อาทิ โตเกียว (นาริตะ และฮาเนดะ) โอซากา โซล ไทเป ฮ่องกง สิงคโปร์ กัลกัตตา มุมไบ เป็นต้น และกลับมาให้บริการเส้นทางบินเพิ่มเติมในเส้นทางประเทศจีนในช่วงต้นปีได้แก่ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ คุนหมิง เฉิงตู กวางโจว เพื่อรองรับการเดินทางที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเร่งขยายขนาดฝูงบินให้เพียงพอต่อแผนเส้นทางบินและจำนวนเที่ยวบิน เพื่อบรรลุเป้าหมายการหารายได้ตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ นำไปสู่ความเจริญอย่างยั่งยืนในอนาคตต่อไป

 

ทั้งนี้ ผู้สอบบัญชีได้รับรองงบการเงินของบริษัทฯและบริษัทย่อยประจำปี 2565 โดยไม่มีเงื่อนไข

จากผลการดำเนินงานของบริษัทย่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด ซึ่งมีผลการดำเนินงานขาดทุน 4,248 ล้านบาท และรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียวสุทธิของบริษัทฯและบริษัทย่อยสุทธิที่เป็นรายได้ 1,187 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการกลับรายงานผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ กำไรจากการขายสินทรัพย์ การขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจากการตีมูลค่าทางบัญชีอันเป็นผลจากการอ่อนค่าของเงินบาท และต้นทุนทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 (TFRS 9) 11,148 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทฯและบริษัทย่อยขาดทุนสุทธิ 252 ล้านบาท หรือคิดเป็นขาดทุนต่อหุ้น 0.12 บาท อย่างไรก็ตามผลการดำเนินงานดังกล่าวยังอยู่ในระดับที่ดีกว่าประมาณการในแผนฟื้นฟูกิจการ  ในขณะที่ปี 2564 มีกำไรต่อหุ้น 25.25 บาท

 

แนวโน้มผู้โดยสารปีนี้เติบโตดี ฝูงบืย 44 ลำ  ปลายปีเข้ามาเป็น 55 ลำ  ตอนนี้การเ

TAGS: #การบินไทย #แผนฟื้นฟูกิจการ #ไทยสไมล์ #ฝูงบิน ุ