เทรนด์ ‘พรีเมียม’ มาแล้ว อีกพลังดันเศรษฐกิจเที่ยวไทย ดึงดูดนักเดินทางไฮเอนด์ ดันเป้ารายได้ 3.5 ล้านๆบาท

เทรนด์ ‘พรีเมียม’ มาแล้ว อีกพลังดันเศรษฐกิจเที่ยวไทย ดึงดูดนักเดินทางไฮเอนด์ ดันเป้ารายได้ 3.5 ล้านๆบาท
APISWA และ Oxford Economics เผยวิจัย เทรนด์พรีเมียมพลิกโฉม! กลยุทธ์ดึงนักท่องเที่ยวและนักดื่มระดับไฮเอนด์ เสริมแกร่งเศรษฐกิจไทย

รายงานวิจัยล่าสุดจาก Oxford Economics เผยให้เห็น "เทรนด์พรีเมียม" หรือการยกระดับการบริโภคสินค้าและบริการ (Premiumization) กำลังกลายเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตและฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบริการและค้าปลีกของประเทศไทย 

โดยทรนด์นี้ ยังสอดคล้องกับเป้าหมายของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในปี 2567 ที่มุ่งเน้นการดึงดูดนักท่องเที่ยวระดับไฮเอนด์ ตั้งเป้าสร้างรายได้ 3.5 ล้านล้านบาท โดย ททท. ให้ความสำคัญกับการยกระดับมาตรฐานและส่งมอบประสบการณ์การท่องเที่ยวที่เหนือระดับ เน้นการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพสูง ตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มองหาประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงไลฟ์สไตล์ รวมถึงอาหารและเครื่องดื่มที่พิเศษไม่เหมือนใคร

‘เทรนด์พรีเมียม’ หรือการยกระดับการบริโภคสินค้าและบริการ (Premiumization) หมายถึงการที่ผู้คนเลือกใช้จ่ายสินค้าและบริการด้านอาหารและเครื่องดื่มในระดับที่สูงขึ้น เนื่องจากกำลังซื้อภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นและความต้องการประสบการณ์ที่แปลกใหม่และน่าจดจำมากขึ้น

จากข้อมูลของ IWSR พบว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อัตราการจับจ่ายทั่วโลก เติบโตจากผู้คนที่ใช้จ่ายเงินกับเครื่องดื่มคุณภาพดีมากขึ้น โดยรายงานที่ชื่อว่า "International Wine and Spirits in ASEAN: The Economic Contribution of the International Wine and Spirits Value Chain in Thailand and Vietnam" จัดทำโดย Oxford Economics และได้รับมอบหมายจาก Asia Pacific International Spirits and Wine Alliance (APISWA) เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของการขายและจัดจำหน่ายไวน์และสุราต่างประเทศในสองประเทศเศรษฐกิจสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทยและเวียดนาม

ดาวิเด เบซานา ผู้อำนวยการ APISWA กล่าวว่า "ที่ APISWA เรามุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้ผู้คนตระหนักถึงการบริโภคสุราและไวน์อย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมโดยภาพรวมให้มีโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน รวมถึงภาคการบริการและการท่องเที่ยวด้วยการยกระดับการบริโภคสินค้าและบริการ (Premiumization) เป็นโอกาสทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจในไทยและภูมิภาค เพื่อเร่งการฟื้นฟู เติบโต และขยายตัว เทรนด์นี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งเน้นการบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ

“เราจะเห็นว่าไวน์และสุราจากต่างประเทศมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนภาคธุรกิจการบริการและการค้าปลีกระดับพรีเมี่ยม ซึ่งอุตสาหกรรมโดยภาพรวมจำเป็นต้องมีสภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบที่สมดุลและครอบคลุม เราหวังว่าข้อมูลจากในรายงานนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจที่ดี และนำไปสู่การปรึกษาหารือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคอุตสาหกรรมเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจสำหรับธุรกิจในประเทศ รวมถึงผู้ประกอบการ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าระดับพรีเมียมและบริการมากขึ้น”

ในรายงาน ได้มีการสรุปประเด็นสำคัญ เพื่อช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายและภาคธุรกิจของประเทศไทยเข้าใจและสามารถคว้าโอกาสจากเทรนด์ "พรีเมียม" ได้ชัดเจนขึ้น โดยสรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้

  • การยกระดับการบริโภคสินค้าและบริการ (Premiumization) สามารถส่งเสริมวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่ประเทศไทยพยายามดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีกำลังการซื้อสูง หลังจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดที่ผ่านมา ไวน์และสุราจากต่างประเทศเป็นส่วนประกอบสำคัญในการให้บริการระดับพรีเมี่ยม โดยที่ "การค้าปลีกและอาหารและเครื่องดื่ม" พบว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญนักท่องเที่ยวผู้มีฐานะพิจารณาเมื่อเลือกจองวันหยุด รองจาก "สุขภาพและความปลอดภัย"
  • การขายและจัดจำหน่ายไวน์และสุราต่างประเทศมีส่วนช่วยทางเศรษฐกิจอย่างมากต่อประเทศไทย ซึ่งรวมถึง GDP ของประเทศไทยในปี 2565 มูลค่า 198 ล้านเหรียญสหรัฐ (6.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้น 24 ล้านเหรียญสหรัฐ (0.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) จากปี 2564 ซึ่งสนับสนุนการสร้างงาน 20,500 ตำแหน่งและสร้างรายได้จากภาษี 292 ล้านเหรียญสหรัฐ (10.0 พันล้านบาท) ในปี 2565
  • เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากเทรนด์ "พรีเมียม" รัฐบาลควรสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไวน์และสุราทั้งในประเทศและต่างประเทศ

โดยรายงานเน้นย้ำว่า ความต้องการไวน์และสุราต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลสู่ผลิตภัณฑ์ในประเทศรวมถึงภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางขึ้น นำไปสู่ผลกระทบเชิงบวกอย่างทวีคูณ อันหมายถึง โอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ในท้องถิ่น การจ้างงานที่มีมูลค่าสูง สัดส่วนของกำไรและภาษีที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมการบริการและค้าปลีก

รายงานฉบับนี้ ได้มีการเปิดเผยข้อมูลในงานเสวนาที่จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง APISWA และ Oxford Economics โดยมี คุณเขมิกา รัตนกุล นายกสมาคมผู้ประกอบการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย กล่าวต้อนรับ โดยมี คุณ Liam Cordingley นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำ นำเสนอข้อมูลจาก Oxford Economics ซึ่งวิทยากรในงานเสวนา ประกอบด้วย: คุณรัชฎา รัชฎา วานิชกร ผู้อำนวยการ สำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต, คุณญาณี เลยวานิชเจริญ เลขาและกรรมการสมาคมการค้าธุรกิจร้านอาหารกลางคืน, คุณมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย และกรรมการภาคเอกชน และ คุณเขมิกา รัตนกุล นายกสมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย

โดยในงานนี้ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการและนักธุรกิจจากกลุ่มอุตสาหกรรมภาคการบริการและค้าปลีก รวมถึงตัวแทนภาครัฐ นักวิเคราะห์อุตสาหกรรม และนักวิชาการเข้าร่วมกันอย่างคับคั่ง

TAGS: #เทรนด์พรีเมียม #ค้าปลีกไทย #ท่องเที่ยวไทย