BANPU 2024 ปีแห่งการคิกออฟครั้งใหญ่ หลังได้ ซีอีโอรุ่นใหม่ เปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ทศวรรษที่5

BANPU 2024 ปีแห่งการคิกออฟครั้งใหญ่ หลังได้ ซีอีโอรุ่นใหม่ เปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ทศวรรษที่5
ภายหลัง บมจ.บ้านปู ประกาศแต่งตั้ง ‘สินนท์ ว่องกุศลกิจ’ รับตำแหน่ง ซีอีโอ แทน ‘สมฤดี ชัยมงคล’มีผลในวันที่ 2 เม.ย.นี้ ถือเป็นปีแห่งการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่องค์กรเพื่อมุ่งสู่ธุรกิจพลังงานในทศวรรษที่5

สมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทบ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU ผู้ดำเนินธุรกิจพลังงานที่หลากหลายระดับนานาชาติ กล่าวถึง ทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2567 บริษัทฯ จะมุ่งสร้างความแข็งแกร่งของทั้ง 3 ธุรกิจหลัก ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจแหล่งพลังงาน กลุ่มธุรกิจพลังงาน และกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน โดยต่อยอดประโยชน์สูงสุดจากระบบนิเวศของกลุ่มบริษัทบ้านปู (Banpu Ecosystem) เพื่อไปสู่ผู้นำธุรกิจพลังงานที่สามารถส่งมอบพลังงานยั่งยืน และตอบโจทย์ความต้องการด้านพลังงานของโลกในอนาคต

“ในปีนี้ ยังเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงการบริหารองค์กรครั้งใหญ่ หลังได้ผู้บริหารรุ่นใหม่คุณสินนท์ ว่องกุศลกิจ ที่เตรียมรับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BANPU ต่อจากนี้ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถและมุ่งมั่นอย่างมาก ที่จะผลักดันให้บ้านปูไปสู่เป้าหมายที่วางไว้” สมฤดี กล่าว

ด้าน สินนท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด (Banpu NEXT) หนึ่งในธุรกิจเรือธงของกลุ่มบ้านปู กล่าวในฐานะว่าที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BANPU ถึงวิสัยทัศน์ธุรกิจจากนี้ไปพร้อมเปลี่ยนผ่านการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอน หรือ Decarbonization ด้วยการนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัล และเอไอ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในทั้งหมด จะมุ่งให้ความสำคัญ ใน 3 ส่วนหลัก

1.การบริหารจัดการทรัพยากรพร้อมตอกย้ำการเป็นองค์กรธุรกิจพลังงานกรีนเนอร์ สมาร์ทเตอร์ (Greener & Smarter) จากการนำเทคโนโลยี นวัตกรรม รวมถึงเอไอ (AI) มาเพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าสูงสุดให้กับองค์กร 2.,มุ่งเน้นการลงทุนในโครงการที่ให้กระแสเงินสดมีประสิทธิภาพสูงสุด และ 3.การทำตลาดในประเทศหลักต่างๆ ที่บริษัทดำเนินการอยู่ อาทิ อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา อินเดีย ออสเตรเลีย เป็นต้น เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตธุรกิจด้านการเพิ่มมูลค่าการลงทุน (Value Investor) ในอนาคต เช่นการพัฒนาบล็อกเชน ออกมารองรับการซื้อขายน้ำมัน ก๊าซ ในอนาคต ฯลฯ

ขณะเดียวกัน ยังมองเห็นโอกาสของประเทศไทยในการผู้นำหรือศูนย์กลาง (Hub) อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ เพื่อรองรับนโยบายรถยนต์ไฟฟ้า EV 3.5  ของรัฐบาลในการสนับสนุนอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย พร้อมให้ความสำคัญด้านการบริหารจัดการกลุ่มธุรกิจพลังงานจากถ่านหิน (Fossil) และพลังงานทดแทน (Renewable) อย่างสมดุลซึ่งอยู่ในแผนธุรกิจทั้งระยะกลางและนระยะยาว ที่สอดคล้องกับแนวโน้ม(Trend) ความต้องการด้านพลังงานในแต่ละตลาดที่บริษัทเข้าไปลงทุน อาทิ ความต้องการพลังงานก๊าซในตลาดสหรัฐอเมริกา, ยุโรป หรือ พลังงานไฟฟ้าจากถ่านหินในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชีย อย่าง จีน อืนเดีย เป็นต้น  

“การทำงานของบ้านปูจากนี้ไปจะมั่นใจได้ว่าในทุกโครงการจะมีอิมแพคเกิดขึ้นที่เร็วและแรง เพื่อตอกย้ำตำแหน่งผู้นำด้านพลังงานของบริษัทที่หลากหลาย”  สินนท์ กล่าว

สำหรับผลประกอบการในปี 2566 กลุ่มบริษัทบ้านปูรายงานผลกำไรสุทธิจำนวน 160 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 5,343 ล้านบาท) โดยรายงานกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) รวม 1,562 ล้านเหรียญ สหรัฐ (ประมาณ 54,361 ล้านบาท) ซึ่งในปีที่ผ่านมา แต่ละกลุ่มธุรกิจมีความคืบหน้าที่สำคัญ ดังนี้

กลุ่มธุรกิจแหล่งพลังงาน ด้านธุรกิจเหมืองคงความสามารถในการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถสร้างกระแสเงินสดได้อย่างแข็งแกร่ง สำหรับธุรกิจก๊าซธรรมชาติ แม้ว่าราคาก๊าซจะไม่เอื้ออำนวย แต่บริษัทฯ สามารถปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานและการผลิตให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และบริหารจัดการต้นทุน เพื่อคงความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดได้อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ยังมีความคืบหน้าในโครงการดักจับและกัก เก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS) ในสหรัฐอเมริกา ที่เริ่มดำเนินการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เรียบร้อยแล้ว

กลุ่มธุรกิจผลิตพลังงาน สำหรับธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน มีผลการดำเนินงานที่ดีจากการรักษา ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้อย่างมั่นคง โดยโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Temple และ Temple II ในสหรัฐฯ รายงานผลการดำเนินงานที่ดีจากความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังได้อานิสงส์จากราคารับซื้อไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงวิกฤตคลื่นความร้อนในรัฐเท็กซัส

ในขณะที่โรงไฟฟ้าเอชพีซี (HPC) ในประเทศลาว โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี (BLCP) ในประเทศไทย และโรงไฟฟ้าชานซี กวง (Shanxi Lu Guang: SLG) ในประเทศจีน สามารถเดินเครื่องได้ อย่างมีประสิทธิภาพและมีค่าความพร้อมจ่าย (Equivalent Availability Factor: EAF) ในระดับสูง ด้านธุรกิจผลิต ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน มีกำลังผลิตรวมจากพลังงานหมุนเวียน 870 เมกะวัตต์ โดยโรงไฟฟ้าพลังงาน แสงอาทิตย์ในทุกประเทศต่างมีผลการดำเนินงานที่ดีจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยและค่าความเข้มของแสงที่สูง

กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน มีการเติบโตต่อเนื่องของโซลูชันพลังงานฉลาดแบบครบวงจรผ่านการขยายฐาน ลูกค้าและการลงทุนสู่พันธมิตรใหม่ ๆ ในธุรกิจแบตเตอรี่และระบบกักเก็บพลังงาน (Battery & Energy Storage System Solutions: BESS) เพื่อสร้างห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจแบตเตอรี่ที่แข็งแกร่ง อาทิ การลงทุนใน โครงการฟาร์มแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ กำลังกักเก็บพลังงานไฟฟ้า 58 เมกะวัตต์ ที่เมืองโตโนะ (Tono) จังหวัดอิวาเตะ (Iwate) ในประเทศญี่ปุ่น

การลงทุนในบริษัท เอส โวลต์ เอเนอร์จี้ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อร่วมกันพัฒนา ผลิตและจัดจำหน่ายแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยานยนต์ 2 ล้อ และ 3 ล้อ รวมไปถึงระบบกักเก็บ พลังงาน การรีไซเคิลแบตเตอรี่ และบริการด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจัดตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ในจังหวัดชลบุรี กำลังผลิตราว 2 กิกะวัตต์ชั่วโมง

ขณะที่ธุรกิจพัฒนาเมืองอัจฉริยะและจัดการพลังงาน (Smart Cities & Energy Management) มีความคืบหน้าสำคัญ โดยบริษัท บีเอ็นเอสพี สมาร์ท เทค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บ้าน ปู เน็กซ์ กับเอสพี กรุ๊ป ผู้ให้บริการระบบสาธารณูปโภคด้านพลังงานแห่งชาติในสิงคโปร์และเอเซีย-แปซิฟิก ได้รับ คัดเลือกให้ดำเนินการออกแบบ พัฒนา และบริหารจัดการระบบผลิตความเย็นจากส่วนกลาง (District Cooling System) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ โซนซี

นอกจากนี้ ธุรกิจอี-โมบิลิตี้ (E-Mobility) ยังขยายการให้บริการ ระบบสัญจรทางเลือกแบบครบวงจรในรูปแบบ Mobility as a Service (MaaS) และการบริหารการเดินทางและ ขนส่งด้วยยานพาหนะไฟฟ้า(EV Fleet Management) เพื่อส่งเสริมการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะให้ครอบคลุม ยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีจุดบริการไรด์ แชร์วิ่ง 2,500 จุด, คาร์แชร์ยิ่งกว่า 1,500 จุด, สถานีชาร์จกว่า 300 สถานีและจุด บริการหลังการขายรถยนต์ไฟฟ้า 20 แห่ง

TAGS: #บ้านปู #ฺBANPU #พลังงงาน