หนุนเลิกตรึงดีเซล 30 บาทเป็นจังหวะเหมาะสม

หนุนเลิกตรึงดีเซล 30 บาทเป็นจังหวะเหมาะสม
ม.หอการค้าฯเชื่อส่งผลดีต่อการดูแลราคาพลังงานในระยะยาวหยุดสร้างภาระหนี้ มองสัญญาณเศรษฐกิจเริ่มขับเคลื่อนรองบปี’67เข้าระบบ

รศ.ดร.ธนวรรธน์  พลวิชัย   อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย   เปิดเผยว่า การตรึงราคาพลังงานนานเกินไปจะทำให้เกิดการบิดเบือนในเรื่องการใช้พลังงาน ส่งผลให้ไม่รู้จักการประหยัดทำให้เกิดการสิ้นเปลือง ซึ่งในต่างประเทศไม่นิยมการใช้นโยบายแบบนี้ที่นานเกินไป เพราะจะทำให้เกิดหนี้สาธารณะหนี้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นภาระในอนาคต

“ขณะนี้ภาวะเศรษฐกิจมีสัญญาณที่สามารถเดินได้แล้ว ขณะที่เดือนเม.ย.นี้งบประมาณรายจ่ายจะเริ่มถูกนำมาใช้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกที่ทำให้เศรษฐกิจเริ่มมีการขับเคลื่อน ดังนั้นการยเลิกตรึงราคาจึงเป็นเรื่องที่เหมาะสม โดยปล่อยให้ขึ้นแบบขั้นบันไดเพื่อไม่ให้เกิดแรงกระแทกมากจนเกินไป”

 

อย่างไรก็ตามหากมองถึงราคาดีเซลที่ใช้กันวันละ 70 ล้านลิตร เฉลี่ยเป็นเงินเดือนละ2,000 ล้านบท ไม่ถือว่าเป็นจำนวนมาก จึงไม่น่ามีผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจ ประกอบกับรัฐบาลจะมีมาตรการอื่นๆมาขับเคลื่อน ส่วนที่เป็นห่วงผลกระทบต่อราคาสินค้า นั้น ในช่วงที่ผ่านมาเงินเฟ้อติดลบต่อเนื่อง 5-6 เดือน และคาดว่าเดือนเม.ย.นี้เงินเฟ้อน่าจะขยับขึ้นมาได้

 

อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลจะตัดสินใจยกเลิกการตรึงราคาดีเซล 30 บาท  เป็นที่เหมาะสมในช่วงเวลานี้เพราะ 1.หน่วยงานต่างทางด้านเศรษฐกิจพอจะรับรู้ถึงแนวโน้มการปรับราคาพลังงานบ้างแล้ว และ2.เรากำลังเข้าสู่กลไกราคาพลังงานที่เหมาะสมเพราะเราตรึงราคาพลังงานเกินไปตั้งแต่โควิด สิ่งสำคัญตอนนี้คือทุกคนต้องปรับตัวทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจ

TAGS: #เลิกตรึงดีเซล #เศรษฐกิจฟื้น #หนี้สาธารณะ