เปิดอาณาจักรธุรกิจ F&B 19 แบรนด์ในมือ ‘พอลล์ กาญจนพาสน์’ กับกลยุทธ์พิชิตรายได้ 3 พันล.บาท ในปี 2569

เปิดอาณาจักรธุรกิจ F&B  19 แบรนด์ในมือ ‘พอลล์ กาญจนพาสน์’ กับกลยุทธ์พิชิตรายได้ 3 พันล.บาท ในปี 2569
ย้อนไป 50 ปีก่อน ‘บางกอกแลนด์’ ก่อตั้งขึ้นเพื่อทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ‘เมืองขนาดย่อม’ ที่มีความครบทั้งที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงานไปจนถึงสถานที่จัดงานแสดงสินค้าที่รู้จักกันดีอย่าง ‘อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ในวันนี้ ธุรกิจต่างๆ อยู่ภายใต้มือการบริหารของ ‘พอลล์ กาญจนพาสน์’ ทายาทหลายพันล้าน ในฐานะรุ่น2 ของอาณาจักรบางกอกแลนด์ เข้ามารับช่วงบริหารธุรกิจต่อจากรุ่นหนึ่ง ‘อนันต์ กาญจนพาสน์’ ผู้เป็นบิดา

โดยนอกจาก จะดูแลธุรกิจหลักทั้งอสังหาฯที่อยู่อาศัย ธุรกิจค้าปลีก ศูนย์แสดงสินค้าและแสดงงาน แล้ว

พอลล์ ยังดูแลอีกหนึ่งธุรกิจสำคัญอย่างร้านอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage) หรือ F&B ในมือที่วางไว้เป็นอีกหนึ่ง ‘หมากธุรกิจ’ ตัวสำคัญที่จะใช้เป็นกลยุทธ์เติมเต็มธุรกิจต่างๆในเครือบางกอกแลนด์ให้ ‘คอมพลีท’ ยิ่งขึ้น

พอลล์ บอกว่าในปัจจุบันมีธุรกิจ F&B ที่อยู่ในเครือมากถึง 19 แบรนด์ รวมกว่า 32 สาขาแล้ว โดยมีร้านอาหารจีน ‘ฮ่องกง ฟิชเชอร์แมน’ เป็นแบรนด์แรก โดยร้านตั้งในทำเลบริเวณอาคาร 12 ของ อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น เซ็นเตอร์

พร้อมย้อนที่มาถึงการทำอสังหาฯที่อยู่อาศัยอยู่ดีๆ แล้วทำไมถึงอยากทำร้านอาหาร ให้ฟังว่า  

ด้วยเหตุผลอยากให้ศูนย์มีความสมบูรณ์แบบ ครบครันด้วยบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับลูกค้าผู้เดินทางมาเยือน

อีกทั้งธุรกิจนี้ ยังจะสนับสนุนการดำเนินธุรกิจไมซ์ (MICE) ในทุกการจัดงานทั้งประชุม สัมมนา จัดนิทรรศการ จัดแสดงสินค้า และอินเซนทีฟ บริการอาหารเครื่องดื่ม มีส่วนช่วยเสริมให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกจัดงาน ใช้บริการอาหารและเครื่องดื่ม บริการจัดเลี้ยง ซึ่งการมีร้านอาหารที่มีความหลากหลาย ทำให้ลูกค้าเลือกใช้บริการได้ตามต้องการ สำหรับการจัดงานภายในศูนย์ฯ และนอกศูนย์ฯ โดยมี ‘อิมแพ็ค เคเทอริ่ง’ ให้บริการ

มาจนถึงปัจจุบันกลุ่มร้านอาหารในเครืออิมแพ็คประกอบด้วย 19 แบรนด์ รวม 32 สาขา ทั้งในพื้นที่ศูนย์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี และโดยรอบกรุงเทพและปริมณฑล แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

  1. กลุ่มร้านอาหารจีน มี 4 แบรนด์ ได้แก่
  • ฮ่องกง ฟิชเชอร์แมน
  • ฮ่องกง คาเฟ่
  • ฮ่องกงสุกี้
  • เฮยยิน

  1. กลุ่มร้านอาหารญี่ปุ่น มี 2 แบรนด์ ได้แก่
  • สึโบฮาจิ
  • ไทโช เต ราเมน

  1. กลุ่มร้านกาแฟ มี 2 แบรนด์ ได้แก่
  • เดอะ คอฟฟี่ อะคาเดมิคส์
  • อีส คาเฟ่
  1. กลุ่มร้านอาหารนานาชาติ มี 9 แบรนด์ ได้แก่
  • ทองหล่อ
  • เทอราซซ่า
  • อีสาน แอ็ท อารีน่า
  • อีสานจิ้มจุ่ม
  • แจ็คกี้ ซีฟู้ด
  • บรีซ คาเฟ่ แอนด์ บาร์
  • อุวะจิมะ
  • อิมแพ็ค ฟาร์ม
  • Beverage Bar

  1. กลุ่มผับและบาร์ มี 2 แบรนด์ ได้แก่
  • ฟลาน โอเบรียนส์  ไอริส ผับ
  • เรโทร บาร์ แอนด์ คาเฟ่

พอลล์ บอกว่า "หากให้จัดอันดับธุรกิจร้านอาหารขายดีในเครือบริษัทแล้ว จะพบว่า อันดับ 1 เป็นกลุ่มร้านอาหารจีน ที่ได้รับความนิยมมากสุด ซึ่งได้รับเลือกให้บริการจัดเลี้ยง ทั้งในและนอกสถานที่ ส่วนอันดับ 2 เป็นกลุ่มร้านอาหารญี่ปุ่น และ อันดับ 3 จะเป็น ร้านกาแฟ เดอะ คอฟฟี่ อะคาเดมิคส์"

ขณะที่แผนธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มทั้ง19 แบรนด์นับจากนี้ ‘พอลล์’ มองทิศทางจากนี้ไป จะให้ความสำคัญกับธุรกิจร้านอาหารอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้น 2 กลยุทธ์หลัก เพื่อสร้างการเติบโต คือ  

กลยุทธ์ที่ 1 การปรับโฉม การขยายสาขาใหม่ โดยร้านอาหารที่อยู่บนพื้นที่ อิมแพ็ค เมืองทองธานี จะเน้นการปรับโฉม ปรับปรุงร้านใหม่ จัดโซนร้านอาหารตามประเภทอาหารให้ชัดเจน เพิ่มที่นั่งในแต่ละร้าน เป็นต้น

“เพื่อรองรับกลุ่มผู้จัดงาน ผู้เข้ามาใช้บริการ ร้านอาหารภายในศูนย์ โดยเฉพาะงานระดับนานาชาติ ที่หมุนเวียนเข้ามาจัดงานเพิ่มขึ้น”    

ส่วนการขยายสาขานอกพื้นที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ยังคงเดินหน้าต่อเนื่อง โดยโฟกัสไปที่ 2 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มร้านอาหารญี่ปุ่น ภายใต้แบรนด์ สึโบฮาจิ ร้านอาหารญี่ปุ่นต้นตำรับจากฮอกไกโด ล่าสุดได้เปิดสาขาที่ 7 โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ราชพฤกษ์ เมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านม
  2. กลุ่มร้านกาแฟ เดอะ คอฟฟี่ อะคาเดมิคส์ จะเน้นเปิดร้านรูปแบบคีออส (Kiosk) ตามพื้นที่อาคารสำนักงานมากขึ้น

กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาบริการใหม่ๆ ต่อยอดธุรกิจร้านอาหาร เช่น บริการเคเทอริ่ง บริการเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชัน ไลน์แมน, แกร็บ, ฟู้ดแพนด้า และโรบินฮู้ด เป็นต้น

โดยแต่ละร้านจะนำเสนอเมนูที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่าง ร้านอาหารไทยทองหล่อ นำเสนอข้าวกล่องทองหล่อในราคาเริ่มต้น 150 บาท ร้านสึโบฮาจินำเสนอเมนูเบนโตะอาหารญี่ปุ่นในราคาเริ่มต้น 80 บาท เป็นต้น

พอลล์ เสริมว่า “ธุรกิจร้านอาหารแม้มีคู่แข่งมาก แต่ก็มีอัตราการเติบโตขึ้นทุกปีเช่นกัน อีกทั้งขณะนี้ผู้บริโภคก็กลับมาใช้ชีวิตตามปกติแล้ว อิมแพ็ค ก็ต้องพัฒนาธุรกิจเพิ่มสีสันและสร้างความแปลกใหม่รองรับความต้องการของลูกค้า และดึงดูดผู้มาใช้บริการร้านอาหารภายในศูนย์ฯ ให้น้ำหนักกับการพัฒนาร้านอาหารที่อยู่ภายในศูนย์ฯ” 

โดยรองลงมา คือ การขยายสาขานอกพื้นที่ ซึ่งอยู่ระหว่างการหาพื้นที่ทำเลที่เหมาะสม  นอกจากการปรับโฉมร้านอาหารใหม่ ตกแต่งร้าน เพิ่มสีสัน สร้างบรรยากาศใหม่ ยกระดับการบริการ การให้คำแนะนำเกี่ยวกับอาหาร อิมแพ็ค ยังมีจุดแข็ง ทุกร้านมีเชฟผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารแต่ละประเภทประจำร้าน

อย่างไรก็ตาม การปรับโฉมร้านอาหารภายในศูนย์ฯ การขยายสาขาใหม่นอกพื้นที่ และการขยายไลน์บริการใหม่ๆ ของกลุ่มร้านอาหาร จะช่วยเพิ่มฐานลูกค้าผู้เข้ามาใช้บริการภายในศูนย์ฯ พร้อมกับลูกค้าใหม่ๆ ควบคู่ไปด้วย

ทั้งนี้ จะส่งผลให้รายได้จากธุรกิจร้านอาหารในเครืออิมแพ็คเติบโตขึ้น ตามแผนที่วางไว้ว่าภายในปี 2569 อิมแพ็คจะมีรายได้จากธุรกิจร้านอาหารเพิ่มเป็น 3,000 ล้านบาทอย่างแน่นอน

เปิดพิกัดสาขา แบรนด์ร้านอาหารในเครือฯ

  1. Flann O’Brien’s Irish Pub

ฟลาน โอเบรียนส์ ไอริช ผับ : ฟู้ดเอเทรี่ยม อาคารชาเลนเจอร์ 3 (ภายในศูนย์ฯ)

  1. Terrazza

เทอราซซ่า : ล็อบบี้อาคาร 6 อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น เซ็นเตอร์ (ภายในศูนย์ฯ)

  1. Ease Café

อีส คาเฟ่  : ล็อบบี้ อาคารชาเลนเจอร์ 3 (ภายในศูนย์ฯ)

อีส คาเฟ่  : ล็อบบี้ อาคาร 4 อิมแพ็ค ฟอรั่ม (ภายในศูนย์ฯ)

อีส คาเฟ่ บาย อิมแพ็ค : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

  1.  Tsubohachi

สึโบฮาจิ  : ชั้น 1 นิฮอนมาจิ มอลล์ สุขุมวิท 26

สึโบฮาจิ  : ชั้น 1 บีไฮฟ ไลฟ์สไตล์มอลล์ เมืองทองธานี

สึโบฮาจิ  : ชั้น 3 เดอะพรอมานาด รามอินทรา

สึโบฮาจิ  : ชั้น 2 สเปลล์ แอท ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต

สึโบฮาจิ  : ชั้น 1 ห้างคอสโม บาซาร์ เมืองทองธานี

สึโบฮาจิ  : ชั้น 1 ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ ราชพฤกษ์  

สึโบฮาจิ : ชั้น 2 เดอะ พอร์ทอล ไลฟ์สไตล์ คอมเพล็กซ์ เมืองทองธานี (ภายในศูนย์ฯ)

  1. Taisho-Tei

ไทโช-เต : ฟู้ดเอเทรี่ยม อาคารชาเลนเจอร์ 3  (ภายในศูนย์ฯ)

ไทโช-เต : สกายคิทเช่น อาคารชาเลนเจอร์ 3  (ภายในศูนย์ฯ)

  1. Hong Kong Fisherman

ฮ่องกง ฟิชเชอร์แมน  : ล็อบบี้ อาคาร 12 อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น เซ็นเตอร์ (ภายในศูนย์ฯ)

ฮ่องกง คาเฟ่   : ฟู้ดเอเทรี่ยม อาคารชาเลนเจอร์ 3 (ภายในศูนย์ฯ)

ฮ่องกง สุกี้ :  ชั้น 2 เดอะ พอร์ทอล ไลฟ์สไตล์ คอมเพล็กซ์ เมืองทองธานี (ภายในศูนย์ฯ)

  1. HEI YIN

เฮยยิน : ชั้น 3 ศูนย์การค้าเกษรวิลเลจ ราชประสงค์

  1. Breeze Café &Bar

บรีซ คาเฟ่ แอนด์ บาร์ : อิมแพ็ค เลคฟร้อนท์ ริมทะเลสาบเมืองทองธานี

  1. Isan

อีสาน แอ็ท อารีน่า : ชั้น 2 อาคารเดอะ พอร์ทอล เมืองทองธานี (ภายในศูนย์ฯ)

อีสาน จิ้มจุ่ม :อิมแพ็ค เลคฟร้อนท์ ริมทะเลสาบเมืองทองธานี

  1. Uwajima      

อุวะจิมะ : อิมแพ็ค เลคฟร้อนท์ ริมทะเลสาบเมืองทองธานี

  1. Retro Bar & Café

เรโทร บาร์ แอนด์ คาเฟ่ : ชั้น 1 อาคาร เดอะ พอร์ทอล ไลฟ์สไตล์ คอมเพล็กซ์ (ภายในศูนย์ฯ)

  1. The Coffee Academics

เดอะ คอฟฟี่ อะคาเดมิคส์ : โครงการเวลา หลังสวน

เดอะ คอฟฟี่ อะคาเดมิคส์ : ศูนย์การค้าเกษรวิลเลจ ราชประสงค์

เดอะ คอฟฟี่ อะคาเดมิคส์ : ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์

เดอะ คอฟฟี่ อะคาเดมิคส์ : ศูนย์การค้าเมกาบางนา

  1. Thonglor Thai Cuisine

ร้านอาหารไทย “ทองหล่อ” : ล็อบบี้ อาคารชาเลนเจอร์ 3 (ภายในศูนย์ฯ)

  1. Jackie Seafood

แจ๊คกี้ ซีฟู้ด : อิมแพ็ค เลคฟร้อนท์ ริมทะเลสาบเมืองทองธานี

  1. Nippon Yokocho

นิปปอน โยโคโจว : ฟู้ดเอเทรี่ยม อาคารชาเลนเจอร์ 3  (ภายในศูนย์ฯ)

TAGS: #อิมแพ็คเมืองทองธานี #บางกอกแลนด์ #พอลล์ #กาญจนพาสน์