จากงานสัมมนา AP Thailand Presents ‘CREATIVE TALK CONFERENCE 2024 (CTC2024)’ พร้อมช่วง SPECIAL SESSION แอบฟัง CEO 2 เจนฯเค้าคุยกัน กับ ‘เคล็ดลับการบริหาร (ใจ) คน ที่ทั้ง 2 CEO ไม่เคยบอกใคร’
โดยในเวทีฯ ได้คุณอนุพงษ์ อัศวโภคิน CEO เอพี ไทยแลนด์ และคุณรวิศ หาญอุตสาหะ CEO ศรีจันทร์ และเจ้าของเพจ Mission To The Moon มาร่วมแบ่งปันแนวคิด การบริการธุรกิจในแบบ 2 สไตล์ 2 เจนเนอเรนชั่น ที่เข้าคู่กันได้อย่างกลมกล่อม
เรื่องไหนไม่ชัดเจน นั่นคือหน้าที่ของผู้นำ ล้วงลึกเผยคัมภีร์ CEO
5 เคล็ดลับการบริหารของผู้นำที่ไม่เคยบอกใคร!
#เคล็ดลับที่1 - สไตล์บริหารของผู้นำแต่ละท่าน?
[คุณอนุพงษ์]
การบริหารของ AP Thailand เรามี 3 Stages
- Stage 1: ช่วงที่ยังเป็นบริษัทเล็กๆ โค้ชใกล้ชิดกับนักเตะ คนเป็นโค้ชหรือผู้นำต้องลงไปทำเอง บทบาทจะวางไว้หลวมๆ เพราะการทำบริษัทเล็ก คนนึงต้องทำได้หลายอย่าง
- Stage 2: กลับกันเมื่อบริษัทโตขึ้น เราจะเปลี่ยนวิธีคิดทันที Process + Structure เป็นสิ่งสำคัญในการหาคน คือการรู้ว่าอะไรเติบโต เราจะวางพนักงานแบบไหน
- Stage 3: เมื่อบริษัทเริ่มเติบโตมากขึ้น สิ่งที่ต้องโฟกัสก็จะเริ่มเปลี่ยน กลายเป็น Culture มีความสำคัญมากขึ้นกว่าเดิม การตัดสินใจในเรื่องใหญ่ๆ จะเป็นตัวชี้วัด และเป็นเรื่องของผู้นำ
[คุณรวิศ]
- สไตล์บริหารงานของผมเสมือนโค้ชฟุตบอล เรามีหน้าที่เป็นโค้ช คอยไกด์ ถ้าเขาต้องการอะไรเพิ่มเราก็จะคอยช่วย และในช่วงวิกฤต เราจะลงไปทำงานมากขึ้น
- Tight - Loose - Tight เทคนิคการบริหารทีม
- Tight: ตั้งเป้าหมายต้องชัด เปรียบเทียบทีมฟุตบอล เราต้องรู้เราเล่นอยู่ในเกมไหน และต้องเข้าใจกติการ่วมกัน
- Loose: วิธีการทำงาน ในสนามจริงต้องปล่อยให้คนทำงาน ส่วนเราเป็นโค้ชคอยแนะนำข้างสนาม
- Tight: การวัดผล แมทไหนเราต้องถอย, แมทไหนควรตัดเชือก ต้องวิเคราะห์ให้ได้ ถ้าเป้าหมายแรกดี การวัดผลก็จะดี
#เคล็ดลับที่2 - เทคนิคการตัดสินใจของผู้นำ?
[คุณอนุพงษ์]
- ที่บริษัท AP Thailand เรา CEO ไม่ค่อยได้ตัดสินใจแล้ว เหตุเพราะเราต้องให้คนที่ใกล้ลูกค้าที่สุด และคนที่รู้จักลูกค้าดีที่สุดตัดสินใจแทน
- แต่ความเป็นอิสระไม่มีทางมีได้ ถ้าไม่มีขอบเขต หน้าที่ของ CEO คือกำหนดขอบเขต แล้วให้คนที่รู้จักตลาดดีกว่าเราตัดสินใจแทน
- และเป็นหนึ่งในความท้าทายให้กับพนักงานของ AP Thailand ถ้าสิ่งที่ทำสำเร็จ คุณจะได้รับสิ่งนั้น แต่ถ้ามันผิดพลาด คุณก็ต้องรับผิดเช่นกัน เพื่อฝึกให้เกิดการตัดสินใจเล็กๆ ในองค์กร
- การตัดสินใจของเราคือ Work Smart เน้น Outcome แต่คุณสามารถไปหาวิธีการจัดการให้สำเร็จได้
[คุณรวิศ]
- ข้อมูลที่ไม่พร้อมมากๆ มีความไม่ชัดเจน คนที่ต้องรับผิดชอบคือ ‘ผู้นำ’
- เวลาตัดสินใจต้องรู้สึกใจสั่น แต่ถ้าเวลาฟังแล้วงั้นๆ มันก็จะงั้นๆ ดังนั้นการจะทำโปรเจกต์ใหม่ถ้าเรารู้สึกอินร่วมและมีความเป็นไปได้ นี่คือความสำคัญของการตัดสินใจ
- เราต้องใส่ทุกอย่างใน Proportion ให้ถูกต้อง ถูกในที่นี้คือถูกตามหลักการ และถูกต้องตามธุรกิจ ถ้าเราไม่ให้น้ำหนักการตัดสินใจที่ถูกต้อง จะกลายเป็นเราเอาความชอบของตัวเองไปตัดสินใจ แล้วเกิด Bias ขึ้นในการตัดสินใจ
- การทดลองสำคัญ ลองทำ Prototype แล้วเราจะรู้ว่าตลาดชอบหรือไม่ชอบ เพราะลูกค้าเป็นคนบอก
#เคล็ดลับที่3 - CEO มีภาวะหมดไฟ (Burnout) ได้ไหม?
[คุณอนุพงษ์]
- สุขภาพที่ไปแล้วมันเอากลับมาไม่ได้
- คนเราไม่มีเวลาโฟกัสได้นาน เราต้องหาเรื่องสนุกกับมันให้ได้
- ส่วนหนึ่งที่ทำให้เราไม่อยากตื่นมาทำงานเยอะที่สุดคือ ‘เบื่อคน’ ซึ่งอาจจะเกิดจากเราไม่ชอบเขา แต่กลับกันให้ลองถามว่า เราเอางานเป็นที่ตั้ง จะช่วยเรื่องนี้ได้
- การเอาใจเขามาใส่ใจเรา โลกแห่งความเป็นจริงเรากลับมองสถานการณ์คนอื่น ด้วยการเอาตัวเองมาประเมิน แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ ‘คุณต้องฟังเขา’ เราต้องหา ‘Needs Objective Challenge’ คือคุณไม่ได้เอาสถานการณ์ของเขามาประเมิน เราต้องดู ความต้องการ เพื่อดูว่าความท้าทาย หรือความต้องการของเขาจริง ๆ มันคืออะไร
[คุณรวิศ]
- การดูแลร่างกายและจิตใจสำคัญมาก ผมเคยเป็นคนที่ทำงานหนักเกินไป จนผมได้สะกิดใจกับคำพูดนึงของคนร่วมประชุมว่า ‘ความสำเร็จขององค์กรขึ้นอยู่กับการควบคุมอารมณ์ของ CEO มากกว่าการบริหารงาน’ เวลาเราโกรธ เราอารมณ์เสีย ไม่ได้ช่วยให้งานดีได้ และส่งผลเสียต่อองค์กร
- หนึ่งในเทคนิคของผมคือการดูแลสุขภาพร่างกาย เพราะ Burnout มาจากที่ร่างกายเราไม่พร้อม นอนไม่พอ เพราะถ้ายิ่งเรานอนพอ IQ จะดี และ EQ จะดี
- งานเยอะไม่ได้ทำให้ Burnout แต่ถ้าเราไม่ดูแลร่างกายและจิตใจให้ดียังไงก็ Burnout ได้
#เคล็ดลับที่4 - คำแนะนำเรื่องของ AI ในมุมของผู้บริหาร
[คุณอนุพงษ์]
- โลกมีการเปลี่ยนแปลงเยอะมาก จากประสบการณ์ของคุณอนุพงษ์เคยได้ยินมาว่า ‘AI มาทองคำอาจจะกลายเป็นขี้’ หมายถึงคนเขียน Coding จะโดน AI แทนที่ ตอนนี้ AI มาเริ่มมีอาชีพใหม่เกิดขึ้น ดังนั้น AI จะเก่งได้เราต้องตั้งคำถามให้ถูก สิ่งสำคัญคือเราต้องเป็น Specialist ในการตั้งคำถามเพื่อให้ AI ทำงาน
- AI ยังไม่มี Creativity มันยังทำสิ่งใหม่ไม่ได้ เพราะ AI ในตอนนี้กำลังทำงานที่เราเคยทำในอดีต ดังนั้นเราอย่าไปกลัว เราต้องรู้ว่า AI คืออะไร เราต้องควบคุมให้ได้ซึ่งสำคัญมาก เป็นหนึ่งในทักษะของยุคนี้
- หัวใจสำคัญคนต้องรู้ว่า AI คืออะไร แล้วใช้มัน อย่าไปกลัว!
[คุณรวิศ]
- เรามาถึงยุคที่ต้องเล่นเรื่อง AI แล้ว และต้องหาว่าตัวเราเองมี Value อะไรที่จะไม่เปลี่ยนบ้างสำหรับมนุษย์ และอะไรในโลกที่จะไม่เปลี่ยน
- คนที่จะเจริญรุ่งเรืองได้ ต้องนิสัยดี เป็นคนน่ารัก เป็นคนที่ใคร ๆ ก็อยากอยู่ด้วย
- หนึ่งอย่างต้องยอมรับว่าการปฏิวัติ 6 ครั้งในโลกที่ผ่านมา มันมีแต่ใช้แรง แต่กลับกันมันไม่มีของที่ฉลาดกว่าเรา ดังนั้นครั้งนี้ถึงน่าตื่นตัว เพราะ AI อาจจะฉลาดกว่าเราก็ได้
#เคล็ดลับ5 - การส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นจาก AP Thailand
[คุณอนุพงษ์]
- Culture องค์กร = Storytelling เรื่องราวความเป็นมาขององค์กรเสมือนเป็นประวัติศาสตร์ที่สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้แข็งแกร่งและยั่งยืนได้ และเพื่อสานต่อ Value ที่ AP Thailand มีมาอย่างยาวนาน ให้รุ่นสู่รุ่นได้รับรู้ถึงคุณค่าและเข้าใจไปในแนวทางเดียวกัน รับรู้ว่าองค์กรเคยผ่านอะไรมา และกำลังดำเนินงานเพื่อส่งมอบอะไรให้กับลูกค้าและสังคม จึงเป็นที่มาของการบันทึกเรื่องราวตลอดกว่า 30 ปีที่ผ่านมา ผ่านหนังสือที่มีชื่อเดียวกับ Vision ขององค์กรที่ว่า “ชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้” เพราะผู้นำมีหน้าที่สานต่อให้คนรุ่นหลัง ได้เข้าใจ และเห็นถึง Thinking และเรื่องราวที่สำคัญของการมีอยู่ในวันนี้และอนาคตขององค์กร
ทั้งหมดนี้ทำให้เราเห็นว่า ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้นำแบบไหน หัวใจสำคัญที่สุด! คือคุณได้มอบ Value อะไรให้กับองค์กร, พนักงาน และโลกใบนี้บ้าง ลองกลับมาถามตัวเองว่า วันนี้คุณได้ทำหน้าที่ในฐานะ ‘ผู้นำ’ ได้เต็มที่จนถึงที่สุดแล้วหรือยัง ?