เปิดพอร์ตสินค้า ‘เสริมสุข’ บิ๊กเครื่องดื่มสัญชาติไทย เตรียมรับไทยเบฟฯ จัดโครงสร้างธุรกิจใหม่

เปิดพอร์ตสินค้า ‘เสริมสุข’ บิ๊กเครื่องดื่มสัญชาติไทย เตรียมรับไทยเบฟฯ จัดโครงสร้างธุรกิจใหม่
‘เสริมสุข’ หรือ SSC ผู้ผลิตและทำตลาดเครื่องดื่มรายใหญ่ ใช้ 3 เหตุผลถอนหุ้นออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ รับการปรับโครงสร้างธุรกิจของไทยเบฟฯ ที่อาจคัมแบ็คเข้าตลาดฯ อีกครั้ง

ภายหลัง บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน)หรือ SSC แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่6/2567ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2567 ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าเมื่อวันที่3 กรกฎาคม 2567 บริษัทได้รับแจ้งจากบริษัท โซวอเตอร์จำกัด (“โซ วอเตอร์”) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท และเป็นบริษัทย่อยของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) (“ไทยเบฟ”) (**โดย ณ วันที่6ธันวาคม2566 โซ วอเตอร์ถือหุ้นสามัญในบริษัทเป็นจำนวนทั้งสิ้น 171,954,804 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 64.67ของจำนวนหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท**) ถึงความประสงค์ของโซวอเตอร์ ในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดของบริษัท

อันได้แก่ หุ้นสามัญที่เหลือทั้งหมดจำนวน 93,945,680 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ35.33ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัท เพื่อการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เนื่องด้วยเหตุผลและวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

1.การเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทจะช่วยให้การบริหารจัดการและการดำเนินธุรกิจของบริษัทมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันเนื่องมาจากการลดขั้นตอนการดำเนินการต่างๆของบริษัทในฐานะที่เป็นบริษัทจดทะเบียน ซึ่งจะส่งผลให้การบริหารกิจการและการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจมีความคล่องตัวมากขึ้น

และนอกจากนี้ เนื่องด้วยกลุ่มไทยเบฟ อยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับแผนการปรับโครงสร้างการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และ/หรือเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ

โดยอาจมีการดำเนินการปรับโครงสร้างภายในและการปรับโครงสร้างของธุรกิจในด้านต่าง ๆ (ซึ่งอาจดำเนินการในลักษณะของการซื้อ จำหน่าย หรือโอนทรัพย์สินหรือสิทธิต่าง ๆการควบรวมกิจการ การโอนสิทธิตามสัญญาทางการเงิน การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์หรือแนวทางในการดำเนินธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบริหารงาน การกู้ยืม-ให้กู้ยืมเงิน ตลอดจนการระดมทุนในรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น)

โดยที่การปรับโครงสร้างดังกล่าวอาจประกอบด้วย การทำรายการหรือธุรกรรมระหว่างบริษัท และ/หรือบริษัทในกลุ่มไทยเบฟ

ดังนั้น การเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการของบริษัทและเป็นการรองรับแผนการปรับโครงสร้างข้างต้นด้วย

ทั้งนี้ แผนการปรับโครงสร้างดังกล่าวยังมีความไม่แน่นอน และอาจมีการเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมในอนาคต

2. เนื่องจากในปัจจุบันปริมาณการซื้อขายหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีจำนวนไม่มากนัก การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทเพื่อการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทจะเป็นประโยชน์ต่อสภาพคล่องในการซื้อขำยหุ้นของบริษัท โดยเป็นการช่วยเพิ่มทางเลือกและโอกาสในการขายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นรายย่อยของบริษัท

3. เนื่องจากภายหลังการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัท บริษัทจะไม่มีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลำดหลักทรัพย์ฯอีกต่อไป การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียม และหน้าที่ต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการเป็นบริษัทจดทะเบียนด้วย

อย่างไรก็ดี ภายหลังกำรเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯบริษัทจะยังมีสถานะเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และจะยังคงปฏิบัติตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการดำเนินการตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีต่อไป

สำหรับราคาเสนอซื้อหุ้นสามัญของบริษัท 63.00 บาท/หุ้น ซึ่งเป็นราคาที่ไม่ต่ำกว่าราคาสูงสุดที่คำนวณได้ตามวิธีการกำหนดราคาเสนอซื้อเพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ภายใต้ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ทจ. 12/2554 เรื่องหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ (ตามที่ได้แก้ไขเพิ่มเติม) (“ประกาศที่ ทจ. 12/2554”)

โดยราคาดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนได้หากเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงต่อกิจการของบริษัทหรือมีเหตุอื่นตามที่กำหนดในประกาศที่ ทจ. 12/2554 อย่างไรก็ตามการกำหนดราคาเสนอซื้อสุดท้ายจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศที่ ทจ. 12/2554

อนึ่ง จากคำชี้แจงดังกล่าว ของบริษัทเสริมสุข จำกัด (มหาชน) คงต้องจับตาดูต่อไปหลังจากนี้ว่า โครงสร้างใหม่ธุรกิจเสริมสุข จะเป็นไปในทิศทางไหนอีกครั้ง ด้วยนี่ไม่ใช่เป็นครั้งแรก ที่เสริมสุข เกิดการเปลี่ยนแปลง!!

ด้วยหากย้อนกลับนับตั้งแต่บริษัทเสริมสุขฯ ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2496 ในฐานะพันธมิตรผู้ผลิตและทำตลาดเครื่องดื่มน้ำอัดลม แบรนด์เป๊ปซี่ (Pepsi) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในตลาดกระทั่งได้นำกิจการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 16 พ.ค.2537

โดยตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา ‘เสริมสุข’ ทำตลาดสินค้าเครื่องดื่มน้ำอัดลมได้อย่างแข็งแกร่ง จนทำให้ไทย เป็นหนึ่งในตลาดไม่กี่แห่งในโลกที่แบรนด์เป๊ปซี่ มีส่วนแบ่งทางการตลาดเครื่องดื่มอัดลมกลุ่มน้ำดำ และเคยแซงแบรนด์คู่แข่งระดับโลกอย่าง ’โค้ก’ (Coke) เพื่อขึ้นเป็นเบอร์1 ได้ ก่อน ‘เสริมสุข’ จะเผชิญกับจุดเปลี่ยนทางธุรกิจครั้งใหญ่ ไปพร้อมการบอกเลิกสัญญากับพันธมิตรกลุ่มบริษัท เป๊ปซี่-โคล่า(ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด หรือเป๊ปซี่-โคฯ ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2554

จากนั้นอีกหนึ่งปีถัดมาในปี 2555 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติกส์ จำกัด ได้เข้ามาถือหุ้นใหญ่ในบริษัทฯ ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 15,000 ล้านบาท และถือเป็นหนึ่งในเครืออาณาจักร ‘ไทย เบฟเวอเรจ’ นับจากนั้นเป็นเวลาร่วม 12 ปีแล้ว

ปัจจุบัน บริษัทเสริมสุขฯ ทำตลาดสินค้าเครื่องดื่ม แบรนด์ต่างๆ ดังนี้

กลุ่มเครื่องดื่มอัดแก๊ส ประกอบด้วย  

  • น้ำอัดลม แบรนด์ ‘เอส’ (est)  
  • น้ำอัดลม แบรนด์ ‘ซาสี่’ (Sarsi)
  • โซดา แบรนด์ ร็อค เมาเท่น (Rock Moutain)
  • เครื่องดื่มเกลือแร่ ‘100พลัส’ (100 Plus)

กลุ่มเครื่องดื่มไม่อัดแก๊ส ประกอบด้วย

  • น้ำดื่ม  แบรนด์ ‘คริสตัล’ (CRYSTAL)
  • ชาเขียวพร้อมดื่ม ‘โออิชิ’ (OISHI)
  • เครื่องดื่มบำรุงกำลัง ‘แรงเจอร์’ (RANGER)
  • เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ‘วีบูสท์’ (V BOOST)
  • เครื่องดื่มซุปสกัด ซีทูน่า เอสเซนส์ (ZEA TUNA ESSENCE)
  • เครื่องดื่มเกลือแร่ ‘พาวเวอร์พลัส’
  • เครื่องดื่มสมุนไพร ‘จับใจ’

โดยข้อมูลจาก เว็บไซต์ https://data.creden.co/  ระบุผลดำเนินงานในปี 2566 บริษัทเสริมสุข มีรายได้รวม 12,709,505,051 ล้านบาท เติบโต 7.06% ขณะที่ผลกำไรอยู่ที่ 169,746,599 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตติดลบ -74.71 % และมีสินทรัพย์รวมอยู่ที่ 14,387,890,187 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.84 % เทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2565

ขณะที่ผลดำเนินงาน บริษัทเสริมสุขฯ รายงานต่อตลาดฯ ณ วันที่ 31 มี.คง2567 ในไตรมาสแรก มีรายได้รวม 6,347 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 178 ล้านบาท

TAGS: #เสริมสุข #ไทยเบฟเวอเรจ #ไทยเบฟ