AIS ได้พันธมิตร Oracle บิ๊ก เทคฯ ระดับโลก ร่วมลงทุน 8 พันล้านบาทต่อปี ขยับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลไทยครั้งใหญ่ให้บริการคลาวด์ระดับไฮเปอร์สเกลบนดาต้าเซ็นเตอร์ รับอนาคตนโยบายรัฐ ‘Cloud First Policy’
สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS กล่าวว่า AIS เตรียมความพร้อมให้บริการโครงการพื้นฐานเทคโนโลยีเพื่อรองรับเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย เพื่อรองรับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เตรียมเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล (Digital Transformation)ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมยกระดับขีดความสามารถในสร้างการเติบโตและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับประเทศ ได้อย่างยั่งยืน
ล่าสุด AIS ได้ประกาศความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ผู้ให้บริการด้านคลาวด์ระดับโลก Oracle เตรียมให้บริการ คลาวด์ระดับไฮเปอรสเกล (Hyperscale Cloud) ในประเทศไทยเป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ ยังประกอบไปด้วย 6 เรื่องเด่น ดังนี้
- ประเทศไทยจะเป็นทั้งเจ้าของและผู้ให้บริการ ไฮเปอร์สเกล คลาวด์ แบบควบคู่กันสองภูมิภาค เพื่อให้มีความยืดหยุ่นและสามารถรีคัฟเวอร์ข้อมูลหาดเกิดภัยพิบัติในประเทศ
- การปกป้องรักษาข้อมูลจะยังคงอยู่ในถิ่นฐานประเทศ ภายใต้กฎระเบียบการกำกับดูแลตามกฎหมายในประเทศไทย
- การสนับสนุนวิสัยทัศน์รัฐบาลไทย ‘Cloud First Policy’ ในการผลักดันสู่องค์กรดิจิทัลที่ทันสมัยสำหรับคนไทย
- สร้างการลงทุนต่อปีไม่ต่ำกว่า 3,000-4,000 ล้านบาทต่อเนื่อง ในการขยายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในประเทศไทย (โดยจะเริ่มตั้งแต่ปี 2567-2573)
- การบูรณาการด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และ แพลตฟอร์ม ต่างๆ ของ AIS เข้าไว้ด้วยกัน 5G, เครือข่าย และ คลาวด์ เน็ตเวิร์ก เพื่อมีส่วนร่วมสนับสนุนนวัตกรรมและเศรษฐกิจดิจิทัล
- การพัฒนาบุคลากรในไทย ทั้งการเพิ่มทักษะ องค์ความรู้และโอกาสสายอาชีพใหม่ในอนาคตให้กับนักเรียนและบุคลากรในอุตสากรรม ผ่านออราเคิล อคาเดมี
สมชัย กล่าวว่า “ดิจิทัล คือ หัวใจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ตามที่รัฐบาลได้ประกาศไว้พร้อมนโยบายคลาวด์ เฟริสต์ ที่จะเข้ามาเพิ่มขีดความสามารถและลดความเหลื่อมล้ำในการแข่งขันทางเศรษฐกิจพร้อมกัน” พร้อมเสริมต่อ “ความร่วมมือระหว่างเอไอเอสและออราเคิลในครั้งนี้ เพื่อให้บริการ ไฮเปอร์สเกล คลาวด์ ครั้งแรกในประเทศไทย ถือเป็นของจริงที่มาแล้วและเข้ามาอยู่ไทยจริงจัง ซึ่งคาดว่าทั้ง2 ฝ่ายจะใช้งบลงทุนรวมกันไม่ต่ำกว่า 8,000-10,000 ล้านบาทต่อปี เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 7 ปีนับจากนี้”
สำหรับงบลงทุนดังกล่าว ทาง AIS จะนำไปใช้ในการขยายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อให้บริการไฮเปอร์ สเกล คลาวด์ (AIS Cloud) ในศูนย์บริการข้อมูล AIS ( AIS Data Center) ที่ปัจจุบันมีศูนย์ฯ กระจายครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ เพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้บริการ กลุ่มลุกค้าองค์กรธุรกิจต่างๆ
ขณะที่ ออราเคิล จะเป็นผู้สนับสนุนด้านอุปกรณ์ (Equipment) ต่างๆ รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ (Know-How) ให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องอุตสาหกรรมดิจิทัล ในไทย ตลอดระยะเวลาความร่วมมือในครั้งนี้ พร้อมวางแผนให้บริการ ไฮเปอร์สเกล ควาวด์ อย่างเป็นทางการในไตรมาสแรก ปี 2568
สมชัย เสริมว่า บริการฯ ดังกล่าวยังเป็นส่วนหนึ่งของอนาคตเศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคต สอดคล้องกับโอกาสการใช้งานไอซีทีขององค์กรต่างๆ ที่จะไปสู่เทคโนโลยีโดเมนสอดคล้องกับแนวโน้มการขยายตัวในปี 2567 จะมีการใช้งานคลาวด์เติบโตเฉลี่ย 23% ต่อเนื่องทุกปี รวมถึง ไอโอที (IoT) ดาต้า เซ็นเตอร์ (Data Center) และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI)
ด้าน การ์เร็ตต์ อิลจ์ รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกและญี่ปุ่น กล่าวว่า ออราเคิลมองถึงศักยภาพของประเทศไทย ซึ่งเป็นตลาดสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ และความร่วมมือ Oracle Alloy กับ AIS จะเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมของประเทศ พร้อมเพิ่มขีดความสามารถให้ AIS กลายเป็นผู้ให้บริการ Hyperscale Cloud สามารถพัฒนาบริการใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น พร้อมนำเสนอ Sovereign Cloud และความสามารถด้าน AI ให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศ ภายข้อกำหนดด้านกฎหมายด้านมาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยของข้อมูลที่แตกต่างกัน
ด้าน แดฟนี่ ชุง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยบริการคลาวด์และซอฟต์แวร์ IDC เอเชีย/แปซิฟิก กล่าวว่า "IDC คาดการณ์ว่าการใช้จ่ายด้าน Sovereign Cloud จะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 31.5% ต่อปี (31.5% CAGR) สำหรับกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิค (ไม่รวมญี่ปุ่น) จากการสำรวจด้านคลาวด์ในพื้นที่เอเซียแปซิฟิค (ไม่รวมญี่ปุ่น) แสดงให้เห็นถึง 19% ขององค์กรในกลุ่มประเทศดังกล่าว มีการคาดการณ์การใช้จ่ายสำหรับ Sovereign Cloud จะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์คลาวด์แบบผสมผสาน (Hybrid Cloud) ซึ่งถูกขับเคลื่อนโดยหน่วยงานกำกับดูแลและกฎระเบียบ รวมทั้งความต้องการที่จะทำให้กระบวนการทำงานมีความยืดหยุ่นมากขึ้น