BRANDi ย่อเศรษฐกิจโลกอนาคตองค์กรธุรกิจใหม่ ต้อง ‘ยูนีค’ มองประเทศไทยจะไปต่ออย่างไร ในวันที่นิยามการเติบโตไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
ปิยะชาติ (อาร์ม) อิศรภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแบรนดิ แอนด์ คอมพานีส์ จำกัด (BRANDi) ที่ปรึกษากลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านระบบ (Systematic Transformation) กล่าวในงานเสวนาหัวข้อ ‘Future of Growth Briefting’ จัดโดย แบรนดิ แอนด์ คอมพานีส์ ณ สำนักงาน BRANDi Hope Head Quarter
ทั้งนี้ ก่อนเข้าสาระสำคัญในหัวข้อการจัดงานฯ ‘ปิยะชาติ’ ได้เกริ่นนำว่าตลอดระยะเวลาร่วม 12 ปีที่ผ่านมาว่า เขาได้พาตัวเองพร้อมกับ BRANDi เข้าไปมีส่วนร่วมเชิงความคิดในเวทีใหญ่ระดับโลก ต่างๆ ทั้งเวที World Bank, องค์กรสหประชาชาติ (UN) และ สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ล่าสุดได้จัดการประชุมประจำปี World Economic Forum: Annual Meeting of the New Champions 2024 ในช่วงวันที่ 25-27 มิ.ย. 2567 ณ เมืองต้าเหลียน มณฑลเหลียวหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ไปเมื่อล่าสุด และเขา เองได้มีโอกาสเข้าร่วมงานฯ ด้วยเช่นกัน
ปิยะชาติ กล่าวว่า จากข้อมูลเชิงลึกที่ถูกแลกเปลี่ยนระว่างผู้นำองค์กรใหญ่ทั้งตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนในเวทีใหญ่งานฯ ดังกล่าว ได้ถูกนำมาย่อสรุปพร้อมมองอนาคตและทิศทางต่อไปของเศรษฐกิจไทย จะต้องเดินต่อไปอย่างไรนับจากนี้ ด้วยการใช้ ‘ความหวัง’ เป็นสิ่งขับเคลื่อนให้เติบโตไปข้างหน้า
ด้วยในปัจจุบัน ‘โลก’ กำลังเข้าสู่บริบททางเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืน ‘Sustainomy’ ประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ
- เติบโตมากกว่าผลกำไร ครอบคลุมทั้งความมั่งคั่ง (Prosperity) และยังรวมถึงความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน (People) และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Planet)
- สร้างพอร์ตโฟลิโอที่สมดุล ด้วยองค์ประกอบเศรษฐกิจ ที่มีสัดส่วนของอุตสาหกรรม เศรษฐกิจจริง (Real Sector) และอุตสาหกรรมที่ส่งเสริมนวัตกรรม แต่มีความผันผวน (เศรษฐกิจเสมือน (Virtual Sector) ที่เหมาะสม
- เสริมความแข็งแกร่งให้กับ ‘ตรงกลาง’ ตระหนักถึงบทบาทสำคัญของประเทศกำลังพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และกลุ่มชนชั้นกลาง ในการขับเคลื่อนทางออกใหม่ที่ยั่งยืน
พร้อมกล่าวว่า ในปัจจุบันธุรกิจองค์กรต่างอยู่ในยุคดิจิทัล และมีความท้าทายจากการเข้ามาของธุรกิจใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการจะทำธุรกิจแบบเดิมเพื่อขาย สินค้า เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องมีความ ‘Unique’ ด้วยเช่นกัน พร้อมยกตัวอย่างที่ขัดเจน หากเอสซีจี (SCG) ไม่ได้สร้างแบรนด์องค์กรขึ้นมา ก็อาจเป็นเพียงแค่บริษัทขายปูนเท่านั้น แต่เมื่อสร้างเอกลักษณ์แบบเฉพาะของตัวขึ้นมาก็ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากว่าการขายสินค้าปูน
“ธุรกิจต้องหา Unique Position เพื่อสร้างความแตกต่างให้ตัวเอง เพื่อให้มีสปอตไลท์มาส่องที่สินค้าของเรา ด้วยทุกคนต่างแข่งขันในยุคดิจิทัล และจะยังมีธุรกิจเกิดขึ้นมาใหม่ๆ หลังจากนี้อีกเป็นจำนวนมาก” ปิยะชาติ กล่าว
ขณะที่ ‘ความเข้าใจ’ ในบริบทต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จะเป็นอีกหนึ่ง ‘กลยุทธ์สำคัญ’ ในการบริหารจัดการธุรกิจ ด้วยทุกคนต่างอยู่ในยุคของข้อมูลข่าวสารที่วิ่งเข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากมีความเข้าใจเชิงลึกจากข้อมูลที่ได้รับอย่างแท้จริง แล้วตัดสิ่งที่ไม่ใช่ออกไปให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เหลือไว้แต่สิ่งที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สร้างข้อได้เปรียบให้มากกว่า
ปิยะชาติ กล่าวว่า “ปัจจุบันเราอยู่ในโลกที่ต้องมีกลยุทธ์ เพื่อนำไปเสนอให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง Steak Holder เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราจะทำอะไร มีผลกระทบกับใครบ้าง ด้วยวิธีการดีที่สุดเพื่อเข้าตลาดในเวลานี้ คือ การหาพันธมิตร” พร้อมเสริมว่า “จุดเด่นของประเทศไทยมีความสามารถด้านร่วมมือ แต่ยังล้มเหลวในด้านกลยุทธ์ ขณะที่วันนี้การวางกลยุทธ์มีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว จากระยะเวลาที่สั้นลงเพื่อให้สอดคล้องกับในแต่ละบริบทที่เกิดขึ้นที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว”
ด้วย ‘KeyWord’ ในวันนี้ คือ การหาหนทางใหม่ๆ หลังจากโลกได้ถูกเปลี่ยนไปในทิศทางใหม่ ทำให้อนาคตของการเติบโตจากนี้ไป จะไม่ได้ใช้ในสิ่งที่ผู้คนเคยเชี่ยวชาญแต่ต้องใช้วิธีคิดใหม่ด้วยบริบท (Contex) ไม่ใช่เนื้อหา (Content)
ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ของโลก ‘ประเทศไทย’ จะต้องสร้างการเติบโตรูปแบบ ‘Inside Out’ โดยจะต้องเริ่มจาก การเติบโตจากภายใน (SELF-GROWTH) ขยายออกสู่ผู้บริโภค (CONSUMER) เพื่อไปสู่ตลาด (MARKET) ออกต่อไปยังพลเมือง/ประชาน (CITIZEN) ไปสู่รอบนอกสุดคือ เศรษฐกิจ (ECONOMY) เพื่อสร้างผลกระทบที่เรียกว่าปรากฎการณ์ระลอกคลื่น (Ripple Effect) ให้เกิดขึ้น
“หากทำให้ระบบเศรษฐกิจอินไซด์ เอาต์ ไทยจะต้องวางตำแหน่งใหม่ให้โลกหันมามอง ซึ่งตอนนี้ไทยมีความเหมาะสมในด้านความยั่งยืนมากที่สุด ซึ่งเราจะใช้เป็นโอกาส หรือ เป็นโอกาสในครั้งสุดท้ายที่ได้จากแรงเหวี่ยงผลกระทบในครั้งนี้ให้ได้อย่างไร” ปิยะชาติ กล่าว
พร้อมเสริมต่อถึงแนวทางการเติบโตจากโครงสร้างภายใน ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ ดังนี้
- การสร้างแรงบันดาลใจไปสู่เศรษฐกิจโลกใหม่ ด้วยการเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือและหาแนวทางแก้ไข โดยไม่มองว่าเป็นปัญหา
- การพัฒนาตลาดใหม่ โดยขยายขอบเขตให้ครอบคลุมระบบนิเวศ
- สร้างการเติบโตในอาณาจักรใหม่
- สินค้าโภคภัณฑ์กลุ่มใหม่ (New Commodity)
- สินค้ามีราคากลุ่มใหม่ (New Premium)
- สินค้าแม่เหล็กดึงดูดใหม่ (New Machanism)
“ด้วยบริบทดังกล่าวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในภาพรวมทั้งจากประชาชน และ ผู้บริโภค ซึ่งจะพบว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน แต่มีขอบเขตไม่เหมือนเดิมแล้ว ต้องมีการตีกรอบ หรือใช้กฎกติกาใหม่ ด้วยหากใช้วิธีการแข่งขันหรือกฎแบบเดิมๆ ก็จะติดลบตายกันหมดไปโดยธรรมชาติ ด้วยในขณะนี้ทุกคนอยู่บนท่ามกลางการแข่งขันในน่านน้ำแปรปรวนไม่ปกติ 'Unusual Ocean' ซึ่งการทำธุรกิจจะต้องร่วมมือกันในการแข่งขัน” ปิยะชาติ กล่าวทิ้งทาย