พฤติกรรมการใช้จ่ายของคนไทย “นิยมใช้ผ่าน internet/ mobile banking มากขึ้น ขณะที่ใช้ช่องทางดั้งเดิมลดลงต่อเนื่อง”
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานวิเคราะห์ ว่า หลังจากช่วงวิกฤติของสถานการณ์ COVID-19 คนไทยคุ้นชินกับการชำระเงินดิจิทัล ทำให้การใช้งานยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากปริมาณ 425 ครั้ง/คน/ต่อปี ณ สิ้น ธ.ค. 65 โดยส่วนใหญ่ชำระและโอนเงินผ่าน internet/ mobile banking ที่มีสัดส่วนปริมาณและมูลค่าสูงกว่า70% และเกือบ 90% ตามลำดับ
ทั้งนี้ Internet & Mobile banking เป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมสูงสุด ในธุรกรรม e-Payment มีจำนวนบัญชีเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าในระยะเวลา5 ปี จาก 69.8 ล้านบัญชีในปี 61 เป็น 138.3 ล้านบัญชีณ สิ้น ธ.ค. 65 ในปี 65 จำนวนการใช้ Internet & mobile banking สูงถึง 22.7 พันล้านรายการ และมูลค่าสูงถึง 101.5 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะ mobile banking ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่การใช้ internet banking ลดลง ประชาชนหันมาใช้ การบริการทางการเงินผ่านแอพพลิเคชันมือถือมากขึ้น เพราะสะดวก ง่าย คุ้นชิน สามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา ตอบโจทย์ user experience อย่างแท้จริง
ธปท. รายงานว่า ระบบ PromptPay เป็นระบบที่ประชาชนใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว โดย “PromptPay” เป็นบริการชำระเงินที่ได้รับความนิยมสูง ล่าสุด ณ ธ.ค. 65 มีจำนวนลงทะเบียนสะสมถึง 74.3 ล้านหมายเลข การโอนเงินเฉลี่ยต่อวันใน ปี 65 ปริมาณสูงถึง 40.6 ล้านรายการ มูลค่า118.4 พันล้านบาท เป็นที่น่าจับตาว่าพร้อมเพย์ตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตประจำวันของประชาชนมากขึ้น จากที่มูลค่าเฉลี่ยต่อรายการเดิมต้นปี 65 อยู่ที่เกือบ 700 บาท มาเหลือประมาณ 600 บาท ณ สิ้นปี 65 ซึ่งมีแนมโน้มต่ำลงขณะที่ภาคธุรกิจเองก็หัน
มาใช้พร้อมเพย์กันมากขึ้น และมีมูลค่าเฉลี่ยต่อรายการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 3.1 แสนบาท มาเป็น 3.4 แสนบาท ในช่วงเวลาเดียวกัน รวมทั้งการใช้งานพร้อมเพย์ต่อวันยังคงสูงขึ้นทำลายสถิติใหม่อยู่เรื่อย ๆ โดยการใช้สูงสุด ล่าสุดอยู่ที่ 58.1 ล้านรายการต่อวัน ณ ต่นเดือน ธ.ค. 65
ทั้งนี้ ระบบ Card payment ประชาชนมีการใช้บัตรผ่านเครื่อง EDC ที่ร้านค้า ลดลง แต่การใช้ผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น โดยการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส (บัตรเครดิต และบัตรเดบิต) เป็นอีกทางเลือกในการใช้ digital payment ที่ยังคงได้รับความนิยม การใช้บัตรชำระเงินทั้งช่องทางonline และ offline ที่ร้านค้า (ผ่านเครื่อง EDC) แต่ในช่วงที่ผ่านมาช่องทาง online ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สะท้อนถึงวิถีของคนไทยที่กำลังก้าวเข้าสู่โลกยุคดิจิทัล นิยมการซื้อของผ่านช่องทาง online โดยเฉพาพการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ในหมวดธุรกิจร้านอาหารจากที่มีธุรกรรมเพียง 0.3 ล้านรายการในปี 61 มาเป็น 43.7 ล้านรายการในปี 65 จากความนิยมใช้บริการ food delivery ตั้งแต่ช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในขณะที่หมวดธุรกิจค้าปลีกยังคงครองอันดับ 1 ตลอดทั้ง 5 ปี
สำหรับ e-Money ถือว่าได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจากผู้ให้บริการที่หลากหลาย โดย e-Money หรือเงินอิเล็กทรอนิกส์เป็นอีกทางเลือกในการชำระ เงินที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ใช้งานเพิ่ม สูงขึ้น 1.4 เท่า ในระยะเวลา 5 ปี โดย ณ สิ้นเดือน ธ.ค. มีจำนวน บัญชีสูงถึง124 ล้านบัญชีรวมทั้งปริมาณและมูลค่าธุรกรรม เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 65 มีการใช้งานถึง 3,352.3 ล้านรายการ คิดเป็นมูลค่า 627.2 พันล้านบาท เมื่อแยกตามวัตถุประสงค์การชำระเงิน พบว่าการใช้ e-Money เพื่อการโอนเงินมีการเติบโตสูงสุดเมื่อเทียบกับปี 61 โดยมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นถึง 15 เท่า และมูลค่าเพิ่มถึง 9 เท่า ส่วนใหญ่ ใช้เพื่อการชำระค่าสินค้าและบริการ มีสัดส่วนปริมาณธุรกรรมอยู่ที่ราว 45% และมูลค่าการใช้งานที่ 39% ตามลำดับ
ธปท. รายงานว่า Cash withdrawal หรือ พฤติกรรมการถอนเงินสดมีแนวโน้มลดลง แม้ digital payment เติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่มีประชาชนยังคงมีการใช้เงินสด อย่างไรก็ตาม ในปี 65 พฤติกรรมการถอนเงินสดมีแนวโน้มลดลงจากปี 61 ถึง 30.9% นอกจากนั้น ขณะที่การถอนเงินแบบไม่ใช้บัตร (ผ่าน mobile banking application) เพิ่มขึ้น โดยในปี 65 มีสัดส่วนเป็น 32% ของช่องทางทั้งหมด สะท้อนให้เห็นความนิยมในการใช้บริการผ่าน mobile baking ที่สะดวกนั่นเอง