เตือนผู้ส่งออกป้องกันความเสี่ยงบาทแข็ง แนะอย่าหวังเก็งกำไร

เตือนผู้ส่งออกป้องกันความเสี่ยงบาทแข็ง แนะอย่าหวังเก็งกำไร
แบงก์ซีไอเอ็มบี แนะผู้ประกอบการส่งออกรายเล็กทำความเสี่ยงค่าเงินบาทผันผวนบาทแข็งเร็ว แนะอย่าคิดเก็งกำไร ขอให้รัฐบาลออกมาตรการเสริมสภาพคล่องช่วยผู้ประกอบการ

ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเดือนนี้แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 5% ซึ่งเป็นไปตามประเทศคู่แข็งภูมิภาพ ทำให้อย่างไม่เสียความสามารถการแข็งขันมาก

อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับคู่แข่งภูมิภาคอื่น ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นไว ทำให้ผู้ส่งออกโดยเฉพาะการส่งออกสินค้าเกษตร ทั้งข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด และเนื้อสัตว์ต่างๆ ได้รับผลกระทบที่มีรายได้ที่ลดลง

“ทั้งนี้ยังเชื่อว่าผู้ประกอบการส่งออกรายใหญ่ ปรับตัวกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าเร็วได้ แต่ผู้ประกอบการส่งออกรายเล็ก และเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศผลิตเพื่อการส่งออกเป็นหลัก ต้องมีความระมัดระวังปัจจัยค่าเงินบาทที่ผันผวนมากขึ้น ควรทำป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และไม่ควรเก็งกำไรจากค่าเงินบาท” ดร.อมรเทพ กล่าว

ดร.อมรเทพ กล่าวว่า รัฐบาลควรมีมาตรการทางการเงินเข้ามาช่วยผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งไว โดยการให้สินเชื่อเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการดำเนินการไปต่อได้ โดยไม่ต้องปิดกิจการ 

อย่างไรก็ตาม มาตรการทางการเงินยังไม่ควรไปกดดันให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลดดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.50% ในตอนนี้ เพราะจะยิ่งเป็นปัจจัยซ้ำเติมทำให้ค่าเงินบาทแข็งเพิ่ม และกระทบกับผู้ส่งออกมากขึ้นไปอีก

ดร.อมรเทพ กล่าวว่า คาดว่าในเดือน ธ.ค. 2567 เชื่อว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของ ธปท. จะลดดอกเบี้ยนโยบายลง เพราะเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า อัตราเงินเฟ้อหลุดกรอบ เพียงแต่ ธปท. รอความชัดเจนมาตรการแจกเงินดิจิทัล ของรัฐบาลเท่านั้น ว่าจะแจกอย่างไร จำนวนเท่าไร และจะกระทบกับเงินเฟ้อและเสถียรภาพการเงิ น เศรษฐกิจของประเทศขนาดไหน เชื่อว่าเมื่อมีความชัดเจนเรื่องนี้ กนง. ก็จะมีข้อมูลไปประกอบเพื่อลดดอกเบี้ยในปลายปีนี้ได้มั่นใจขึ้น

TAGS: #แบงก์ซีไอเอ็มบี