นักวิชาการ ทีดีอาร์ไอ มองตั้งรัฐบาล ชิ่งอำอาจแบ่งโควต้า รมต. ไม่คำนึงความเหมาะสม เป็นปัญหาเศรษฐกิจไทย
นายนณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า การจัดตั้งรัฐบาลนายกฯ แพรทองธาร ชินวัตร ล่าช้า ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจ 3 ระดับ ประกอบด้วย
1 กรณีเลวร้ายที่สุด การจัดตั้งรัฐบาลช้ามาก ไม่มีรัฐบาลดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ เพราะหลังจากมีนายกฯ แล้ว ยังต้องมีรองนายกฯ มีรัฐมนตรี มาบริหารประเทศ หากไม่มีก็เกิดช่องว่างขับเคลื่อนเศรษฐกิจไม่ได้ เห็นได้ชัดกรณี น้ำท่วมที่เกิดขึ้นอยู่ น.ส.แพทองธาร ก็ยังไม่มีอำนาจเต็มในการบริหารจัดการปัญหา ส่วนรัฐบาลรักษาการ ก็ได้แค่ประคองการบริหารไปเท่านั้น หากเกตุการณ์แบบนี้บ่อยๆ ในช่วงที่ไม่มีรัฐบาลจริงเข้ามาบริหารประเทศ ย่อมไม่ส่งผลดีกับเศรษฐกิจทั้งระยะสั้น กลาง ยาว
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ จากรัฐบาลนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน มาเป็นรัฐบาล น.ส.แพทองธาร นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ก็อยากจะรู้ว่านโยบายต่างๆ ที่นายกฯ เซลล์แมน เศรษฐา ไปขายไว้จำนวนมาก รัฐบาลจะเดินหน้าต่อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องเร่งทำให้เกิดความชัดเจน เพื่อให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจ
2 กรณีกลาง ได้รัฐบาลเข้ามาทำงานไม่ช้าไม่เร็ว แต่มีการเปลี่ยนสลับกระทรวง สลับคนเป็นตำแหน่ง รมต. ทำให้ รมต. ที่เข้ามาทำงานแต่นโยบายระยะสั้น ส่วนนโยบายเศรษฐกิจระยะปานกลางและยาว จะไม่ได้รับการขับเคลื่อน เหมือนกับรัฐบาลนายกฯ เศรษฐา 1 และ 2 ในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา
3 กรณีที่ดี ได้รัฐบาลเร็ว เริ่มบริหารประเทศได้ แต่มีปัญหาเสถียรภาพการต่อรองตำแหน่งที่ยึดตามโควต้า ไม่ยึดที่ความสามารถของคนที่เป็น รมต. ให้ตรงกับกระทรวงที่เป็น ทำให้การบริหารประเทศและเศรษฐกิจมีความเสี่ยงด้านประสิทธิภาพ
“ดูภาพรวมแล้วการตั้งรัฐบาล และการบริหารของรัฐบาลใหม่จะปั่นป่วน การจัดตั้งรัฐบาลไม่นิ่งเกิดความขัดแย้ง การจัดสรรตำแหน่ง รมต. และยังไม่ร่วมกับนักร้อง ที่จะร้องการที่นายกฯ ขาดคุณสมบัติการดำรงตำแหน่ง ที่เป็นความเสี่ยงของความเศรษฐกิจไทยต่อเนื่องในอนาคต” นายนณริฏ กล่าว