หลัง ‘หมูเด้ง’ ฟีเวอร์ รันทุกวงการ เป็นโอกาสสินค้าบริการหลายแห่งเกาะกระแสทำตลาดคาแรกเตอร์ในช่วงนี้ เพจกรมทรัพย์สินทางปัญญา แนะ 7 ข้อทำได้ และ 5 ข้อต้องระวัง!! ไม่ให้น้องโมโห
กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เผยแนวทางการใช้กระแสความปังของ ‘หมูเด้ง’ แบบไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา หลังมูเด้งฟีเวอร์ รันไปแล้วในทุกวงการ ทำให้เหล่า ‘พี่เลี้ยงทิพย์’ ทั้งหลายเหล่านี้ อยากมี ‘น้องหมูเด้ง’ เป็นของตัวเองบ้าง
ล่าสุดแอดมิน ‘น้องต้นคิด’ เพจกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้เผยคู่มือการใช้งาน ‘หมูเด้ง’แบบไหนไม่ให้โดนโกรธ มาฝากพี่เลี้ยงทิพย์ให้ได้ทราบกัน ดังนี้
Do! ถูกต้อง แล้วครับ!
- แชร์ภาพหมูเด้งที่ถ่าย/วาดด้วยตนเองใน Social Media
- นำภาพหมูเด้งที่ถ่าย/วาดด้วยตนเองไปผลิตเป็นสินค้า
- วาดรูปหมูเด้งจากตัวจริง หรือตามจินตนาการ แล้วนำไปผลิตเป็นสินค้า ลายผ้า หรือ สติ๊กเกอร์ Line
- แชร์โพสต์เรื่องหมูเด้งของคนอื่นจากต้นโพสต์
- นำภาพ/คลิปวิดีโอของผู้อื่นมาประกอบการรายงานข่าว โดยรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
- แต่งเพลงเกี่ยวกับหมูเด้ง หรือเอาเสียงร้องฮิปโปมา Mix เป็นเพลง
- ออกแบบสินค้าโดยมีรูปร่าง 3 มิติเป็นน้องหมูเด้ง โดยไม่ได้ลอกเลียนแบบจากงานลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
Don't! ไม่ จะโกรธแล้วนะ!
- Copy เนื้อหา/รูปภาพจากโพสต์ของคนอื่นมาแชร์ใหม่ในโพสต์ของตนเอง
- นำภาพหมูเด้งที่ผู้อื่นถ่าย/วาด ไปใช้งาน เช่น สกรีนเสื้อ/กระเป้า หรือดัดแปลงเป็น สติ๊กเกอร์ Line โดยไม่ได้รับอนุญาต
- วาดรูปหมูเด้ง หรือปั้นเป็นตุ๊กตา 3 มิติ โดยพยายามเลียนแบบให้เหมือนรูปที่ผู้อื่นถ่าย/วาดตัดต่อคลิปวิดีโอของคนอื่น โดยไม่ได้รับอนุญาต
- นำเพลงของผู้อื่นมาใช้ประกอบคลิปวิดีโอ โดยไม่ได้ขออนุญาตเจ้าของเพลง
- นำภาพหมูเด้งที่ผู้อื่นถ่าย/วาดไปจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาต
ข้อมูลเพิ่มเติม www.ipthailand.go.th กรมทรัพย์สินทางปัญญา DEPARTMENT OF INTELLECTUAL PROPERTY
1368 สายด่วนกรมทรัพย์สินทางปัญญา OP