‘F-แฟชั่น’ อีกความหวังใหม่ เศรษฐกิจซอฟต์เพาเวอร์ไทย หลังปิดตายประตู กรุงเทพฯเมืองแฟชั่น

‘F-แฟชั่น’ อีกความหวังใหม่ เศรษฐกิจซอฟต์เพาเวอร์ไทย หลังปิดตายประตู กรุงเทพฯเมืองแฟชั่น
กรุงเทพฯเมืองแฟชั่น นโยบายที่สาปสูญไปพร้อมๆกับการถดถอยของมูลค่าการส่งออกอุตฯสิ่งทอฯตลอด 20 ปีที่ผ่านมา แต่กำลังจะกลับมาในร่างใหม่ ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติซอฟต์เพาเวอร์ กับแผนเติมแรงงานใหม่เข้าระบบ

‘วิวัฒน์ หิรัญพฤกษ์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่นแบบยั่งยืน และ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านแฟชั่น กล่าวกับ THE BETTER ย้อนถึงนโนบาย ‘กรุงเทพเมืองแฟชั่น’ ที่เกิดขึ้นเมื่อราว 20 ปีก่อน ซึ่งมาจากจุดแข็งของไทยที่มีความพร้อมตั้งแต้ต้นน้ำถึงปลายน้ำของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ทั้งผู้ผลิต ผู้จัดหาวัตถุดิบ ไปจนถึงตลาดปลายทางเจ้าของแบรนด์สินค้า ฯลฯ ที่วางไว้เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญเข้ามาผลักดันการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศไทย เมื่อ 2 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

จากเมื่อช่วงปี 2549 ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกอุตฯสิ่งทอฯกว่า 6 แสนล้านบาท กระทั่งในปี 2566 ที่ผ่านมาพบว่าไทยมีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ราว 1.6 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าลดลงต่อเนื่องตลอด 20 ปีที่ผ่านมาจากหลายปัจจัยทั้งการย้ายฐานการผลิตสิ่งทอไปยังแหล่งอื่นในต่างประเทศ การทยอยปิดกิจการธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ ซึ่งทำให้ไทยสูญเสียอำนาจในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่มห่มแบบครบวงจร 

วิวัฒน์เสริมว่า “บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตฯนี้ ยังลดจำนวนลงต่อเนื่อง คาดในปัจจุบันมีแรงงานในระบบอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มราว ราวหลักแสนรายเท่านั้น ซึ่งยังไม่นับแรงงานนอกระบบ จากในอดีตมีแรงงานมากกว่า 4 ล้านราย”

จากสถานการณ์ดังกล่าวเป็นปัจจัยหลัก ที่อาจทำให้ไม่สามารถนำนโยบายกรุงเทพฯเมืองแฟชั่นกลับมาได้ใหม่แต่จะต้องใช้นโยบายด้านซอฟต์เพาเวอร์ของรัฐบาลที่ได้กำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ไว้แล้วมาใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ไปพร้อมการเพิ่มทักษะ ​(upskill)  และ สร้างทักษะใหม่ (reskill) ทั้งแรงงานเดิมและสร้างแรงงานใหม่เข้าสู่ในระบบต่อไประยะยาว

“แฟชั่นเป็นหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ตามนโยบายซอฟต์เพาเวอร์ที่จะต้องผลักดันให้เกิดขึ้นโดยใช้ยุทธศาสตร์เข้ามากำกับ พร้อมกับเติมคนหรือบุคลากรที่มีความรู้และทักษะเข้าไปให้เพียงพอในเซ็กเตอร์นี้ ซึ่งมีความหลากหลายกลุ่มทั้งเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ” วิวัฒน์ กล่าวพร้อมเสริมว่า

ขณะที่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องได้ร่วมจัดกิจกรรมฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านอุตสาหกรรมแฟชั่น ล่าสุดได้จัดหลักสูตร 'การออกแบบจิวเวลรี่เบื้อวงต้นสร้างนักออกแบบ’ ซึ่งได้การตอบรับจากกลุ่มเป้าหมายผู้สนใจและประชาชนทั่วไป เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ตามจำนวนที่กำหนดไว้ 50 คน ในช่วงที่ผ่านมา

นอกจากนี้โครงการฯ ยังเป็นไปตามยุทธศาสตร์ด้านซอฟต์เพาเวอร์ (Soft Power) ของรัฐบาล ที่ให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแฟชั่นของไทย ด้วยเป็นส่วนหนึ่งของทุนทางวัฒนธรรมที่มีศักยภาพสู่การเป็น Soft Power ประกอบด้วย 5F คือ อาหาร (Food) ภาพยนตร์ (Film) แฟชั่น (Fashion) กีฬามวยการต่อสู้ (Fighting) และ เทศกาล (Festival) ภายใต้ภารกิจของแต่ละหน่วยงานในการจัดทำโครงการและแผนงาน

โดยมี Thailand Creative Culture Agency (THACCA) เป็นองค์กรที่เข้มากำกับดูแล ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เข้ามารองรับ  และอยู่ระหว่างพิจารณาร่างฯดังกล่าว คาดพร้อมประกาศใช้ในปี 2568

จากยุทธศาสตร์ของรัฐบาล พร้อมแผนงานที่วางไว้ ยังต้องจับตาต่อไป ถึงนโยบายซอฟต์เพาเวอร์ผ่านการสร้างสรรค์เชิงศรษฐกิจ ด้วยตัว 'F' แฟชั่น ในครั้งนี้ ว่าจะได้ไปต่อ หรือพอแค่นี้เช่นเดียวกับ 'กรุงเทพฯเมืองแฟชั่น' นโยบายในอดีตอีกหรือไม่ 

 

อนึ่ง ศูนย์สารสนเทศอัจฉริยะอุตสาหกรรมแฟชั่น (Fashion Intelligence Unit : FIU) อัปเดทข้อมูลอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยปี 2566 (Thailand's Textile and Clothing Industry Profile 2023)

บทบาทของสาขาอุตสาหกรรมสิ่งทอในระบบเศรษฐกิจไทย

  • GDP อุตสาหกรรมสิ่งทอ 161,727 ล้านบาท
  • สิ่งทอ 8 80,394 ล้านบาท สัดส่วน GDP สิ่งทอต่อ GDP ประเทศ 1.2%
  • เครื่องนุ่งห่ม 81,333 ล้านบาท สัดส่วน GDP สิ่งทอต่อ GDP อุตสาหกรรม 4.4%

การใช้จ่าย เพื่อการอุปโภคบริโภค

  • สินค้าเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า 300,992 ล้านบาท
  • เครื่องนุ่งห่ม 273,478 ล้านบาท
  • รองเท้า 27,514 ล้านบาท

ภาคการผลิต

  • จำนวนโรงงาน อุตสาหกรรมสิ่งทอ 2,607 (กิจการ)
  • จำนวนคนงานในโรงงาน อุตสาหกรรมสิ่งทอ 402,779(คน)

ตลาดส่งออก/นำเข้า

  • มูลค่าส่งออก 6,064.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • มูลค่านำเข้า 5,235.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ดุลการค้า 829.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

ไทยส่งออกอันดับที่ 25 ของโลก (2566)

 

Top 10 ตลาดส่งออก (ส่วนแบ่งสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มไทย สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทย ในตลาดโลก 0.5% ปี 2566

  1. สหรัฐอเมริกา 18.4%
  2. ญี่ปุ่น 11.7%
  3. เวียดนาม 7.8%
  4. จีน 6.3%
  5. อินโดนีเซีย 4.5%
  6. อินเดีย 3.8%
  7. เมียนมา 3.6%
  8. บังคลาเทศ 2.9%
  9. กัมพูชา
  10. เบลเยี่ยม 2.8%

 

ขณะที่  Thailand Creative Content Agency หรือ THACCA (ทักก้า) องค์กรสนับสนุนกิจกรรมด้านซอฟต์เพาเวอร์ ล่าสุดได้ประกาศแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ด้านแฟชั่น ล่าสุด ประกอบด้วย ดังนี้

 

  1. อัจฉรา อัมพุช (ประธานอนุกรรมการ) - รองประธานกรรมการบริหารอาวุโส เดอะมอลล์ กรุ๊ป
  2. ชวลิต จิตภักดี (ที่ปรึกษาและอนุกรรมการ) - ​​วิทยากรด้านการพัฒนาบุคลากร การสื่อสารและการพัฒนาส่วนบุคคล
  3. วิวัฒน์ หิรัญพฤกษ์ (ที่ปรึกษาและอนุกรรมการ) – ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่นยั่งยืน
  4. กฤษดา ภควัตสุนทร (อนุกรรมการ) - Artist & Co-Founder James Dean Co.,Ltd.
  5. จินตกาญ ศรีชลวัฒนา (อนุกรรมการ) - ผู้ก่อตั้งและนักวางแผนยุทธศาสตร์การสื่อสารเบรนด์ บริษัท ก๊กกุนซือ
  6. ผศ.ดุจหทัย วงษ์กะพันธ์ (อนุกรรมการ) - อาจารย์ประจำสาขาวิชามัณฑนศิลป์ (แฟชั่นและสิ่งทอ) ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  7. ผศ.นัดดาวดี บุญญะเดโช (อนุกรรมการ)  - ประธานหลักสูตรแฟชั่น สิ่งทอและเครื่องตกแต่ง วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  8. ประภา บุรณศิริ (อนุกรรมการ)  - นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการพิเศษ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
  9. ปารีสา จาตนิลพันธุ์ (อนุกรรมการ)  - Product Development and Retail Marketing Specialist in Fashion, Lifestyle, and Craftsmanship
  10. พลอยพรรณ ธีรชัย (อนุกรรมการ) - นักออกแบบผลิตภัณฑ์ เจ้าของบริษัท THINKK STUDIO
  11. ม.ล.ภาวินี สันติศิริ ศุขสวัสดิ์ (อนุกรรมการ) - Managing partner บริษัท โยธกา
  12. สิทธิชัย ปริญญานุสรณ์ (อนุกรรมการ) – ผู้เชี่ยวชาญด้านอัญมณีและเครื่องประดับ
  13. รศ.สุภาวี ศิรินคราภรณ์ (อนุกรรมการ) - อาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  14. อนุวัติ วิเชียรณรัตน์ (อนุกรรมการ)  - ประธานกรรมการ บริษัท โฟร์โนล็อค จำกัด
  15. อภิรัฐ บุญเรืองถาวร(อนุกรรมการ)  - นักออกแบบอิสระ
  16. อินทิรา ทัพวงศ์ (อนุกรรมการ)  - FASHION DESIGNER EXPERT (The Kheha) SPECIAL INSTRUCTOR SILPAKORN & OTHER UNIVERSITIES
  17. ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (อนุกรรมการ)
  18. ผู้แทนกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (อนุกรรมการและเลขานุการร่วม)
  19. ผู้แทนกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (อนุกรรมการและเลขานุการร่วม)
  20. ผู้แทนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อนุกรรมการและเลขานุการร่วม)
  21. ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (อนุกรรมการและเลขานุการร่วม)
  22. ผู้แทนสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (อนุกรรมการและเลขานุการร่วม)
  23. ผู้แทนสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (อนุกรรมการและเลขานุการร่วม)

 

 

 

 

 

TAGS: #ซอฟต์เพาเวอร์ #แฟชั่น #THACCA