เอส เอฟ มองปี2566 ธุรกิจโรงภาพยนตร์กลับมาสนุก หนังใหญ่เตรียมเข้าฉายกว่า 10 เรื่อง ไม่ห่วงกระแสสตรีมมิง เพราะคนดูคนละกลุ่มเป้าหมาย
สุวิทย์ ทองร่มโพธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานตลาด บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน ) ผู้ให้บบริการธุรกิจโรงภาพยนตร์เอสเอฟ (SF) เปิดเผยว่าธุรกิจโรงภาพยนตร์ในปีนี้ มีแนวโน้มกลับมาเติบโต รับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยกลับมาฟื้นตัว ด้วยผู้บริโภคกล้าออกมาจับจ่ายซื้อสินค้าบริการ มากขึ้น หลังผ่านพ้นวิกฤตการแพร่ระบาดโควิด
ขณะเดียวกันในปี2566 นี้จะยังมีภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่เตรียมเข้าฉายไม่ต่ำกว่า 10 เรื่อง ที่จะดึงดูดผู้บริโภคให้กลับมาใช้บริการโรงภาพยนต์ โดยในไตรมาส2 อาทิ Guardians of the Galaxy Vol. 3 รวมพันธุ์นักสู้พิทักษ์จักรวาล 3, Fast & Furious X เร็ว...แรงทะลุนรก 10 และ The Little Mermaid เงือกน้อยผจญภัย เป็นต้น จากเมื่อไตรมาสแรกที่ผ่านมา มีหนัง John Wick: Chapter 4 จอห์น วิค แรงกว่านรก 4 ที่สร้างกระแสการกลับมาชมภาพยนต์ในโรงหนังใก้กลับมาคึกคักขึ้น
สุวิทย์ กล่าวว่า “กระแสการดูหนังในระบบสตรีมมิงช่วงที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ มองว่าไม่กระทบกับธุรกิจโรงหนัง ด้วยเป็นคนละกลุ่มเป้าหมายมากกว่า อย่างคนดูในสตรีมมิงจะเป็นแนวซีรียส์ มีการติดตามดูต่อเนื่อง มองว่าจะเข้ามาเสริมการดูหนังใหญ่ในโรงด้วยซ้ำ อย่างหากหนังใหม่ภาคต่อเตรียมเข้ามาฉาย คนดูก็จะกลับไปดูหนังภาคก่อนหน้าในสตรีมมิง”
ขณะที่แนวทางการทำตลาดของเอสเอฟ จะใช้อีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญ คือ Naming Sponsor ของเอสเอฟ ด้วยการร่วมเป็นพันธมิตรกับแบรนด์ธุรกิจสินค้าในรูปแบบการสนับสนุนประสบการณ์ใหม่ๆในการดูหนัง เพื่อสะท้อนคาแรกเตอร์แบรนด์หรือธุรกิจสินค้าบริการแต่ละราย
ปัจจุบัน มี 4 Naming Sponsor โรงภาพยนต์ SF ดังนี้
1. NT First Class Cinema จุดเด่นการใช้เทคโนโลยีของ NT (บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)) เชื่อมโยงประสบการณ์กับผู้บริโภค เป็นต้น
2. Mastercard Cinema จุดเด่นโรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่และความพิเศษของที่นั่งสะท้อนความเป็นมาสเตอร์
3. The Bed Cinema by Omazz จุดเด่นความสบายในการดูหนังผ่านที่นอนจริงของแบรนด์ Omazz
4. Zigma Cinestadium presented by C2 ล่าสุดร่วมกับน้ำดื่มซีทรู (C2) ทำ COLOUR CHECK ผ่านจอยักษ์
สุวิทย์ กล่าวทิ้งท้ายว่าขณะนี้ บริษัทยังไม่มีแผนปรับราคาบัตรเข้าชมภาพยนต์เพิ่มแต่อย่างใด แม้ว่าจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นในภาพรวมโดยเฉพาะค่าไฟฟ้า ซึ่งมีค่าใช้จ่ายหลักร้อยล้านบาทต่อปี แต่จะหันไปใช้วิธีบริหารจัดการและควบคุมค่าใช้จ่ายส่วนต่างอื่นทดแทน ด้วยธุรกิจโรงภาพยนต์มีความคล้ายคลึงกับธุรกิจสายการบิน ที่จะต้องบริหารจำนวนที่นั่ง (Seat) ให้มีประสิทธิภาพมากสุด