บางจาก ขึ้นแท่นผู้นำ ESG 5 ปีซ้อน เดินตามเป้าหมาย Bangchak100X บางจาก คว้าเรทติ้งความยั่งยืน MSCI ESG Rating 2022 ระดับ AA สูงสุดในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน ปักธงขับเคลื่อนธุรกิจช่วงเปลี่ยนผ่านพลังงาน
ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บางจากฯได้รับการประเมินความยั่งยืน MSCI ESG Rating 2022 ที่ระดับ “AA” ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม ESG Leader ต่อเนื่อง 5 ปีซ้อน โดยระดับ AA เป็นระดับสูงสุดขององค์กรไทยในกลุ่มธุรกิจ Oil & Gas Refining, Marketing, Transportation & Storage
ทั้งนี้ที่ผ่านมาให้ความสำคัญกับการสร้างการเติบโตของธุรกิจโดยรักษาสมดุลระหว่างการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศและการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด ผ่านการกำหนดนโยบายและการดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG โดยคำนึงถึงการสร้างความยั่งยืนในทุกมิติในด้าน สิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาลอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามผลการประเมินโดย MSCI ซึ่งมีความเชี่ยวชาญและความน่าเชื่อถือในด้านดัชนี ESG ในระดับนานาชาติในครั้งนี้ นับเป็นความภาคภูมิใจร่วมกันของทุกคนในบางจากฯ ที่การดำเนินธุรกิจได้รับการยอมรับว่าเป็นบริษัทชั้นนำด้านความยั่งยืน เป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงานด้าน ESG ซึ่งถือเป็นเป้าหมายของบางจากฯ
บางจากฯ ได้รับผลการประเมินในด้านสิ่งแวดล้อมดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในเรื่องการบริหารจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีการกำหนดแผนงาน (BCP 316 NET) การปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพและขั้นตอนการผลิต ซึ่งที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ในปี ค.ศ. 2050
ชัยวัฒน์ กล่าวว่า การเริ่มต้นปี 2566 นี้ บางจากฯ ยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าดำเนินธุรกิจ เพื่อความยั่งยืนตามหลัก ESG ต่อไป โดยมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืน 100 ปี หรือ Bangchak100X ในฐานะกลุ่มธุรกิจผู้นำการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน
อย่างไรก็ตาม MSCI ESG Rating เป็นการประเมินความสามารถในการบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล โดยกระบวนการประเมินจะพิจารณาจากความเสี่ยงด้าน ESG ที่บริษัทเผชิญ และความพร้อมในการบริหารจัดการความเสี่ยงนั้นๆ โดยครอบคลุมตัวชี้วัด 5 ประเด็นคือ สิ่งแวดล้อม ลูกค้า สิทธิมนุษยชนและชุมชน สิทธิของผู้ใช้แรงงานและห่วงโซ่อุปทาน บรรษัทภิบาล