ถ้าซิลิคอนวัลเลย์คือบ้านอันยิ่งใหญ่ของผู้ดูแลยุคอินเตอร์เน็ต จีนก็เปรียบได้ดั่งบ้านของ ‘the Bio-Revolution’ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปี 2030
ขณะที่การเข้าถึงเงินทุนด้านนวัตกรรมในปี 2020 คะแนนในส่วนนี้ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 6.0 มากที่สุดเป็นอันดับ 2 จากดัชนีหลักทั้งหมด และการที่ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้สามารถเข้าถึงเงินทุนสำหรับนวัตกรรมได้มากขึ้น ก็สะท้อนถึงความมั่นใจในสภาพแวดล้อมการลงทุนสำหรับอุตสาหกรรม Biopharma ของจีน
โดย Venture capital และ Private equity ยังคงถูกคาดว่าเป็นแหล่งเงินทุนที่เข้าถึงมากที่สุดสำหรับการใช้ในการระดมทุน ในเวลาเดียวกันช่องทางอย่างตลาดทุนอย่าง the HKEX และ Shanghai’s technology-focused STAR board ได้กลายเป็นช่องทางการระดมทุนที่น่าสนใจไม่น้อยอีกทาง
การระดมทุนของบริษัท Bio-Tech จีนที่เกิดขึ้นในปี 2020 มีมากถึง 21 บริษัทจาก 23 บริษัท นำโดย Everest Medicine ที่เข้าจดทะเบียนในฮ่องกงด้วยมูลค่ามากถึงกว่า 520 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ขณะที่การกลับมาของผู้เชี่ยวชาญชาวจีนที่ไปทำงานอยู่ในต่างประเทศและการเติบโตอย่างมากขององค์กรที่รับทำวิจัยและพัฒนา รวมไปถึงองค์กรที่รับผลิตเพื่อช่วยยกระดับการทำวิจัยและพัฒนา ก็ถือเป็นสาเหตุทำให้ความสามารถของห่วงโซ่คุณค่าด้านวัตกรรมนี้ถูกปรับปรุงขึ้นแบบต่อเนื่อง
ทำให้คะแนนในกลุ่มนี้ของจีนอยู่ที่ 5.5 เติบโตขึ้นในระดับปานกลางเมื่อเทียบกับปี 2016 โดยองค์กรทั้ง 2 แบบต่างมีส่วนช่วยต่อการสนับสนุนการเติบโตของนวัตกรรม Biotechnology
ขณะที่ในอีก 2 ด้านที่เหลืออย่าง นวัตกรรมท้องถิ่น (Local innovation) ของจีนเองก็เติบโตขึ้นปี 2020 มีคะแนนอยู่ที่ 5.3 ปรับขึ้นมาจาก 4.2 ในปี 2016 สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการอันแข็งแกร่งของการใช้งานทางคลินิก (Clinicaltrial Applications) ซึ่งเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยในแต่ละปีที่ 32% จากปี 2016
ด้านการทำงานร่วมกับตลาดโลก (Cross-border deals underpin global market integration) คะแนนตรงนี้ของจีนอยู่ที่ 5.5 ปรับขึ้นแบบแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับปี 2016 ซึ่งตลอด 12 เดือนที่ผ่านมาบริษัทจากจีนได้มีการลงนามออกใบอนุญาตสำหรับนวัตกรรมยาพร้อมกับบริษัทยาข้ามชาติเป็นมูลค่ารวมมากกว่า 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว
คุณ Andrew Weber ซึ่งเป็น Senior Fellow ของ The Council on Strategic Risks เผยว่า “ผมรู้สึกว่าช่วงเวลานี้มันเหมือนปี 1994 ที่มีการเรียกสิ่งที่ชื่อว่า อินเตอร์เน็ตเกิดขึ้น ตอนนี้พวกเราอยู่ใน Synthetic Biology และมันเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งในเศรษฐกิจของเราที่กำลังจะถูกเปิดตัวออกมาและมันจะเปลี่ยนทุก ๆ สิ่งไปเลย” ถ้าซิลิคอนวัลเลย์คือบ้านอันยิ่งใหญ่ของผู้ดูแลยุคอินเตอร์เน็ต จีนซึ่งกำลังลงทุนอย่างมหาศาลในด้านนี้ก็เปรียบได้ดั่งบ้านของ ‘the Bio-Revolution’ ที่คาดว่าจะเกินขึ้นในช่วงปี 2030
หมายเหตุ: Synthetic Biology คือ ชีววิทยาสังเคราะห์เป็นสาขาวิชาของการวิจัยที่พยายามสร้างชิ้นส่วนชีวภาพอุปกรณ์และระบบใหม่หรือเพื่อออกแบบระบบที่พบในธรรมชาติ
ด้าน ดร. Wang Yinxing ซึ่งเป็น Chief Executive Officer ของทาง Jacobio Pharmaceuticals ให้ความเห็นว่า “ผมเริ่มต้นบริษัทแรกเมื่อ 19 ปีก่อน ในเวลานั้นบริษัทด้านยาและเวชภัณฑ์ของจีนกำลัผลิตยาทั่ว ๆ ไปอยู่เลย ผลิตภัณฑ์, การผลิต, โรงงาน และอื่น ๆ เกือบทั้งหมดไม่มีนวัตกรรมงานวิจัยด้านยา”
ขณะที่คุณ Brian Bremner ซึ่งเป็น Senior Executive Editor ของ Bloomberg News Author ที่เป็นผู้เขียนหนังสือ “Man Versus Microbe” เผยว่า “ในประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมยาจะถูกแบ่งออกเป็นหลายสาย เช่น นวัตกรรมและสิทธิบัตรยา และยังมีผู้ได้สิทธิเพื่อขายยา รวมไปถึงผู้พัฒนายาอื่น ๆ จะมีการลอกเลียนยาซึ่งไม่ได้มีสิทธิบัตรและขายมันไปทั่วโลก (โดยแต่ละสายก็อาจจะเป็นคนละบริษัททำ รวมไปถึงอาจอยู่คนละประเทศด้วย)
แต่เมื่อเริ่มต้นศตวรรษนี้จะเป็นจีนทำทั้งหมดทุกสายเลย ซึ่งการทำนวัตกรรมจะทำให้คุณสามารถทำเงินได้มากจากการขายสิทธิบัตร และถ้าคุณพัฒนาพื้นที่ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมาได้ มันจะมีนวัตกรรมอื่น ๆ ต่อยอดออกไปอีกและนี่เป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในยุโรปและสหรัฐมาแล้ว”
ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือบริษัท Merck ซึ่งได้ขายยาที่ชื่อว่า Immunotherapy Cancer Drug ซึ่งเป็น ยารักษาโรคมะเร็งโดยอาศัยหลักการทำงานของภูมิคุ้มกันที่มีชื่อว่า “Keytruda” โดยมันสร้างรายได้ให้บริษัทไปกว่า 17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2021
อุตสาหกรรมเชิงกลยุทธ์ถือเป็นสิ่งที่ทางประเทศจีนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยในปี 2010 ได้มีการระดมความคิดเพื่อวางแผนยกระดับอุตสาหกรรมเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ ๆ ไม่ว่าจะเป็น AI, EV, พลังงานทแทน และอุตสาหกรรม Bio-Tech ก็เป็นหนึ่งในนั้นที่ทางรัฐบาลจีนให้ความสำคัญ
พร้อมกับเป้าหมายอันสำคัญก็คือการมุ่งไปสู่การเป็นผู้กำหนดมาตรฐานและกฎเกณฑ์ในการกำกับเพื่อจะเป็นเกณฑ์มาตรฐานของโลกต่อไป แน่นอนว่าตรงนี้จีนจะต้องมีการทำงานร่วมกับต่างชาติที่เขาได้รับการยอมรับในระดับโลกอยู่แล้ว
แต่จุดแข็งของจีนก็คือความคล่องตัวในกระบวนการอนุมัติยาของจีนเพื่อให้บริษัทของตัวเองมีแรงจูงใจในการพัฒนายาเพื่อออกสู่ตลาดต่อไป และเมื่อบวกเข้ากับการปรับปรุงคุณภาพ และความเร็วในการพัฒนายาของคนจีนเราน่าจะได้เห็นอุตสาหกรรมนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง
หนึ่งในตัวอย่างของบริษัทจากจีนที่ทำแบบนี้สำเร็จก็คือ Innovent Biologics Inc. ได้มีการทำงานร่วมกับ ICH ทำให้ยาของพวกเขาพัฒนาได้ตาม Global Standards ซึ่งตรงนี้จะนำไปสู่เรื่องที่สองก็คือ Capital Market
และปี 2018 Innovent ก็เข้าสู่ตลาด Hong Kong Stock Exchange STAR Market รวมไปถึงการได้พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ หรือ Strategic Partnership อย่าง Eli Lilly ทำให้บริษัทมีการเติบโตอย่างมีนัยยะสำคัญและตอนนี้ก็มีผลิตภัณฑ์ 6 ตัวด้วยกัน
ด้าน ดร. Wang Yinxing ซึ่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Chief Executive Officer) ของทาง Jacobio Pharmaceuticals แสดงความเห็นว่า “งานวิจัยไม่ได้ทำให้การแข่งขันง่ายขึ้นแต่เป็นส่วนหนึ่งสำหรับเส้นทางการพัฒนายาตัวใหม่” ซึ่งทาง Jacobio ถือเป็นอีกหนึ่งบริษัทจีนที่ทำงานร่วมกับบริษัทยาข้ามชาติอย่าง Abbvie โดยทาง Jacobio จะเป็นผู้สนับสนุนเงินทุน และทาง Abbvie จะสนับสนุนด้านความเชี่ยวชาญในการพัฒนาระดับโลกและการขาย ตรงนี้จะทำให้ Jacobio ก้าวข้ามขอบเขตของการเป็นองค์กรที่ทำแค่งานวิจัย
และข้อมูลจากทาง Bloomberg ในปี 2019 เผยว่า ยารักษามะเร็งที่ผลิตจากจีนถูกกว่าของสหรัฐมากถึง 1 ใน 3 เลยทีเดียว รวมไปถึงใน 5 ปีที่ผ่านมาบริษัทจีนเริ่มหันมาผลิตยาแบบ the First-in-Class Drug หรือ the First-in-Class Medication ซึ่งเป็นยาที่ใช้กลไกเฉพาะที่มีความใหม่ของการออกฤทธิ์เพื่อรักษาตามเงื่อนไขเฉพาะทางทางการแพทย์ซึ่งจะต้องใช้เวลาและเงินทุนจำนวนมหาศาล
เมื่อไปดูอุตสาหกรรมเชิงกลยุทธ์ที่ทางรัฐบาลจีนให้การสนับสนุนอย่าง AI และ รถยนต์ไร้คนขับ (Autonomous Car หรือ Self-driving Car) และเมื่อบวกเข้ากับอุตสาหกรรม Software Engineering, IT และอื่น ๆ เราก็คงพอคาดเดาได้ว่าอุตสาหกรรม Bio-Tech ของจีนจากนี้คงกลายเป็นมหาอำนาจของโลกได้ไม่ยาก
เรื่อง : เอกพล มงคลพัฒนกุล
#Biotech #เวชภัณฑ์ #จีน #BioRevolution #chinabiotech #ชีววิทยา #Biology