ส่งออกไทยปัจจัยเสี่ยงรุม การเมืองช้า-เอลนีโญ พ่นพิษ

ส่งออกไทยปัจจัยเสี่ยงรุม การเมืองช้า-เอลนีโญ พ่นพิษ
จับตาเอลนีโญกระทบส่งออกสินค้าเกษตรหนัก ชงรัฐบาลใหม่รับมือน้ำแล้ง ห่วงตั้งครม.ช้าฉุดติดลบ 2.5%

รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ได้จัดทำวิเคราะห์ส่งออกไทยครึ่งปีหลัง 2566 ภายใต้การเมืองที่ไม่แน่นอน”  ซึ่งแยก 2 กรณี คือ  1. กรณีที่มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ภายในเดือนส.ค. 2566 คาดว่ามูลค่าการส่งออกของไทยไปตลาดโลกในปี 2566 จะมีมูลค่าเท่ากับ  283,738 ล้านเหรียญสหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ระหว่าง 282,038 ถึง 289,422 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือติดลบ1.2 % (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ระหว่าง -1.8% ถึง 0.8%) สำหรับครึ่งหลังของปี 2566 คาดว่าจะมีมูลค่าเท่ากับ  142,244 ล้านเหรียญสหรัฐดอลลาร์สหรัฐฯ หรือขยายตัว 3.1% (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ระหว่าง 1.9% ถึง 7.2%)

2.กรณีที่ไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ภายในเดือนส.ค.2566 คาดว่ามูลค่าการส่งออกของไทยไปตลาดโลกในปี 2566 จะมีมูลค่าเท่ากับ  279,891 ล้านเหรียญสหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ระหว่าง 278,169 ถึง 281,614 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือติดลบ2.5% (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ระหว่าง -1.9% ถึง-3.1%) สำหรับครึ่งหลังของปี 2566 คาดว่าจะมีมูลค่าเท่ากับ  138,398 ล้านเหรียญสหรัฐหรือขยายตัว 0.3

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการส่งออกไทยที่สำคัญคือ 1.เศรษฐกิจโลก และคู่ค้าสำคัญชะลอตัว โดยเฉพาะสหรัฐมีความเสี่ยงเศรษฐกิจจะถดถอย 2.เศรษฐกิจจีนขยายต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ 5% เนื่องจากจากการจับจ่ายใช้สอยชะลอตัวโดยสินค้าไทยส่งออกไปจีน สัดส่วน12-13%

3. การเมืองที่ยังไม่ชัดเจนจากการจัดตั้งรัฐบาลที่ล่าช้า4. อัตราการว่างงานของประเทศคู่ค้าที่สูงขึ้น รายได้ต่อหัวของผู้บริโภคทั่วโลกติดลบ 1% มีผลต่อคำสั่งซื้อสินค้า 5. ค่าเงินที่ผันผวนจากอัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐฯที่ทรงตัวในระดับสูง 5.25 % และมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น 6.เอลนีโญส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรหด ติดลบ2.7-10.9%  คิดเป็นมูลค่าความเสียหายก่า 1 แสนล้านบาทและ7. ราคาน้ำมันดิบอาจปรับตัวสูงขึ้นจากการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปกเฉลี่ย 70-90 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

“สถานกาณรณ์เอลนีโญ ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่น่าเป็นห่วงเพราะกระทบกับสินค้าเกษตรทุกตัวเช่น  ข้าว  ยางพารา พืชผักผลไม้  เนื่องจากการทำเกษตรปัจจัยสำคัญคือเรื่องน้ำ ดังนั้นรัฐบาลใหม่ต้องมาคิดเรื่องนี้อย่างหนัก  และเตรียมแผนรับมือในการเรื่องการจัดการน้ำ ต้องปรับนโยบายเกษตรแบบ 360 องศา ภาคเกษตรไทยจะรอดหรือไม่รอดใน 3-5 ปีข้างหน้า”

ทั้งนี้ในเวียดนามได้เตรียมลดการส่งออกข้าว เพื่อบริหารให้มีเพียงพอกับคนในประเทศรวมถึงการวิจัยพันธุ์ข้าวให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป

รศ.ดร.อัทธ์ กล่าวว่า ปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการส่งออก ได้แก่ 1.ต้นทุนการผลิตที่สูง เช่น ค่าไฟฟ้า พลังงาน และค่าจ้าง 2. Inflation หรือ Disinflation 3. ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ จีนสหรัฐขัดแย้งทุกมิติ  4. สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ  ส่งออกไทยหายไป 4 หมื่นล้านบาท  5. การลดการพึ่งพิงเงินสกุลดอลลาร์ (De-Dollarization)ถ้าเราไม่เตรียมตัวจะค้าขายกับจีนยากขึ้น

 

TAGS: #เอลนีโญ #ส่งออกชะลอ #สินค้าเกษตร