เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2566 ศาลปกครองกลาง วินิจฉัยยืนคำพิพากษาตามศาลชั้นต้น คดีสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ฟ้องคอนโดหรู แอชตัน อโศก
The Better รายงาน ศาลปกครองกลาง นัดอ่านคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ ส. ๕๓/๒๕๕๙ คดีหมายเลขแดงที่ ส. ๑๙/๒๕๖๔ ระหว่าง สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กับพวกรวม 16 คน (ผู้ฟ้องคดี) กับผู้อำนวยการเขตวัฒนากับพวกรวม 5 คน (ผู้ฟ้องคดี)
โดยมี บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด หรือ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ทู จำกัด (ผู้ร้องสอด) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
ล่าสุด ศาลปกครองสูงสุด พิพากษา “ยืนตามศาลชั้นต้น (ศาลปกครองกลาง)” ให้เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างโครงการแอชตัน อโศก
โดยประเด็นสำคัญในการพิจารณา เกี่ยวกับการไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) สามารถนำที่ดินเวนคืน มาใช้กับวัตถุประสงค์อื่นมิชอบด้วยกฎหมาย จากวัตถุประสงค์ระยะต้นเวนคืนเพื่อนำมาทำรถไฟฟ้าระยะแรก
โดยฝั่งผู้ถูกฟ้อง ยื่นอุทธรณ์ กรณีสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กับพวกรวม 16 ราย กระทำการฟ้องร้องเรื่องดังกล่าว ในระยะเวลา 90 วัน นับแต่วันที่พบหรือไม่นั้น
ซึ่งคำวินิจฉัยระบุว่า การที่ผู้ถูกฟ้องร้องออกใบอนุญาตให้ผู้ร้องสอด คือ อนันดาฯ เพื่อดัดแปลง ส่งผลกระทบผู้พักอาศัยที่ใช้ทางสาธารณะประโยชน์ ซึ่งการฟ้องร้องนี้เป็นการเรียกคืนทางสาธารณะประโยชน์ ดังนั้น จะผู้ยื่นฟ้องจะฟ้องเมื่อไรก็ได้ คำอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องฟังไม่ขึ้น
ขณะที่ที่ดินของแอชตัน อโศก เดิมติดกับถนนสาธารณะ (ถนนอโศกมนตรี) แต่ต่อมาที่ดินบางส่วนถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ ทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งติดถนนสาธารณะ และไม่มีทางออก ต่อมา รฟม. อนุญาตให้ผู้ร้องสอดใช้ที่ดินเพื่อเป็นทางผ่าน
ดังนั้น ผู้ร้องสอดจึงไม่อาจนำที่ดินของ รฟม. ไปประกอบการยื่นแจ้งการก่อสร้างและดัด แปลงอาคารโครงการแอชตัน อโศกได้ และไม่อาจถือได้ว่าที่ดิน รฟม. ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ตั้งอาคารของผู้ร้องสอด ตามนิยามในข้อ 1 ของ กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่ม เติม โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
ส่งผลให้แอชตัน อโศก ไม่มีด้านใดด้านหนึ่งของที่ดินยาวไม่น้อย กว่า 12 เมตร ติดถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร