กู้ด กู้ดส์ แฟชันภูมิปัญญาท้องถิ่นดึงดีไซเนอร์ไทย เปิดทางสู่รันแวย์แฟชั่นเพื่อความยั่งยืนใน ‘Sustainable Collection’
กลุ่มเซ็นทรัล กับพันธกิจเพื่อการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืน ภายใต้วิสาหกิจเพื่อสังคม ‘เซ็นทรัล’ ทำด้วยกัน ทำด้วยใจ โดยหนึ่งในโครงการสำคัญ คือ Good Goods สินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์แบรนด์ไทย ที่พัฒนาคุณภาพและออกแบบให้มีความร่วมสมัย ให้นำไปใช้จริงได้ไม่ยากในชีวิตประจำวัน
ก่อนอื่นเราไปทำความรู้จักกับแบรนด์ Good Goods ได้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในปี 2019 ในรูปแบบคอนเซปต์สโตร์ (Concept Store) ให้บริการในสาขาแรก ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และได้การตอบรับดีจากกลุ่มเป้าหมายทั้งชาวไทยและต่างชาติ ถัดมาอีก 3 ปี ในเดือน พ.ค. 2022 Good Goods คอนเซปต์ สโตร์ จึงได้เปิดสาขาที่สอง ที่ จริงใจมาร์เก็ต จังหวัดเชียงใหม่
โดยร้าน Good Goods สาขาเซ็นทรัลเวิลด์ ยังถือเป็น ‘คีย์ โลเคชัน’ จุดศูนย์กลางที่รวบรวมสินค้าที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาคเอาไว้ เพื่อสะท้อนและตอกย้ำการมีส่วนร่วมกันระหว่างชุมชนท้องถิ่นและสังคมเมือง ไว้อย่างใกล้ชิด
ล่าสุดหนึ่งในโครงการขับเคลื่อนความยั่งยืนของกลุ่มเซ็นทรัล พร้อมร่วมผลักดันดีไซเนอร์ไทย ที่มีความตั้งใจพัฒนาแบรนด์แฟชั่นแบบยั่งยืน อาทิ PAINKILLER Atelier, ZAYAN และ Earthology Studio ผ่านการสนับสนุนช่องทางการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้จากการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและรักษ์สิ่งแวดล้อม และสนับสนุนพื้นที่การขายสินค้า
เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าอย่างสะดวกผ่านร้าน Good Goods ทั้ง 2 สาขา ณ ชั้น1 โซน Hug Thai ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และจริงใจมาร์เก็ต จังหวัดเชียงใหม่
โดยทั้ง 3 แบรนด์มีอัตลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างกัน สามารถเข้าถึงคนได้ทุกกลุ่ม หลากไลฟ์สไตล์ และยังมีเอกลักษณ์ในการสอดแทรกความยั่งยืนผ่านการประยุกต์ ดัดแปลงวัสดุต่าง ๆ จากท้องถิ่น วัสดุเหลือใช้ วัสดุ รีไซเคิล โดยนำเสนอออกมาในรูปแบบที่ร่วมสมัยและเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์
ZAYAN ใช้ทรัพยากรใหม่ให้น้อย
เริ่มด้วย ธนกร บินซายัน เจ้าของแบรนด์ ซา-ยัน (ZAYAN) คอลเลกชันนี้ต้องการลดใช้ทรัพยากรใหม่ให้ได้มากที่สุด ด้วยการใช้วัสดุที่ทุกคนเห็นผ่านตาบ่อยครั้ง อย่างเสื้อผ้าทหารวินเทจ นำมาประกอบร่างใหม่ ให้ผ้าเหล่านี้สามารถกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งและสวมใส่ได้สบายมากขึ้น
ธนกร บอกว่า “ในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นอย่างบ้านเรา วัสดุที่นำมาใช้ในคอลเลกชันนี้ไม่ได้มีเพียงแค่เสื้อผ้าทหาร แต่ยังมีผ้าที่รีไซเคิลจากขวดน้ำพลาสติก, ผ้าคอตตอน Deadstock สภาพดีที่ยังไม่ผ่านการใช้งาน ทางแบรนด์มองว่าสถานการณ์ปัญหาสภาพแวดล้อมทั่วโลกที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆใกล้ตัวเรา ครอบครัวและคนที่เรารักมากขึ้น”
ดังนั้นสิ่งที่ ทางแบรนด์ต้องการออกแบบจึงไม่ใช่เพียงแค่ต้องตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า แต่ยังต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและปกป้องทรัพยากรไว้สำหรับคนรุ่นต่อ ๆ ไปในอนาคตให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
“สิ่งที่เราพยายามทำมาตั้งแต่ก่อตั้งแบรนด์คือการลดใช้ทรัพยากรใหม่ให้ได้มากที่สุด เราเลือกใช้ผ้าที่ผ่านการใช้งานมาแล้วแต่ยังสภาพดี ผ้าที่ Deadstock จากโรงงานที่แทบยังไม่ได้ผ่านการใช้งานใด ๆ รวมไปถึงจากเสื้อผ้ามือสองที่เรียกว่าแทบจะล้นโลกเลยก็ว่าได้” ธนกร กล่าว
ภูมิปัญญาแฟชันเทคโนโลยี
ด้าน กฤติกา ชัยวิไล เจ้าของแบรนด์ เอิร์ธโธโลจี สตูดิโอ (Earthology Studio) ที่มาของ “EVERYTHING IS ALL GOOD” ทางแบรนด์ Earthology Studio เล็งเห็นจุดเด่นในเรื่องการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและการสนับสนุนสินค้าของชุมชุน แต่ปรับในเรื่องดีไซน์ให้ร่วมสมัยขึ้น เราเลยอยากทำงานร่วมกับ Good Goods โดยการใช้วัตถุดิบที่ดูทันสมัย มีเรื่องราวของเทคโนโลยี แต่ปรับลุคให้มีความเป็น Street, Vintage ที่เรียกว่า Modern Legacy และใช้วัตถุดิบที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม
ขณะที่ ตัว Look ของลายพิมพ์ ได้ออกแบบพิเศษ ที่ใช้ Key Element ของ Good Goods ร่วมกับ Earthology Studio inspiration มาจาก Bandana Scarf ซึ่งถือว่าเป็น Iconic Look สำหรับคอลเล็กชันหน้าร้อน ใน Capsule คอลเล็กชันนี้เน้น เสื้อ กางเกงขาสั้น เสื้อยืด กระเป๋า และผ้าพันคอ ไอเท็มง่าย ๆ สำหรับซัมเมอร์
กฤติกา กล่าวว่า ต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในมุมของ Earthology Studio ยึดหลักการทำงานบนเสาหลัก 3s C:
CIRCULAR MATERIAL : การใช้วัตถุดิบที่มาจากการรีไซเคิลขวดน้ำดื่ม PET ในประเทศ 100% และการใช้ผ้า Organic Cotton เป็นผ้าฝ้ายอินทรีย์ โดยการปลูกต้นฝ้ายไม่ใช้สารเคมีในการเพาะปลูก จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภคในเรื่องสารตกค้าง
CIRCULAR DESIGN : การออกแบบที่คำนึงถึงความทนทานในเรื่องการใช้งาน และการนำผลิตภัณฑ์หลังจากการ Reuse Repurpose แล้วสามารถนำกลับเข้าระบบ Closed Loop Recycled ได้อีกครั้ง เป็นหลักการ Cradle to Cradle ที่สมบูรณ์
CIRCULAR COMMUNITY : การสร้างการมีส่วนร่วมและรับรู้ของผู้บริโภคที่สามารถมีส่วนร่วมในการสร้างสังคม และรักษาระบบธรรมชาติให้สมดุล
แฟชันแห่งการตื่นรู้ยั่งยืน
ปิดท้ายด้วย สิริอร เฑียรฆประสิทธิ์ เจ้าของแบรนด์ PAINKILLER Atelier Collaboration ที่เป็นซีรีส์ต่อเนื่องเพื่อถ่ายทอดงานคราฟท์ของไทยผ่านเรื่องราวของนักท่องเที่ยว ประเดิมคอลเล็กชันแรกด้วย Indigo Journey คอลเล็กชันที่เริ่มจากการสวมกางเกงช้างเที่ยวทั่วไทย แต่ระหว่างทางไปตกหลุมรักสีน้ำเงินของหม้อห้อม จึงเกิดลุคใหม่ ๆ ขึ้น วัตถุดิบผ้ามัดย้อมทุกแบบผลิตโดยศูนย์การเรียนรู้หม้อห้อม จังหวัดแพร่ และเสื้อผ้าทุกชิ้นตัดเย็บโดยช่างฝีมือประจำแบรนด์
โดยทาง PAINKILLER Atelier มุ่งหวังที่จะเป็นตัวอย่างของแบรนด์แฟชั่นที่ตื่นรู้เกี่ยวกับ Sustainability ด้วยดำเนินกิจการตาม Sustainable Development Goals (*Note*หรือ SDGs คือ เป้าหมายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน จาก “องค์การสหประชาชาติ” (United Nations) มุ่งหมายการพัฒนา 17 ข้อสะท้อนถึง ‘3 เสาหลักของมิติความยั่งยืน’ (Three Pillars of Sustainability)
คือ มิติด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม) 3 ข้อคือ ข้อ 5 Gender Equality, ข้อ 8 Decent Work & Economic Growth และ ข้อ 12 Responsible Consumption & Production เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆเช่น การสื่อสารแบรนด์เพื่อความเท่าเทียม การจ้างงานอย่างเป็นธรรม การใช้ผ้า Surplus หรือการใช้แพคเกจจิ้งที่ย่อยสลายได้ รวมไปถึงการอบรมความรู้ภายในองค์กรเพื่อประหยัดพลังงาน พวกเราหวังว่าจะเป็นฟันเฟืองเล็ก ๆ ที่ช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจและสังคมของเราพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืน
สำหรับ ร้าน Good Goods (กู้ด กู้ดส์) เป็นจุดศูนย์กลางที่รวบรวมสินค้าที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาคเอาไว้ ซึ่งสิ่งที่ ‘เชื่อมโยง’ ความแตกต่างของภูมิปัญญาและอัตลักษณ์ในแต่ละพื้นที่ และร่วมส่งเสริมดีไซน์เนอร์, งานศิลปะ, งานจักรสาน และวัฒนธรรมของทุกภาค ผ่านสินค้าที่จำหน่ายอยู่ภายในร้าน Good Goods
สามารถสั่งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ FB: http://m.me/aboutgoodgoods Line:@aboutgoodgoods หรือที่ ร้าน good goods new concept store ที่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 1 โซน Hug Thai และร้าน good goods ที่ จริงใจมาร์เก็ต จ.เชียงใหม่ ใกล้กับตลาดต้นไม้คำเที่ยง บนถนนอัษฎาธร