ปรากฎการณ์ 'ครูกายแก้ว' เส้นบางๆ ศรัทธา ความเชื่อ หรือ การตลาด กันแน่

ปรากฎการณ์ 'ครูกายแก้ว'  เส้นบางๆ ศรัทธา ความเชื่อ หรือ การตลาด กันแน่
ปรากฎการณ์ 'ครูกายแก้ว' ที่เป็นกระแสตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นนั้น อาจทำให้หลายคนตั้งคำถามต่อรูปปั้นนี้ว่ามีที่มาจากไหน? ควรค่าแก่การกราบไหว้บูชามากน้อยเพียงใด? หรือเป็นคอนเทนต์ทางการตลาด

'จิรายุทธ แซ่อึ้ง' นักวิชาการสายสังคมรุ่นใหม่ เปิดแนวคิดต่อปรากฎการณ์ดังกล่าวผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัวได้อย่างน่าสนใจ

พร้อมกล่าวเพิ่มกับ The Better ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและให้น้ำหนักว่าเป็นเรื่องของการตลาดบนความเชื่อของผู้คนที่มองหา "การมูเตลู" เพื่อขอพรให้ได้มาดังใจปราถนา ท่ามกลางความหวั่นไหวทางจิตใจในช่วงอึมครึมด้านเศรษฐกิจ ที่กระทบปัญหาปากท้องตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

จิรายุทธ บอกถึงการปรากฏตัวของอเทวรูป ที่ถูกพูดในสื่อโซเชียล ตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น เขาให้มุมมองเชิงสังคมที่สะท้อนในทางการตลาดของ “ครูกายแก้ว” ในฐานะผลิตภัณฑ์อีกหนึ่งชิ้นที่อยู่ในกระแสความเชื่อเพื่อการสักการะบูชา

ขณะที่สิ่งเหล่านี้เอง ก็มีมาช้านานในภูมิภาคอุษาคเนย์ ที่คนท้องถิ่นให้การกราบไหว้บูชา 'ผี’ ผู้ล่วงลับไปแล้ว ทั้งบรรพบุรุษ ครูบาอาจารย์ ฯลฯ ผ่านทั้งภาพถ่าย รูปวาด รูปปั้น ฯลฯ หรืออย่างที่เรียกว่าศาสนาผี ก็มีเช่นกัน

เส้นแบ่งการตลาดกับไสยศาสตร์

ดังที่กล่าวข้างต้น เมื่อคนในสังคมไทยต่างคุ้นเคยกับวิถีการสักการะสิ่งที่มอบความสมหวังตามปราถนาได้ราวปฏิหารย์ โดยไม่จำเป็นต้องขวนขวายคำตอบทางวิทยาศาตร์มาสนับสนุน

ยิ่งทำให้เกิดความศรัทธา มั่นใจในพลังที่มองไม่เห็นมาดลบันดาลให้ จุดนี้เองที่กลายเป็นช่องว่างทางการตลาดความเชื่อ  จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่พึ่งทางใจใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง

เห็นได้ชัดในแต่ะปีก็มักจะมีกระแสการกราบไหว้สักการะ ‘สิ่ง’ ที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่ที่จะมีผู้จุดประกาย Trend Setting ขึ้นมา  จนไม่อาจแยกออกได้ชัดนักระหว่างศรัทธาความชื่อ ไสยศาสตร์ และการตลาด 

สังคมเสียงแตก ‘ครูกายแก้ว’

จิรายุทธ บอกอีกว่ากระแสครูกายแก้วตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าในสังคมไทยโดยเฉพาะในสื่ออนไลน์ เกิดเสียงแตกกับการปรากฏขึ้นของอเทวรูปดังกล่าวที่ขณะนี้ได้ถูกนำมาติดตั้ง ณ บริเวณหัวมุมถนนสี่แยกลาดพร้าว-รัชดา ด้วยในช่วงที่ผ่านมามีหลายข้อมูลได้นำเสนอผ่านสื่อไปก่อนหน้าว่า “ครูกายแก้ว” จริงๆแล้วเป็นใคร?

โดยเส้นทางของครูก่ายแก้ว ที่ถูกพูดถึงผ่านสื่อในเวลานี้ก็ถือว่าไม่ธรรมดา ด้วยถูกวางคอนเทนต์ สตอรี อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การแห่ขบวนอเทวรูปเข้าไปในพื้นที่ใจกลางเมืองหลวงกรุงเทพมหานคร ด้วยเรียกความสนใจจากทั้งในโลกออนกราวด์ และ ออนไลน์ไปได้พร้อมๆกัน

จากจุดนี้เรียกว่า “โปรดักส์” ชิ้นดังกล่าว ได้ถูกโปรโมทให้เป็นที่รู้จักในสังคมวงกว้างไปแล้ว  

แต่ก็มีเสียงแตกอยู่ใน้อยต่อการให้การยอมรับอเทวรูปนี้ ด้วยจิรายุทธ บอกว่าโดยส่วนตัวเห็นว่า รูปปั้นเคารพชิ้นอื่นๆ ที่มีมาก่อนหน้าตั้งแต่ ท้าวจตุคามรามเทพ ไอ้ไข่ พญานาค  หรือ ท้าวเวสสุวรรณ ฯลฯ จัดเป็น"สิ่ง" เคารพบูชาตามความเชื่อที่มีมาช้านานในชุมชนท้องถิ่นที่ให้การยอมรับอย่างยาวนานหลายชั่วอายุคน

ขณะที่ “ครูกายแก้ว” ถือเป็นของใหม่ ยังไม่มีใครรู้จัก แต่มีเรื่องราวเกิดขึ้นในช่วงปัจจุบัน และถูกนำเสนอให้เป็นที่รู้จักผ่านสื่อช่องทางต่างๆ จนเป็นกระแสเกิดขึ้น

ดังนั้น เมื่อโปรดักส์ ชิ้นนี้เป็นที่รู้จักแล้ว ก็ต้องยอมรับว่ามีบ้างที่ถูกจริตในกลุ่มผู้คนที่พร้อมจะเชื่อถือ ศรัทธา เปิดใจ และไปต่อกับอเทวรูปนี้ ที่ชักชวนให้กลุ่มเป้าหมายที่โดนใจหลั่งไหลเข้ามากราบไหว้สักการะบูชา จนทำให้สถานที่ติดตั้งครูกายแก้ว เป็นอีกหนึ่งระบบนิเวศ(ecosystem)ทางเศรษฐกิจ ได้

หรือ หากไปไกลกว่านั้น ก็สามารถสร้างเป็น Passive Income ให้กับสถานที่นั้นๆ ได้ เช่นเดียวกับ เทวาลัยพระพิฆเนศ บริเวณสี่แยกห้วยขวาง หรือ สถานที่ขอพรอื่นๆ ที่กระจายอยู่ทั่วไป ได้เช่นกัน

ขณะที่มีบางกลุ่มที่เห็นแล้วไม่สบายใจ จนกลายเป็นกระแสต่อต้านก็มีไม่น้อย ในเวลานี้

สุดท้ายเรื่องนี้จะจบลงด้วยรูปแบบไหน รูปปั้นครูกายแก้ว จะได้ไปต่อ หรือ พอแค่นี้ ด้วยหากยังเป็นกระแสอยู่ก็ยังต้องติดตามต่อไป

แต่อย่างไรเสียในตอนนี้ชื่อของ “ครูกายแก้ว” เรียกว่าประสบความสำเร็จในการสร้างแบรนดิงทางการตลาดไปแล้ว

 

 

 

TAGS: #ครูกายแก้ว #การตลาด #มูเตลู