วอนเร่งตั้งผู้ว่าการกฟผ.คนใหม่ หวั่นช่วงสูญญากาศกระทบนโยบาย

วอนเร่งตั้งผู้ว่าการกฟผ.คนใหม่ หวั่นช่วงสูญญากาศกระทบนโยบาย
‘บุญญนิตย์’ พร้อมส่งไม้ต่อผู้ว่ากฟผ.คนใหม่ จี้กกต.เคาะรายชื่อหลังค้างเติ่งมานาน ด้านบอร์ดกฟผ.ถกนัดพิเศษตั้งรักษาการชั่วคราวไปก่อน

นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร   ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)  เปิดเผยว่า วันนี้(21ส.ค.) จะทำงานเป็นวันสุดท้ายหลังเกษียณอายุ ซึ่งต้องยอมรับว่าขณะนี้ยังไม่ได้มีการแต่งตั้งผู้ว่ากฟผ.คนใหม่อย่างเป็นทางการ โดยอยากเรียกร้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) พิจารณาเห็นชอบโดยเร็ว เพราะที่ผ่านมาได้ผ่านกระบวนการสรรหาคัดเลือกตามระเบียบที่ถูกต้องโดยว่าที่ผู้ว่าการกฟผ.คนใหม่ที่ผ่านการคัดเลือกคือนายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ หากแต่งตั้งล่าช้าจะมีผลต่อการดำเนินนโยบายกฟผ.ในอนาคต  ที่ต้องการความต่อเนื่อง สามารถปรับตัวรับเทคโนโลยีใหม่ที่เปลี่ยนแปลงได้ 

อย่างไรก็ตามวันนี้คณะกรรมการกฟผ.(บอร์ดกฟผ.) ซึ่งมีนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน  เป็นประธาน จะพิจารณา แต่งตั้งรักษาการ ผู้ว่าการ กฟผ. เพื่อทำหน้าที่ในระหว่างรอการแต่งตั้ง ผู้ว่าการ คนใหม่  ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 54 ปี ที่จะมีตำแหน่งรักษาการผู้ว่ากฟผ.

ทั้งนี้การดำเนินนโยบายของกฟผ.ในอนาคต  จะเห็นว่ารูปแบบพลังงานของประเทศ ต้องเดินหน้าพลังงานสีเขียว พลังงานทดแทน แต่พลังงานแบบเก่าอย่างฟอสซิล ยังมีความจำเป็นต้องมี เพื่อเป็นพลังงานพื้นฐานหรือ back up ให้เกิดความมั่นคงและต้นทุนไม่แพง เนื่องจากในช่วง 5-10 ปี ราคาแบตเตอรี่เก็บสะสมพลังงานทดแทนยังมีราคาแพง ขณะที่พลังงานโซลาร์เซลหรือลม ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง

นอกจากนี้การปรับปรุงโรงไฟฟ้าเก่าเชื้อเพลิงฟอสซิล ยังมีความจำเป็น สำหรับการวางแผนพัฒนาประเทศ  ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทั้งรูปแบบ การติดตั้งเทคโนโลยีใหม่ลดการปลอดปล่อยคาร์บอนฯ และการดำเนินการในรูปแบบกักเก็บคาร์บอนหรือคาร์บอนแคปเจอร์ ซึ่ง กฟผ.ก็ได้ศึกษาเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง

สำหรับภาระหนี้จากการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ(เอฟที)ให้ประชาชน 1.5แสนล้านบาทนั้น ที่ผ่านมา กฟผ.ยอมให้ยืดระยะเวลาคืนหนี้ จาก 6 งวดเป็น 7 งวด  และไม่สามารถขยายเวลาการยืดจ่ายหนี้ได้อีก ถือเป็นฟ้างเส้นสุดท้าย เพราะจะกระทบหนักภาระทางการเงิน

“ เมื่อหมดภาระหน้าที่ผู้ว่าฯ ตน.ไม่ห่วงอะไรเพราะที่ผ่านมา ทั้งผู้บริหารและพนักงาน ได้มีการเตรียมพร้อมศึกษในช่วงการเปลี่ยนผ่านพลังงานมาโดยตลอด เพื่อให้เราสามารถตอบรับกับกระแสเทคโนโลยีใหม่ๆของโลก  นำระบบดิจิทัลมาใช้ ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผลิตพลังงานทดทน เช่น โซลาร์ลอยน้ำ เชื้อเพลิง ไฮโดรเจน.ระบบกริดไฟฟ้า โมเดิร์นไนเซชั่น ระบบคาร์บอนแคปเจอร์. ยานยนต์ไฟฟ้าหรืออีวี..การส่งเสริมการใช้พลังงานของประเทศเป็นต้น แต่ก็อยากให้การวางแผนพลังงานของประเทศดูถึงความมั่นคงและต้นทุนค่าไฟของประชาชนในอนาคต ควบคู่การลดก๊าซเรือนกระจกที่ต้องสมดุลกัน”

 

นายบุญญนิตย์  กล่าวว่า เดินหน้ารองรับเทคโนโลยีใหม่พลังงานสีเขียวอย่างต่อเนื่อง เช่น เขื่อนศรรี นครินทร์เตรียม ลงทุนสร้างโซลาร์โฟลทติ้ง หลังจากที่มีการดำเนินการระบบทดลองมาแล้ว และ ลงทุนสร้างบ้าน บ้านครินทร์ (KARIN) เป็นต้นแบบนวัตกรรมบ้านประหยัดพลังงาน รวบรวมเทคโนโลยีบริการพลังงานสีเขียวแบบครบวงจร เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนและภาคธุรกิจในการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดและการบริหารจัดการพลังงานผ่านประสบการณ์จริง ตอบโจทย์ความต้องการใช้พลังงานสะอาดที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality ของประเทศ

ทั้งนี้ได้ออกแบบตามหลักเกณฑ์บ้านเบอร์ 5 เน้นการพึ่งพาธรรมชาติตามหลัก  ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ด้วยแผงโซลาร์เซลล์ แบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน และนำเทคโนโลยีอัจฉริยะมาใช้บริหารจัดการพลังงานภายในบ้านอย่างครบวงจร  อาทิ ระบบบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ (ENZY Platform) ที่ กฟผ. พัฒนาขึ้น โดยมี AI Model ทำงานอยู่เบื้องหลัง เพื่อควบคุมและบริหารการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์และแบตเตอรี่ให้เหมาะสมกับการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ และติดตามปริมาณการใช้ไฟฟ้าในวันที่เข้าพักเพื่อสรุปเป็นรายงานการใช้พลังงาน (Energy Report) ให้ผู้เข้าพักได้รับรู้ถึงการใช้พลังงานภายในบ้าน รวมถึงมีเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Wallbox ให้บริการผู้เข้าพักที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้าอีกด้วย

 ปัจจุบัน กฟผ. ได้นำเทคโนโลยีนวัตกรรมพลังงานของบ้านครินทร์ ขยายสู่ธุรกิจ Smart Energy Solutions ทั้งในมหาวิทยาลัย สวนสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม หมู่บ้านจัดสรร อาคารสำนักงาน และโรงพยาบาล เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานไฟฟ้าสีเขียวในสังคม

 

TAGS: #ผู้ว่ากฟผ. #ฟอสซิล #ครินทร์ #พลังงานสีเขียว