การตลาดสุดแพรวพราว เบื้องหลังแคมเปญ ‘เบอร์เกอร์คิง’ ใช้ใจฟังลูกค้า อันไหนไม่ไหวอย่าฝืน

การตลาดสุดแพรวพราว  เบื้องหลังแคมเปญ ‘เบอร์เกอร์คิง’  ใช้ใจฟังลูกค้า อันไหนไม่ไหวอย่าฝืน
ในปี 2566 นี้ ‘เบอร์เกอร์คิง’ ประเทศไทย จะเป็นปีที่รายได้เติบโตกว่า 20% เทียบปีก่อน และโตกว่าช่วงก่อนโควิดถึง 10% ที่เป็นเช่นนั้น เพราะการฟังอินไซด์ของลูกค้าคนไทยให้ชัดก่อนเอาไปใส่ไว้ในแคมเปญการตลาด

‘ธนวรรธ ดำเนินทอง’ ผู้จัดการทั่วไป บริษัทเบอร์เกอร์คิง (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจร้านอาหารบริการด่วน (QSR) บอกว่าเฉพาะในช่วงเดือนกรกฎาคมในปีนี้ เพียงเดือนเดียว เบอร์เกอร์คิง ประเทศไทย สามารถทำยอดขายสูงสุด ‘นิวไฮ’ ในรอบกว่า20 ปีหลัง เบอร์เกอร์คิงเข้ามาทำตลาดในไทย ตั้งแต่ปี 2543  ภายใต้การนำเข้าแบรนด์ของบริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

ด้วยในช่วงเวลานั้น ‘เบอร์เกอร์คิง’ ได้เปิดตัวแคมเปญการตลาดบ้าพลังทั้งเมนู ‘เดอะ เรียล ชีส เบอร์เกอร์’ (The Real Cheese Burger) จัดหนักชีสทะลัก100 แผ่น ราคา109 บาท ออกมาเรียกความสนใจในสื่อโซเชียลแพลตฟอร์มต่างๆ

จนเกิดกระแสการสร้างคอนเทนต์ จากเหล่าอินฟลูเอ็นเซอร์ไปจนถึงคนทั่วไป ที่ต่างออกมารีวิวสินค้าฯ กันเป็นจำนวนมาก

แม้ว่าแคมเปญฯนี้จะอยู่มาได้ราวหนึ่งสัปดาห์ ก่อนถอดออกไปด้วยความห่วงใยทางด้านโภชนาการในเมนูสินค้าดังกล่าว ที่มีต่อผู้บริโภค   

แต่ถัดไปอีกเพียงสัปดาห์ในเดือนเดียวกัน ‘เบอร์เกอร์คิง’ ก็ออกมาเล่นกับคนดูใหม่ ด้วยการเปิดตัวโปรดักส์ เดอะ เรียล มีท เบอร์เกอร์ (The Real Meat Burger) มาเจาะสายเนื้อวัวล้วน ด้วยราคาเริ่มต้น 339 บาท แต่สามารถเพิ่มแพตตี้เนื้อขนาด 5 นิ้วได้ตามใจชอบ ตกชิ้นละ 100 บาท

อินไซด์ลูกค้า ทรงพลังเสมอ

ต่อเรื่องนี้ ‘ชนินทร์ นาคะรัตนากร’ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดดิจิทัล บริษัท เบอร์เกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าแนวคิดแคมเปญการตลาดทั้งสองเมนูดังกล่าว เพื่อตอกย้ำความเป็นเจ้าตลาดเมนูเบอร์เกอร์ของเบอร์เกอร์คิง และยังสร้างการระลึกถึง (remind)ให้ลูกค้ารู้ด้วยว่าสามารถสั่งแพตตี้เพิ่มในเบอร์เกอร์ได้ด้วย ที่สุดท้ายนำไปสู่กระแสไวรัล มาร์เก็ตติง บนสื่อสังคมออนไลน์ในเวลาต่อมา

“แคมเปญนี้ อาจจะยังไม่เรียกว่าเป็นเบสต์เคสของเบอร์เกอร์คิงระดับโกลบอล แต่ก็ถือว่าได้รับความสนใจอย่างมากจากบริษัทแม่และสื่อในต่างประเทศ รวมถึงยังสามารถสร้างฐานลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น 50%” ชนินทร์ กล่าว

จากนั้นในเดือนสิงหาคม เบอร์เกอร์เกอร์คิง ออกมาเปิดตัวอีกหนึ่งเมนูใหม่ ‘ไก่ทอดหาดใหญ่’ ในราคาเริ่มต้นชิ้นละ 49 บาท เพื่อขยายฐานผู้บริโภคกลุ่มใหม่ ที่เป็นฐานลูกค้าท้องถิ่นมากขึ้น และอยากเข้าไปอยู่ชิงส่วนแบ่งในตลาดคิวเอสอาร์ไก่ทอดด้วย

ล่าสุดในเดือนกันยายนนี้ ‘เบอร์เกอร์คิง’ ดึงเมนูยอดนิยมในอดีตอย่าง ‘แบล็ค แอนด์ พิงค์ เบอร์เกอร์’ (Black and Pink Burger) กลับมาขายใหม่ เพื่อสร้างสีสันในตลาดเบอรฺเกอร์ พร้อมตอกย้ำตัวตนของเบอร์เกอร์คิง ที่มีเมนูตัวตึงอย่าง ‘วอปเปอร์ จูเนียร์’ ที่จะมาในร่างของขนมปังบันสีดำ เลือกได้ทั้งเนิ้อหมูและเนื้อวัว พร้อมซอสพริกไทดำ ราคา 149 บาท

และ ‘พิงค์ ฟิช เบเกอร์’ เบเกอร์สีชมพู มาพร้อมปลาอลาสกาพอลล็อค ทอด และชีสราดด้วยซอสค้อกเทลซีฟู้ดสูตรพิเศษ ในราคา 79 บาท ออกมาสร้างสีสันในวงการตลาดคิวเอสอาร์ ล่าสุด

นอกจากนี้ เบอร์เกอร์คิง ยังเตรียมแผนเปิดตัวเมนูและแคมเปญการตลาดใหม่ครั้งสุดท้ายของปี 2566 นี้เพื่อร่วมเฉลิอมฉลองในเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ในปลายปีนี้ด้วยเช่นกัน

โดยตลอดทั้งปี 2566 นี้ เบอร์เกอร์คิง จะออกแคมเปญใหญ่ราว 60 ครั้ง และแคมเปญย่อย 20 เมนูใหม่ จากปัจจุบันกลุ่มลูกค้าเข้ามาใช้บริการต่อใบเสร็จเฉลี่ย 200 บาทต่อคนต่อครั้ง  

เก็บข้อมูลรับมือลูกค้าอนาคต

อย่างไรก็ตาม กว่าจะได้เห็นแต่ละแคมเปญของเบอร์เกอร์คิงก่อนปล่อยสู่ตตลาดนั้น ‘เจริญชัย บำรุงวงศ์ทอง’ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เบอร์เกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด  กล่าวว่าในทุกๆแคมเปญของเบอร์เกอร์คิง รวมถึงเมนูล่าสุดที่นำกลับมาทำตลาดใหม่อย่าง ‘แบล็ค แอนด์ พิงค์ เบอร์เกอร์’ นั้น ส่วนสำคัญ คือ การรับฟังความต้องการเชิงลึกของลูกค้าเบอร์เกอร์คิง ว่าชื่นชอบอะไร และ ไม่ชอบสิ่งไหน

อย่างพบว่า ลูกค้าคนไทยจะเป็นสายชีสเลิฟเวอร์ เราก็นำตัวชีสมาพัฒนาเป็นสินค้า จากนั้นเข้าไปสื่อสารการตลาดในช่องทางออนไลน์ก่อนจนประสบความความสำเร็จและเป็นที่ตอบรับแล้ว จึงนำกลับมาพัฒนาเป็นแคมเปญออกมา ซึ่งยังได้นำหลักการนี้ไปใช้ร่วมกับการพัฒนาดเมนูและแคมเปญอื่นๆในแต่ละช่วงของเบอร์เกอร์คิง อีกด้วย

ขณะที่กลยุทธ์หลัการทำตลาดเบอร์เกอร์คิงในปี2566 ยังเป็นการทำตลาดควบคู่ทั้งในช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ หรือ ออมนิ-ชาแนล (Omni-Channel) ด้วยเป็นไปตามพฤติกรรมของผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ ที่มีความหลากหลายและแตกกระจายมากขึ้น

และมองว่าในอีก 2-3 ปีข้างหน้าผู้บริโภคจะยิ่งแตกกะจายยิ่งขึ้นไปอีก ทำให้เบอร์เกอร์คิงต้องเร่งเก็บข้อมูลให้ได้มากที่สุด เพื่อให้สามารถเสียบเข้า(Plug-in)กับการทำตลาดที่จะเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้

ไม่ไหวอย่าฝืน รีบจบแล้วไปต่อ

ธนวรรธ กล่าวเสริมว่า “แน่นอนว่าในบางแคมเปญ หากมีชิ้นไหนที่ลองทำแล้วไม่เวิร์ค ก็ต้องรีบมูฟออนให้เร็ว เพื่อไปต่อใหม่ให้ไว เช่นกัน”

จากแนวทางดังกล่าว ผลักดันให้ใน 9 เดือนแรกของปีนี้ เบอร์เกอร์คิง มีอัตราเติบโตไปแล้ว 20% พร้อมวางเป้าหมายรายได้โตในแต่ละเดือนที่จะมาจากการออกสินค้าเมนูใหม่/แคมเปญใหญ่ในแต่ละช่วงออกมากระตุ้นการขาย

โดยเบอร์เกอร์คิง ยังมียอดขายที่แข็งแกร่งมาจากกลุ่มสินค้าเบอร์เกอร์สัดส่วน 70-80% และ สัดส่วนที่เหลือ มาจากนอน-เบอร์เกอร์ 20% และอีก 10% มาจากกลุ่ม เมนูไก่  ข้าว เป็นต้น

ขณะที่ช่องทางขายหลักมาจาก การรับประทานในร้านสัดส่วน 80-90% และที่เหลืออีก 10-20% มาจากการซื้อกลับ(Take Away) บริการรับด้วยตัวเอง (Self Pick-Up) และ จัดส่งอาหาร (Delivery)  

นอกจากนี้ ในช่วงปีที่ผ่านมา เบอร์เกอร์คิง มีอัตราการเติบโตในช่องทางแอปพลิดคชันมากที่สุด รวมถึงในช่องทางแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่างๆ โดยมีสัดส่วนรายได้จากช่องทางดิจิทัล 30-40% และ ร้านสาขา 60-70%  

 

TAGS: #เบอร์เกอร์คิง #BurgerKing #เบอร์เกอร์ #ตลาดQSR