ส่งออกไทยยังน่าห่วงแม้พลิกบวกเดือนแรกเชื่อปีนี้ติดลบ 2.5 %

ส่งออกไทยยังน่าห่วงแม้พลิกบวกเดือนแรกเชื่อปีนี้ติดลบ 2.5 %
ศูนย์วิจัยกสิกรฯมองส่งออกไทยปีนี้ยังติดลบ เผชิญปัจจัยท้าทาย เศรษฐกิจโลกชะลอ ค่าเงินผันผวน เอลนิโญฃขณะที่ตลาดจีนยังอ่อนแอกว่าที่คาด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประเมินภาพรวมการส่งออกของไทยแม้ในเดือนสิงหาคม 2566 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 11 เดือนที่ 2.6% เหนือความคาดหมายจากตลาดคู่ค้าสำคัญในขยายตัวได้ในหลายประเทศ ในกลุ่มเกษตรและอุตหกรรมที่เติบโตเป็นสำคัญแต่อุปสงค์จากตลาดจีนที่แสดงความอ่อนแอมากกว่าคาดการณ์ในช่วงที่ผ่านมา

ทั้งนี้ในช่วงที่เหลือของปี 2566 ยังมีอีกหลายปัจจัยท้าทายที่อาจเข้ามากระทบการส่งออกไทย เช่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความผันผวนของค่าเงิน สภาพอากาศที่แปรปรวน ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์

ดังนั้นภาพรวมการส่งออกของไทยในปี 2566 จะหดตัวที่-2.5% ลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า นอกจากนี้ ในระยะข้างหน้าการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยอาจยังต้องเผชิญกับปัจจัยท้าทายจากของผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนีโญที่เข้มข้นขึ้นซึ่งยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามต่อไป

อย่างไรก็ตามการส่งออกของไทยในเดือนสิงหาคม ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 11 เดือน แม้ภาคการผลิตทั่วโลกยังอยู่ในภาวะการชะลอตัวสะท้อนผ่านดัชนี ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของหลายประเทศเศรษฐกิจสำคัญยังอยู่ในภาวะหดตัว เช่น สหรัฐฯ ยูโร โซน ญี่ปุ่น เป็ นต้น โดยปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกไทยให้ขยายตัวได้ในเดือนสิงหาคม 2566 มาจากการส่งออกสินค้าไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญขยายตัวได้ในหลายประเทศ ดังนี้

ตลาดสหรัฐฯขยายตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ที่21.7%(YoY) โดยเติบโตในกลุ่มสินค้าที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตในรูปแบบพึ่งพาเทคโนโลยีและให้ ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ได้แก่ ส่วนประกอบโทรศัพท์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ

เช่นเดียวกับการส่งออก ไทยไปตลาดจีนและญี่ปุ่นที่กลับมาขยายตัวได้ในเดือนนี้ โดยจีนยังคงเป็นตลาดสำคัญในการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยโดยเฉพาะผลไม้อาทิ ทุเรียน และมังคุด และญี่ปุ่นยังคงมีความต้องการในสินค้าในกลุ่มชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์อย่างแผงวงจรไฟฟ้าและรถยนต์ที่ยังเติบโตในเดือนนี้

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีมุมมองว่า แม้การส่งออกของไทยจะสามารถกลับมาขยายตัวได้ในเดือนสิงหาคม 2566 รวมถึงยังมีโอกาสที่อาจเห็นภาพการส่งออกไทยในไตรมาสที่ 4/2566 ขยายตัวได้ เนื่องจากปัจจัยฐานที่อยู่ในระดับต่ำของปีก่อนหน้า แต่อุปสงค์จากตลาดจีนที่ก่อนหน้านี้เคยถูกตั้งความหวังว่า จะเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญของการส่งออกไทยกลับแสดงความอ่อนแอมากกว่าที่คาดการณ์ในช่วงที่ผ่านมา

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงมีมุมองว่า ภาพรวมการส่งออกของไทยในปี 2566 จะหดตัวที่ -2.5%(YoY) ลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า ในช่วงที่เหลือของปี 2566 ยังคงมี หลายปัจจัยท้าทายรออยู่ เช่น การชะลอตัวของ เศรษฐกิจโลก ภัยแล้ง โดยการส่งออกไทยไปจีนใน 8 เดือนแรกของปี 2566 หดตัวอยู่ที่ -3.0%(YoY) เป็นผลจากการส่งออกสินค้าขั้นกลาง เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ที่ลดลงอีกทั้ง ในช่วงที่เหลือของปี2566 ยังมีอีกหลายปัจจัยท้าทายที่อาจเข้ามากระทบการส่งออกไทย อาทิ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความผันผวน ของค่าเงิน สภาพอากาศที่แปรปรวน ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์

นอกจากนี้ ในระยะข้างหน้าการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยอาจยังต้องเผชิญกับปัจจัยท้าทายจาก ของผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนีโญที่เข้มข้นขึ้น โดยเมื่อมองย้อนกลับไป 10 ปีที่ผ่านมาหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงไทยได้เผชิญกับภัยแล้งขั้นรุนแรงอันเป็นผลจากปรากฎการณ์ซุปเปอร์เอลนีโญ (Super Strong EI Niño) ในปี 2558/2559 และสร้างความเสียหายให้แก่ผลผลิตทางการเกษตรของไทย เช่น ข้าว มันส าปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และกดดันให้มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยในช่วงเวลาดังกล่าวลดลง

ทั้งนี้ผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรไทยในปี 2566 จากปรากฎการณ์เอลนีโญคงจะไม่รุนแรงเท่ากับปี 2558/2559 เนื่องจากหลายปัจจัยประกอบกัน ดังนี้1. ผลกระทบจากเอลนีโญยังมีจำกัดเนื่องจากเพิ่งเข้าสู่รอบ วงจรเอลนีโญ ผลผลิตจึงยังมีเพียงพอทั้งการบริโภคในประเทศและส่งออก

2. ต้นทุนน้ำสะสมที่ยังมีปริมาณ เพียงพอในการเพาะปลูกจากปริมาณน้ำฝนและน้ำในเขื่อนช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 อยู่ในระดับดี โดยส่วน หนึ่งเป็นผลจากปรากฎการณ์ลานีญาในปี ก่อนหน้า

 และ 3. สินค้าเกษตรหลายรายการของไทยยังเป็ นที่ ต้องการในตลาดโลก โดยจีนยังเป็นตลาดสำคัญในการส่งออกผลไม้ของไทย และอานิสงส์จากการจำกัดการ ส่งออกข้าวบางประเภทของอินเดียซึ่งอาจส่งผลให้อุปทานในตลาดโลกตึงตัวและราคาปรับเพิ่มขึ้น และเป็นผลดีต่อการส่งออกสินค้าในกลุ่มดังกล่าวของไทย

อย่างไรก็ดีแม้ภาพรวมการส่งออกสินค้าเกษตรไทยในปี 2566 อาจยังไม่ได้รับแรงกดดันจากเอลนีโญอย่างมีนัยส าคัญ แต่ในไตรมาสที่ 4/2566 ผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปรปรวนจะมีมากขึ้น โดยเฉพาะฝนที่จะทิ้งช่วงนานขึ้นและเอลนีโญที่อาจยกระดับความรุนแรงและ ยืดเยื้อไปจนถึงปี 2567 ก็คงจะกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรให้ลดลง ประกอบกับปัจจัยด้านราคาที่ยังคงมีความผันผวนก็อาจจะกดดันมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยในระยะต่อไปได้ซึ่งยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม

TAGS: #ส่งออก #เอลนีโญ #ค่าเงินบาท