‘ภูมิธรรม’นั่งหัวโต๊ะบอร์ดอีอีซีนัดแรก เคาะแผนขับเคลื่อนการลงทุน 8 ด้าน มุ่ง 5 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เชื่อมประโยชน์การลงทุนในพื้นที่
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(กพอ.)หรือ บอร์ดอีอีซี ซึ่งเป็นการประชุมนัดแรกของรัฐบาลชุดนี้ ว่าที่ประชุมได้พิจารณาร่างแผนดําเนินการในระยะ 1 ปี (ต.ค.66 - ก.ย.67) และเป้าหมายเร่งด่วนภายใน 99 วัน ลงมือทําจริง เพื่อดึงดูดเงินลงทุนทั่วโลกผ่านอุตสาหกรรมเป้าหมาย ใน 5 คลัสเตอร์หลัก (การแพทย์ ดิจิทัล ยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) BCG บริการ) ซึ่งสอดคล้องตามนโยบายหลักของรัฐบาล เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ที่ยั่งยืน เพิ่มความสามารถการแข่งขันของ ประเทศให้ทัดเทียมนานาชาติ ทั้งนี้ เป้าหมายเร่งด่วนใน 99 วัน ของอีอีซี แบ่งออกเป็น 8 ด้าน โดยมีรายละเอียดที่สําคัญ ๆ ดังนี้
1.ด้านนโยบาย เดือนธันวาคม 2566 จัดทําแผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (2566 – 2570) ซึ่งจะเป็นกรอบดําเนินงานหลักของอีอีซี บูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ มุ่งเน้นการพัฒนาเชิงพื้นที่ในทุกมิติ ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยแนวทางพัฒนา 5 ด้าน ได้แก่ 1. ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต 2. เพิ่มประสิทธิภาพ และการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค 3. ยกระดับทักษะแรงงานให้พร้อมต่อการ เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและนวัตกรรม 4. พัฒนาเมืองให้มีความทันสมัย น่าอยู่อาศัยและเหมาะสมกับการประกอบอาชีพ และ 5.เชื่อมโยงประโยชน์จากการลงทุนสู่ความยั่งยืนของชุมชน
2.ด้านการพัฒนาสิทธิประโยชน์เพื่อดึงดูดการลงทุนสร้างความพร้อมให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในพื้นที่อีอีซี โดยเดือนธันวาคม 2566 อีอีซี จะออกประกาศ กพอ. เรื่อง สิทธิประโยชน์สําหรับผู้ประกอบการกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อดึงดูดการลงทุนในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ครอบคลุมด้านภาษี และมิใช่ภาษี เพื่ออํานวยความสะดวกนักลงทุน เช่น สิทธิในการได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากร สิทธิ การถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือห้องชุด รวมไปถึงการอนุญาตอยู่อาศัยในระยะยาว (EEC Long term VISA) เป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้ประกอบการกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ และทํางานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ อาทิ ผู้มีความ เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร ผู้ชํานาญการ ตลอดจนคู่สมรสและบุคคลซึ่งอยู่ในอุปการะ เป็นต้น
3. ด้านการสร้างระบบนิเวศสําหรับการลงทุน ในเดือนมกราคม 2567 จะพัฒนาแหล่งระดมทุนอีอีซี (EEC Fundraising Venue) รองรับการระดมทุนที่ใช้เงินตรา ต่างประเทศเป็นหลัก โดยเริ่มจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ให้ผู้ระดมทุนทั้งบริษัทไทยและต่างประเทศ ที่ใช้เงินตราต่างประเทศ มีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น รวมถึงเพิ่มโอกาสให้แก่บริษัทไทยที่ไป จดทะเบียนในต่างประเทศให้มีทางเลือกในการระดมทุนมากขึ้น และจะเป็นการเพิ่มเครื่องมือทางการเงินที่แตกต่างให้กับผลู้งทนุในตลาดได้
4. ด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน จะได้ข้อยุติการเจรจาและแนวทางที่ชัดเจนในการดําเนินโครงการฯ ระหว่าง รฟท. และ เอกชนคู่สัญญาร่วมลงทุน (บริษัทเอเชีย เอรา วัน จํากัด) ส่วนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการ บินภาคตะวันออก ภายในเดือนมกราคม 2567 เอกชนคู่สัญญาจะพร้อมเริ่มก่อสร้าง อย่างเป็นทางการ
5. ด้านการจัดให้มีบริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จครบวงจรเดือนธันวาคม 2566 จะยกระดับการให้บริการอนุมัติ อนุญาต จํานวน 44 รายการ ครอบคลุม 8 กฏหมาย ตาม พรบ.อีอีซี ได้แก่ กฏหมายว่าด้วย การขุดดินและถมดิน การควบคุมอาคาร การจดทะเบียนเครื่องจักร การสาธารณสุข คนเข้าเมือง การจดทะเบียนพาณิชย์ โรงงาน และการจัดสรรที่ดิน โดยจะเพิ่มการพัฒนาระบบให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์ สําหรับผู้ประกอบการกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเชน่ สิทธิในการได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรซึ่งจะทําให้พื้นที่ อีอซีีเปน็เป้าหมายของนักลงทุนทั่วโลก
นอกจากนี้อีอีซี ยังได้บูรณาการร่วมกับภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะด้านการพัฒนาบุคลากร เพื่อเตรียมกําลังคนรองรับ การลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักแต่ละด้านที่จะมาเป็นแต้มต่อ ทําให้นักลงทุนตัดสินใจเลือกเข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศ ไทย ซึ่งในปัจจุบัน อีอีซี ได้เชื่อมความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา ผู้ประกอบการชั้นนํา ผ่านกลไกขับเคลื่อน 12 ศูนย์เชี่ยวชาญ พัฒนาบุคลากร เพื่อเป็นฐานเรียนรู้หลัก จัดฝึกอบรมพัฒนาทักษะใหม่ที่จําเป็นและตรงกับความต้องการอุตสาหกรรม เช่น ด้านยานยนต์ไฟฟ้า ด้านดิจิทัล เป็นต้น
6. ด้านการพัฒนาพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษได้ จัดตั้งศูนย์ธุรกิจอีอีซีและเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะเป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ มีพื้นที่พัฒนาระยะที่ 1 ประมาณ 5,795 ไร่ จากพื้นที่รวมทั้งโครงการ ประมาณ 14,619 ไร่ ทั้งนี้ การจัดตั้งเป็นเขตส่งเสริม เศรษฐกิจพิเศษ เพื่อรองรับการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมอุตสาหกรรม เป้าหมาย อาทิ การแพทย์และสุขภาพครบวงจร การพัฒนาบุคลากรและการศึกษา ดิจิทัล การบินและโลจิสติกส์ เป็นต้น
7.ด้านการเริ่มต้นการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษเตรียมลงนามสัญญาเช่าพื้นที่ภายในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล EECd ได้แก่ บริษัท CtrlS Datacenter ผู้ประกอบการชั้นนําระดับโลก จากประเทศอินเดีย เช่าพื้นที่ 25 ไร่ ระยะเวลา 50 ปี เพื่อลงทุน ศูนย์ ธุรกิจข้อมูล (Data Center) มูลค่าโครงการรวมกว่า 4,500 ล้านบาท รวมทั้งจะมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการฝึกอบรม เกี่ยวกับ Cloud Service ด้านการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เช่าพื้นที่ 5 ไร่ ระยะเวลา 20 ปี ลงทุนประกอบกิจการ สถานี ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV Charging Station ให้บริการรองรับรถขนส่งขนาดใหญ่ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมระบบโลจิสติกส์การขนส่ง ในพื้นที่ EEC และบริษัท ALBA จากประเทศเยอรมนี มีความประสงค์เช่าพื้นที่ เพื่อดําเนินโครงการต้นแบบดิจิทัลแพลตฟอร์มและ ศูนย์ควบคุมการรีไซเคิล ซากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการลงทุนโครงการกว่า 1,300 ล้านบาท
8. ด้านการสร้างความเข้มแข็งของพื้นที่และชุมชน ต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยชุมชน วิสาหกิจชุมชน และกิจการเพื่อสังคมในพื้นที่อีอีซี ให้ได้รับการ รับรองเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบ (EEC Select) สนับสนุนการสร้างแนวคิดเชิงธุรกิจอย่างเป็นระบบ และได้รับการส่งเสริม และพัฒนาช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น โดยเดือนมกราคม 2567 จัดตั้งศูนย์เครือข่ายพลังสตรี EEC ระดับจังหวัดและระดับอําเภอ เพื่อเป็นศูนย์การสร้างความเข้าใจ และประโยชน์อีอีซี