CBS จุฬาฯ รับมือ AI -ChatGPT เขย่าตลาดการศึกษาโลก ปรับตัวโรงเรียนบริหารธุรกิจฯรับมือคนรุ่นใหม่เป็นเจ้าของกิจการตั้งแต่วัยรุ่น ต้องสร้างเครือข่ายส่วนตัวเชื่อมโยงระดับนานาชาติ
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วง3 ปีที่ผ่านมา (2019-2022) ตัวเร่งพฤติกรรมผู้คนให้ใกล้ชิดกับเทคโนโลยีมากขึ้น ตัวแปรหลักที่เข้ามา Disruption การเรียนการสอนตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งยังไม่นับรวมความอัจฉริยะของ ChatGPT ที่เข้ามาเขย่าโลกการศึกษาให้ตื่นตะลึง จากการดึงข้อมูลรอบด้านในโลกอินเทอร์เน็ตมาช่วยเขียนบทความ ไปจนถึงขั้นทำวิทยานิพนธ์ให้กับผู้เรียน ที่สร้างความกังวลใจไม่น้อยให้กับสถาบันการศึกษาในอนาคต ว่าจะปรับตัวเพื่อรับมือและไปต่อ หรือ จะยอมให้หลุมดำของเทคโนโลยีดูดกลืน
ต่อเรื่องนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CBS) กล่าวว่า สถานการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้น ยังเป็นตัวเร่งสำคัญของการปรับตัวในตลาดการศึกษาของโลกและในไทย โดยคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CBS) ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อรองรับความต้องการในตลาดอย่างต่อเนื่อง ถึงปัจจุบันคณะพาณิชยศาสตร์ฯ มีอายุนานร่วม 85 ปี
โดย CBS ได้เตรียมความพร้อมพัฒนาศักยภาพด้านบริหารธุรกิจให้กับประเทศ (A World – class business school perceived as the flagship for life) ในฐานะผู้นำด้านโรงเรียนสอนธุรกิจ (Business School) และผลิตบุคลากรด้านการศึกษาภาคธุรกิจที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก
ทั้งนี้ CBS ยังได้นำกลยุทธ์ SHIFT Segmentation by insight : การแบ่งส่วนตลาดใหม่ ตาม Insight ของคนในช่วงเวลานี้ เพื่อวิเคราะห์หากลุ่มลูกค้าที่ยังเป็นแหล่งรายได้ ซึ่งจากนี้ไปการวัดพฤติกรรมของผู้บริโภคจะไม่ได้แบ่งตามอายุ เพศ วัย รายได้ การศึกษาอีกต่อไป
แต่จะดูจากความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก เช่น ในธุรกิจการศึกษา การเปิดหลักสูตร MBA ไม่ได้เจาะจงกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่นเท่านั้น แต่เปิดกว้างให้ทุกเพศ วัย สามารถมาเรียนด้วยกันได้ ดังนี้
Holistic Marketing : มีมุมมองในภาพรวม เห็นผลกระทบจากปัจจัยทั้งหมด ทั้งออฟไลน์และออนไลน์
Digital Identity : มีเอกลักษณ์ให้คนจดจำ โดยเฉพาะอัตลักษณ์บนโลกดิจิทัล เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง
Flick Strategy Sudden sharp movement: ต้องปรับตัว เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและชาญฉลาด สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทันที
Turning Point: หาจุดที่ทำให้ธุรกิจได้ไปต่อ พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ผสมผสานของเก่าที่มีคุณค่าอยู่แล้ว เพิ่มเติมของใหม่ที่ตรงกับความต้องการของยุคปัจจุบัน
รองศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ขยายความว่า “จำนวนผู้เรียน หรือ นักศึกษา ที่หายไปในช่วงโควิด คือ เทิร์นนิง พอยต์ ของตลาดการศึกษาช่วงที่ผ่านมา ขณะเดียวกันก็มองเห็นโอกาสใหม่ๆเกิดขึ้นพร้อมกันคือ การเติบโตของธุรกิจออนไลน์ โดยสิ่งที่น่าสนใจ คือ เจ้าของธุรกิจต่างเป็นคนรุ่นใหม่ อายุน้อย ที่ CBS มองแล้วว่ากลุ่มคนเหล่านี้ เมื่อเข้ามาเรียนในระบบอุดมศึกษา ก็มัจะมาพร้อมมธุรกิจของตัวเองติดมือมาด้วยตั้งแต่ชั้นปีที่หนึ่ง”
ดังนั้น CBS เตรียมพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนสอนธุรกิจอินเตอร์เนชันแนล เพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมายที่รวมไปถึงนักศึกษาต่างชาติที่จะเข้ามาเรียนในไทยด้วยเช่นกัน โดยวางเป้าหมายจากนี้ไปไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า CBS จะดำเนินการเรียนการสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษได้100% ด้วยแนวทางการปรับรูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวยังจะเข้ามาเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนให้เกิดความคุ้นเคยได้ตั้งแต่ระดับต้นๆ และยังต่อยอดในอนาคตอีกด้วย
“ส่วนการเข้ามาของ Chat GPT ที่อาจเข้ามาดิสรัปต์วงการศึกษานั้น อาจต้องย้อนถามกลับไปยังตัวผู้สอนเองด้วยถึงความฉลาดและทันสมัยทันกับตัวผู้เรียนหรือไม่? เพื่อป้องกันไม่ให้นักเรียน นักศึกษาหลอกได้เช่นกัน ด้วยการออกแบบรายวิชาหรือข้อสอบที่มีความลึกกว่าที่อัลกอรึธึมของแชทจีพีที จะดึงข้อมูลออกมาประมวลผลได้ รวมไปถึงการใช้จุดต่างอย่างด้านอารมณ์ อีโมชันนัล มาร่วมออกแบบในการเรียนการสอนการทำธุรกิจ ที่ Chat PPT ยังไม่สามารถทำได้เช่นกัน” รองศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ กล่าว
พร้อมทิ้งท้ายถึงภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2023 เป็นปีที่ทุกอย่างกำลังจะกลับมาเป็นปกติมากขึ้น ธุรกิจที่เคยได้รับผลกระทบจากโควิดกำลังจะกลับมาพลิกฟื้น ส่วนธุรกิจที่ได้รับการตอบรับในช่วงโควิดจากที่เคยเติบโตมากก็จะกลับมาเติบโตแบบปกติ ซึ่งในบางธุรกิจอาจต้องได้รับการเยียวยาจากบาดแผลโควิดด้วยกลยุทธ์ Flick Strategy Sudden sharp movement คือ การ Agile ปรับตัว ให้อยู่รอดอย่างรวดเร็ว
ขณะที่ ธุรกิจสุขภาพ Wellness จะเติบโตมากขึ้น รองรับความต้องการของผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ส่งผลเป็นลูกโซ่ยังธุรกิจที่เกี่ยวข้องตามมาให้ติบโตแบบก้าวกระโดด ส่วนธุรกิจการเงิน ผู้คนจะเริ่มตระหนักและให้ความสำคัญกับการวางแผนการเงินมากขึ้น ทำให้เกิดบริการการเงินใหม่ๆมากมาย
และเมื่อสถานการณ์เริ่มกลับเข้าสู่ภ่วะการณ์ออนไซต์ (Onsite) มากขึ้นเรื่อยๆ ผู้คนมีความเชื่อมั่น ส่งผลบวกต่อการเดินทางท่องเที่ยวงดีขึ้นตามมา ธุรกิจโรงแรมฟื้นตัวดีขึ้นท่ามกลางโมเดลบริหารใหม่มาตรฐานใหม่มีความปลอดภัยสุขอนามัยที่ดี
สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้คนยุคหลังโควิด ที่คุ้นชินกับดิจิตอล ออนไลน์ รูปแบบต่างๆ ทั้งการซื้อของออนไลน์ การประชุมออนไลน์ ฯลฯ ส่งผลให้บางธุรกิจเติบโตจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้จะกลับมาปกติ แต่การซื้อของออนไลน์ที่สะดวกยังคงได้รับความสนใจ ปัจจัยหลักที่ทำให้ทุกภาคธุรกิจองค์กร ต้องเร่งปรับตัวตามเช่นกัน
อ่านเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
'บิ๊กเทคจีน' โดดลงสมรภูมิแชทบอทปัญญาประดิษฐ์ 'ท้าชน ChatGPT'
บิล เกตส์ เชื่ออนาคต ChatGPT จะมีบทบาททุกบริษัท ตั้งแต่งานเอกสาร ยันเขียนจดหมายรายงานประชุม
แชทบอท 'Bard AI' ตอบคำถามพลาด ทำหุ้น Google ดิ่ง 100,000 ล้านเหรียญ
'Google-Baidu'เล็งเปิดตัวAIแชทบอท ท้าชนChatGPT
ChatGPT เปิดฟีเจอร์ใหม่ใช้ AI ตรวจสอบงานเขียน AI ด้วยกันเอง