หลังจาก AIS ผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของไทย ลงทุนธุรกิจไปกว่า 1 ล้านล้านบาท ตลอด 34ปีที่ผ่านมา พร้อมเปลี่ยนผ่านการทำธุรกิจบนความท้าทายใหม่ กับเป้าหมายมีรายได้และกำไรให้เติบโต มากกว่าจีดีพีไทย
สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส (AIS) เผยวิสัยทัศน์องค์กรได้เปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นองค์กรเทคโนโลยีโทรคมนาคมอัจฉริยะ (Cognitive Tech-Co) ภายใต้แนวคิด Sustainable Nation ที่มุ่งสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศไทยบน ECOSYSTEM ECONOMY ทั้ง ผู้คน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ในโลกดิจิทัลภายใต้
โดย AIS เตรียมใช้งบลงทุนต่อเนื่องปีละไม่ต่ำกว่า 2-3 หมื่นล้านบาทต่อปี เพื่อขยายการทำธุรกิจ จากในช่วงตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา เอไอเอส ใช้งบลงทุนไปไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านบาท ในการขยายโครงสร้างพื้นฐานบริการโทรคมนาคม
สะท้อนถึงในปัจจุบัน AIS ได้มีส่วนร่วมผลักดันในด้านต่าง ๆ ทั้งการเข้าถึงบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ราวมากกว่า 85% ของประชากรปะเทศ ครัวเรือนไทยมีสัดส่วน 50%เข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตบ้านความเร็วสูง (Home Fibre Broadband) รวมถึงการมีส่วนร่วม ทั้งการสร้างโอกาสจากตลาดอีคอมเมิร์ซได้ไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท และผู้สร้างสรรค์(ครีเอเตอร์) ด้านต่างๆ กว่า 2 ล้านราย
ขณะที่แนวทางของAIS จากนี้ไปจะมุ่งการเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกับเศรษฐกิจของประเทศไทย ต่อยอดจากยุทธศาสตร์ เอไอเอส อีโคซิสเต็ม อีโคโนมี (AIS Ecosystem Economy) ประกอบด้วย โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Digital Infrastructure) ผู้คนและความยั่งยืน (People & Sustainability) และ ความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างอุตสาหกรรม (Cross Industry Collaboration) เพื่อไปสู่การวิวัฒน์ครั้งใหม่ของโลกดิจิทัล THE NEXT EVOLUTION พร้อมมีส่วนร่วมผลักดันประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ให้เติบโตและยั่งยืน
โดยเฉพาะ ความร่วมมือระหว่างพันธมิตรข้ามอุตสาหกรรม เพื่อให้บริการในกลุ่มลูกค้าองค์กรซึ่งจะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของ AIS ในอนาคต ที่ผลักดันให้มีรายได้และกำไรจากการให้บริการในธุรกิจใหม่ๆ เพิ่มขึ้นในอนาคต นอกเหนือจากรายได้ธุรกิจหลัก การเป็นผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมและและ ดาต้า (Data) เหมือนเช่นในอดีต ที่ผ่านมา
ล่าสุด AIS ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ NT บนคลื่น 700 MHz เพื่อให้ลูกค้า NT และ AIS ได้รับคุณภาพการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพร่วมกัน รวมไปถึงยกระดับการพัฒนา Living Network หรือ เครือข่ายที่มีชีวิต ทำได้มากกว่าการสื่อสาร โดยให้ลูกค้า ป็นผู้ควบคุม พร้อมออกแบบการใช้งานบน Data ได้ตามไลฟ์สไตล์ พร้อมให้บริการในเดือนธันวาคม 2566 นี้
นอกจากนี้ ยังจะเปิดตัวเทคโนโลยีล่าสุด WiFi 7 เป็นรายแรกในไทย ร่วมกับ TP-Link ที่มาพร้อมเราน์เตอร์มาตรฐาน WiFi 7 สามารถรองรับดีไวซ์ (Device) ให้เชื่อมต่อได้ ลดปัญหาช่องสัญญาณที่แออัด ทำให้ใช้งานได้ไหลลื่น รองรับการสตรีมแบบวีดีโอแบบ 8K การใช้งาน VR ที่ตอบโจทย์ทุกคนในบ้านได้อย่างครบถ้วน
ขณะเดียวกัน AIS ยังทำงานร่วมกับ ZTE เปิดตัวบริการ Cloud PC for Enterprise ให้องค์กรสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในรูปแบบ Desktop as a Service (DaaS) บนระบบคลาวด์ที่จัดสรรได้ตามความเหมาะสมบนความปลอดภัยสูงสุดในการเก็บข้อมูล
นอกจากนี้ยังร่วมมือกับไมโครซอฟต์ ครั้งแรกในภูมิภาคเอชัยตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้บริการ Microsoft Teams Phone ช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการระบบสื่อสารได้อย่างสะดวก ปลอดภัย ประหยัดต้นทุน โดยพนักงานสามารถโทรออกไปยังเบอร์ภายนอกและรับสายได้ผ่าน Microsoft Teams ที่คุ้นเคย รวมไปถึงการนำสุดยอดนวัตกรรม genAI ที่จะมาช่วยยกระดับการทำงานของโลกยุคใหม่
สมชัย กล่าวว่า “แนวทางดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งที่จะผลักดันให้ธุรกิจเติบโตเกินสองหลักได้ในอนาคต ซึ่งถือเป็นความท้าทายอย่างมากต่อการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ โดยในจุดนี้ เอไอเอส จะต้องใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเดิมที่เคยลงทุนไว้ก่อนหน้ามายูทิไลซ์ด้านบริการให้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20-30% ซึ่งหากสามารถทำได้ ก็จะผลักดันให้ธุรกิจเติบโตตามที่คาดหวังไว้ได้”
พร้อมกล่าวต่อถึงภาพรวมการแข่งขันธุรกิจในอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคมของไทย ในปัจจุบันที่เหลือผู้เล่นหลัก 2 รายใหญ่ในปัจจุบัน และมองว่าสงครามราคาจะยังคงมีอยู่ จากการที่ กสทช. ในฐานะผู้กำกับดูแลอุตสาหกรรมฯ ยังเป็นผู้ควบคุมดูราคาสินค้า/บริการฯอยู่ ซี่งอัตราค่าบริการสื่อสารโทรคมนาคมในไทย ถือว่ายังต่ำกว่าอัตราเพดานที่ควบคุมอยู่ เมื่อเทียบกับตลาดเดียวกันในต่างประเทศ
“ปัจจุบันสงครามราคายังมีอยู่ ซึ่งผู้ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมต่างหันไปแข่งขันในเรื่อง Experience Customer Living Network การสร้างประสบการณ์การใช้บริการเครือข่ายของผู้บริโภค และโซลูชันด้านต่างๆมากกว่า เพื่อร่วมยกระดับการเติบโตของอุตสาหกรรมต่างๆของประเทศไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลร่วมกัน” สมชัย กล่าว
พร้อมเสริมต่อ ความคืบหน้าการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) โครงการร่วมมือระหว่าง AIS, กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) และ ธนาคารกรุงไทย ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาใบอนุญาต จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
สำหรับผลดำเนินการAIS ในไตรมาส4/2566 คาดว่าในภาพรวมจะมีรายได้การเติบโตดีกว่าในไตรมาส3 ที่ผ่านมา ด้วยเป็นไฮซีซันของธุรกิจ จากปัจจัยบวก นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติที่เพิ่มขึ้น และ เศรษฐกิจกำลังซื้อที่จะมีการจับจ่ายซื้อสินค้าบริการเพิ่มขึ้น เทียบกับช่วงก่อนหน้า
โดย รายได้รวม Q3/66 อยู่ที่ 46,069 ล้านบาท ลดลง 0.4% จากปีก่อน แต่เติบโต 2.9% จากไตรมาสก่อน และมีกำไรสุทธิที่ระดับ 8,146 ล้านบาท เติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งถึง 35% (YoY) และ 13% (QoQ) สำหรับกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีและค่าเสื่อมราคา (EBITDA) เท่ากับ 23,674 ล้านบาท เติบโต 7.2% (YoY)
สมชัย กล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับความท้าทายที่ทั้งประเทศไทยและธุรกิจองค์กรในภาพรวมต้องเผชิญร่วมกัน ความเปราะบางของโลกที่อาจแตกเป็นเสี่ยงqทั้ง จากสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ปัญหาความขัดแย้งรุนแรงทางภูมิศาสตร์การเมือง (Geopolitical Conflict) อย่างสงครามระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมา รวมไปถึง การกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ การขนส่งกระจายสินค้า (โลจิสติกส์) เศรษฐกิจปัญหาเงินเฟ้อ ทั่วโลก ฯลฯ