ในงานสัมมนา ‘The Better Future Forward 2024 จัดโดยสำนักข่าว The Better ในโอกาสขึ้นสู่ปีที่ 2 ณ Next Stage ศูนย์การค้าสยามพารากอน พร้อมด้วยกูรูผู้เชี่ยวชาญร่วมถ่ายทอดทิศทางเศรษฐกิจประเทศไทย
โดยเตรียมเดินหน้าไปสู่อนาคต ด้วยในปี 2567 ยังมีความท้าทายจากหลากหลายปัจจัยลบและบวก ที่กระทบภาคธุรกิจและประชาชน ที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด ในหัวข้อ ‘ความท้าทายใหม่ของภาคธุรกิจไทย ปี 2024’
สนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงภาพรวมเศรษฐกิจประเทศไทยในปี 2567 ยังต้องเจอกับความท้าทายต่างๆ ทั้งจากปัจจัยภายนอกด้านสถานการณ์โลก ที่มีผลต่อเครื่องยนต์เศรษฐกิจไทยทั้งภาคการส่งออก และการท่องเที่ยว ด้วยในปี 2566 ที่ผ่านมา การส่งออกของไทยมีอัตราติดลบ ซึ่งในปี 2567 นี้ ภาครัฐและเอกชนต่างมีคามพยายมผลักดันการส่งออกให้กลับมาเป็นบวกเพิ่มขึ้น 2-3 %
โดยจะต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นด้านศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ ในประเทศไทยให้กับนักลงทุนต่างชาติ โดยตรง (FDI) เพื่อเพิ่มผลผลิตภายในประเทศและนำไปสู่ปริมาณการส่งออกได้มากขึ้น
นอกจากนี้ ยังต้องติดตตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงโลกอย่างใกล้ชิด ที่จะกระทบยังเศรษฐกิจไทยที่เชื่อมโยงต่อกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งด้านปัญหาภูมิศาสตร์ทางการเมือง (Geopolitics) จาก2 สงครามยูเครน-รัสเซีย , ฮามาส-อิราเอล และการเลือกตั้งครั้งใหญ่ในหลายประเทศที่จะเกิดขึ้นรวมถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ในปีนี้
แรงงานมีฝีมือคืออนาคต รับสังคมสูงวัย
ขณะที่ในประเทศไทยนับจากนี้ไป จะต้องเผชิญกับความท้าทายจากการเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ จากจำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลง โดยฝ่ายเกี่ยวข้องจะต้องเร่งหาแนวทางรับมือ ไปจนถึงการทบทวนราคาต้นทุนในด้านต่างๆที่เกิดขึ้นในภาพรวมที่สูงขึ้น ทั้งค่าพลังงาน ค่าสาธารณูปโภค การปรับค่าแรงงานขั้นต่ำ อัตราใหม่ เป็นต้น ที่จะต้องนำมาคำนวณเป็นต้นทุนการผลิตใหม่ให้สอดคล้องกับแรงงานรุ่นใหม่ที่ลดลงในอนาคต เช่นกัน
ทั้งนี้ ภาคแรงงานเองจำเป็นต้องปรับเพิ่ม ทักษะ การทำงานในรูปแบบใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับการเติบโตอุตสาหกรรมใหม่ในอนาคตไปพร้อมกัน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี หรือ นวัตกรรม จากธุรกิจข้ามชาติที่มองหา ‘Young Talent’ บุคคลากรท้องถิ่นที่มีฝีมือ และพร้อมจ่ายค่าแรงในอัตราที่สูงให้กับแรงงานที่มีฝีมือ ซึ่งถือเป็นโอกาสอนาคตของประเทศไทยในอนาคต เช่นกัน ที่จะต้องเร่งพัฒนาบุคลากรกลุ่มนี้ออกมารองรับ เพื่อผลักดันสู่อนาคตที่สดใส
พร้อมกล่าวอีกว่า ภาคการท่องเที่ยวของไทยที่ยังเป็นอีกหนึ่งเครื่องยนต์สำคัญในการผลักดันการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศ นอกเหนือจากรักษาตำแหน่งไทยเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวสำคัญของโลก โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ที่ครองอันดับ1 เมืองหลวงที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากที่สุดอันดับ 1 ของโลกแซงเมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปีที่ผ่านมาไทยมีนักเดินทางต่างชาติเข้าประเทศอยู่ที่ 27-28 ล้านคน ซึ่งคาดว่าจากมาตรการวีซ่าฟรีให้กับนักท่องเที่ยวจีนและเศรษฐกิจในจีนที่ฟื้นตัวขึ้น จะผลักดันให้คนจีนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นและเดินทางมาไทย พร้อมเพิ่มการจับจ่ายรายหัวเป็น 57,000 บาทจากเดิมอยู่ที่ 40,000 บาท
รวมไปถึงการขยายเศรษฐกิจการท่องเทียวในเมืองรอง ที่ขณะนี้รัฐบาลไทย และหอการค้าฯ เตรียม เปิดรายชื่อ 10 เมืองรอง ประกาศปั้นสู่เมืองหลัก ดังนี้ นครศีธรรมราช ศรีษะเกษ จันทบุรี ตรัง ราชบุรี นครสวรรค์ แพร่ กาญจนบุรี นครพนม และ ลำปาง เพื่อร่วมกระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยวในลำดับต่อไป ด้วยเช่นกัน
ดอกเบี้ยขาขึ้น ชะลอตัว
ด้าน เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่าในปี2567 คาดมีสัญญาณบวกทางเศรษฐกิจในภาพรวมทั้งในและต่างประเทศ จากอัตราดอกเบี้ยเตรียมเข้าสู่ภาวะขาลง หลังธนาคารสหรัฐอเมริกา (เฟด) ได้ส่งสัญญาณออกมาเตรียมประกาศหยุดอัตราดอกเบี้ย จากในช่วงที่ผ่านได้ประกาศลดดอกเบี้ยไปแล้ว 3 ครั้ง
ด้วยตลอดในช่วงปี 2566 ที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นมาต่อเนื่อง กระทบยังต้นทุนการดำเนินธุรกิจในทุกประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยประกาศดอกเบี้ยนโยบายอัตรา 2.5% ในปีที่ผ่านมา กระทบทุกภาคส่วนธุรกิจรวมถึงภาคเอสเอ็มอีไทย
รวมไปถึงปัญหาความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศจากผลกระทบทางสงครามใหม่อย่าง ฮามาสและอิราเอล ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของโลก ที่กระทบต้นทุนขนส่งจากค่าระวางเรือสินค้าปรับเพิ่มขึ้น 5-6 เท่าตัว หรืออยู่ที่ 6,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริการต่อตู้คอนเทนเนอร์ จากก่อนหน้าอยู่ที่ 1,800 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตู้คอนเทนเนอร์ ด้วยต้องใช้ระยะเวลาการเดินเรือสินค้าที่ยาวขึ้นจากเดิมราว 2 สัปดาห์
ลุ้นเศรษฐกิจจีนเติบโต
นอกจากนี้ยังมี ปัจจัยสงครามการค้า (Trade War) และ สงครามทางเทคโนโลยี (Tech War) ด้วยปีนี้เชื่อว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ประเทศจีนจะลดลง อยู่ที่ 4-7% ส่งผลกระทบการส่งออกลดลงไปด้วยเช่นกัน ทำให้จีนต้องปรับตัวทางเศรษฐกิจด้วยกำลังซื้อในประเทศลดลง และมีผลต่อภาคการท่องเที่ยวในหลายประเทศรวมถึงไทย จากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่อาจชะลอตัวลง
รวมไปถึงการดิสรัปต์ทางเทคโนโลยีใหม่ที่ยังมีต่อเนื่อง ปัจจัยเงินเฟ้อ ที่ส่งผลต่อการถดถอยทางเศรษฐกิจ และอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก
ดึงนักลงทุนใหม่ต้องแก้ไขกฎหมาย
เกรียงไกร กล่าวเสริมว่า เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการค้าของไทยเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามา (FDI) ได้นั้น จำเป็นอย่างมากต่อการลดขั้นตอนความยุ่งยาก ที่จะเป็นอุปสรรคต่างๆ ต่อการลงทุน โดยเฉพาะข้อกฎหมาย พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ในหลายฉบับที่มีความล้าสมัย และจำเป็นจะต้องปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัย เพื่อเอื้อต่อการลงทุนและการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน เพื่อเพิ่มความคล่องตัวทางเศรษฐกิจให้ประเทศไทยไปต่อข้างหน้า และสนับสนุนให้จีดีพีไทยปรับขึ้นได้ทันทีอีก 200,000 ล้านบาท เช่นเดียวกับประเทศเกาหลีใต้ที่ตัดกฎหมายที่ไม่จำเป็นออกไปกว่า 48% จนผลักดันไปสู่การเป็นระเบียงเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Corridor) ในปัจจุบัน
ขณะเดียวกันประเทศไทย ยังต้องเร่งสนับสนุนการไปสู่การเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมแห่งอนาคตต่าง ๆ ทั้งอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด อุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อไปสู่สังคมคาร์บอนเป็นศูนย์ (Net Zero) อย่างยั่งยืนในอนาคต
โดยจะต้องไปพร้อมกับการเพิ่มผลผลิตภาคธุรกิจจากศัยภาพแรงงานที่มีคุณภาพ เพื่อให้ไทยเป็นประเทศที่จิ๋วแต่จิ๋ว ด้วยการเพิ่มทมักษะด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมเข้ามาปฏรูปในระบบการศึกษา เช่นเดียวกับประเทศสิงคโปร์ และอิสราเอล ที่แม้ว่าจะมีจำนวนประชากรน้อยเมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจประเทศที่เติบโตสูง