องค์กรต้องโอบรับความหลากหลาย สร้างความเท่าเทียมให้เป็นเรื่องปกติ

องค์กรต้องโอบรับความหลากหลาย สร้างความเท่าเทียมให้เป็นเรื่องปกติ
แสนสิริ และ ทิพยประกันภัย ร่วมแชร์ความคิดเห็นจากองค​์กรต่อความหลากหลายที่เกิดขึ้น เน้นย้ำทุกองค์กรควรปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่ปรับเปลี่ยนไปข้างหน้า และปฏิบัติตัวอย่างเท่าเทียมกันให้เป็นเรื่องปกติ

สำนักข่าว The Better ร่วมกับ Bangkok Pride จัดฟอรัมในงาน BANGKOK PRIDE FORUM 2024 ณ SCBX Next Tech ชั้น 4 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ในฟอรัม Business Model รวมพลังพลัส สร้างวิสัยทัศน์ความเท่าเทียม พรบ.สมรสเท่าเทียม เป็นกฎหมายที่พวกเขาต่อสู้เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมและความเสมอภาค ซึ่งภายในเนื้อหาจะหมายรวมถึงการทำธุรกรรมต่างๆ เช่น ธุรกรรมทางการเงิน ผู้รับผลประโยชน์จากการทำประกัน หรือ การกู้ซื้อบ้านร่วมกัน โดยคุณสมัชชา พรหมศิริ Chief of Staff บริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน) และคุณณัฐพล อังควานิช ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและการตลาดบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

คุณณัฐพล อังควานิช ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและการตลาดบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ย้อนกลับไปเมื่อประมาณเจ็ดปีที่แล้ว เราต้องการสร้างสังคม ที่มีความหลากหลายเราไม่ได้มองแค่ความแตกต่างทางเรื่องเพศเท่านั้นแต่ยังมองถึงเรื่องวัยวุฒิ การศึกษา ศาสนา เพราะเราเชื่อว่าการมีสังคมที่หลากหลาย สามารถพัฒนางานของเรามีสีสันมากขึ้น ขับเคลื่อนองค์กรให้ไปข้างหน้ามากขึ้น จึงเป็นที่มาที่ทำให้เราเล็งเห็นว่า อายุ เพศ ศาสนา มันไม่ได้เป็นข้อจำกัดในการทำงานเราไม่ได้ใช้ตัวนี้ในการรับคนเข้ามาทำงานหรือเป็นมาตรฐานในการปรับพิจารณาเงินเดือนหรือขึ้นตำแหน่ง บริษัทของเราเป็นบริษัทประกันภัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุเกี่ยวกับผู้ซื้อประกันของเราผู้ที่วิ่งไปหาลูกค้าส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้ชาย แต่เราเปิดโอกาสให้กับทุกเพศสามารถทำได้หมด 

สำหรับในองค์กรของเราได้มีการปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลาเช่นกันกำแพงต่างๆเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศในองค์กรไม่ค่อยจะเกิดขึ้นอย่างเช่นในตำแหน่งที่สูงขณะเป็นผู้หญิงล้วน ข้อดีคือเรามีงานที่ละเอียดมากขึ้น คิดละเอียดขึ้นลง detail ลึกขึ้น ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเพศไหนหากเราดึงศักยภาพของเค้าออกมาได้เราก็สามารถที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับโปรเจคที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่สมรสเท่าเทียมผ่านทางทิพยประกันภัยเรามีโปรเจ็คที่เรียกว่า TIP Rainbow เป็นโปรเจ็คสำหรับกลุ่ม LGBTQIAN+ โดยเฉพาะ ฉีกการทำประกันในรูปแบบเดิมๆเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรกเราไม่จำเป็นต้องต้องใช้คำจำกัดความว่าเป็นนาย นาง หรือนางสาว เราใช้คำว่า คุณ แทนเลย ในส่วนของผลิตภัณฑ์ประกันภัย เราแยกออกมาเป็น ประกันภัยสำหรับกลุ่มหลากหลายโดยเฉพาะ ซึ่งจะแตกต่างจากประกันภัยกลุ่มชั้นหนึ่งคือเรื่องของศัลยกรรม ต้องบอกว่าในกลุ่มของเรนโบว์เป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายและสร้างสรรค์มากๆบางทีในเรื่องของความสวยความงามก็เป็นเรื่องสำคัญสำหรับเขา โดยปกติประกันภัยรถยนต์จะมีการคุ้มครองเรื่องของการศัลยกรรมให้หน้ากลับมาเหมือนเดิม แต่สำหรับประกันภัยกลุ่มเรนโบว์เราจะศัลยกรรม ให้กลับมาเป็นหน้าที่คุณธรรมเสร็จแล้ว และเรายังคุ้มครองคนที่ที่นั่งข้างๆ คุณที่เป็นคู่ชีวิตของคุณอีกด้วย ในส่วนของประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุ เราก็มีคุ้มครองเรื่องของวัคซีนโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในส่วนของประกันภัยอุบัติเหตุ เรามีประกันภัยด้วยรักตลอดไป เมื่อคุณต้องจะไปก่อนคนรักของคุณเราออกแบบให้ประกันภัยตัวนี้ ตัวเบี้ยสามารถจ่ายให้คนรักของคุณเป็นแบบรายเดือนได้ ทั้งหมดนี้เป็นโปรเจ็คที่เราทำมาเมื่อสี่ห้าปีที่แล้ว เป็นโปรเจ็ค TIP Rainbow เราเล็งเห็นตรงนี้ไว้อยู่แล้วก่อนที่สมรสเท่าเทียมจะออก

การที่หลายองค์กร โอบรับความหลากหลายยึดหลักความเท่าเทียมมีการบริการหรือผลิตภัณฑ์ ที่ตอบสนองกลุ่มคนหลากหลายเหล่านี้ อย่างเช่นทิพยประกันภัย และแสนสิริ กำลังทำอยู่เป็นตัวอย่างให้องค์กรอื่นที่ยังปรับตัว หันมาเห็นและปรับเปลี่ยนตาม ทำให้เกิดเป็นความปกติในสังคมที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติตัวหรือต้องทำสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อที่ในอนาคตจะได้ไม่ต้องมีการออกมาเรียกร้องความไม่เป็นธรรมหรือความไม่เท่าเทียมกันในสังคมอีก เพราะมันควรเป็นสิ่งที่เราจะต้องทำให้มันเป็นเรื่องปกติ

คุณสมัชชา พรหมศิริ Chief of Staff บริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน) กล่าวถึงจุดเปลี่ยนที่ทำให้องค์กรหันมาใส่ใจเรื่องความหลากหลายว่า องค์กรของเราปรับไปตามบริบท ย้อนกลับไปเมื่อ 40 ปีที่แล้วที่บริษัทมีพนักงานหลักร้อยจนถึงตอนนี้มีพนักงานเป็นหลัก 1000 คนเราทราบถึงการรับสิ่งใหม่ๆ การรับคนเข้ามามันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องรับคนใหม่เข้ามาอยู่ร่วมกับคนเก่า สิ่งที่ต้องเจอคือความแตกต่างในเรื่องของวัยวุฒิ เพศ อายุ การศึกษา ศาสนา องค์กรก็จะต้องโอบรับทุกความแตกต่างโชคดีที่ว่าผู้บริหารระดับสูงมีความเข้าใจเรื่องนี้ เมื่อหกเจ็ดปีก่อนการแต่งกายของเราก็เปลี่ยนไปจากที่ต้องใส่เสื้อเชิ้ตผูกเน็คไทเราก็มองว่าเด็กรุ่นใหม่ที่เข้ามาเค้าไม่แต่งตัวอย่างนั้นกันแล้วเราก็ปรับให้ทุกคนสามารถแต่งตัวอย่างที่ต้องการได้ แสดงออกในเชิงการแต่งกายด้วย การที่เขาสามารถแสดงออกการเป็นตัวตนได้อย่างสบายใจ มันเหมือนเป็นวิวัฒนาการมากกว่าเป็นจุดเปลี่ยนเพราะเราไม่ได้พลิกผันอย่างชัดเจน

ในองค์กรของเรามีงานหลายตำแหน่งไล่ตั้งแต่คนซื้อที่  คนไปไล่ที่เจรจาต่อรอง วิศวกร สถาปนิก ออกแบบภายใน การตลาด การเงินเรามี job function ค่อนข้างหลากหลาย ต้องยอมรับว่าเรามีกำแพงกั้นบางอย่างที่เราเคยเจอปัญหา อย่างเช่นวิศวะหากย้อนกลับ 30 ปีก่อนแน่นอนว่าคืออาชีพของผู้ชาย สมัยก่อนการรับเข้าทำงานจริงเน้นไปที่ผู้ชายเป็นหลักเพราะเข้าใจว่าหัวหน้างานเป็นผู้ชาย ลูกน้องเป็นผู้ชายเหมือนเป็นการพูดภาษาเดียวกัน เฮฮาปาร์ตี้ได้ แต่เมื่อบริษัทต้องการให้เกิดความหลากหลายขึ้นจึงอยากให้เค้าเปิดใจรับผู้หญิงแต่มีอคติที่ไม่ได้ตั้งใจอยากให้เกิดบางอย่างเช่น เขาไม่ได้กลัวว่าผู้หญิงจะไม่เก่งเท่าหรือไม่มีความสามารถเท่า แต่เค้ากลัวว่าเมื่อไปถึงหน้างานแล้วต้องไปเจอกับผู้รับเหมาที่เป็นผู้ชาย แรงงานที่เป็นผู้ชาย เค้าไม่สามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและดีให้กับวิศวกรผู้หญิงได้ ในเจตนาดีที่เป็นห่วงกลับกลายเป็นกำแพงอีกรูปแบบหนึ่งที่เค้าไม่ได้ตั้งใจ วิธีแก้ปัญหาของเราคือเราก็ต้องให้หัวหน้างานเป็นผู้รับผิดชอบในการทำให้ทำงานมีความปลอดภัยจัดอบรมเรื่องของ sexual harassment ให้เค้ารู้ว่าอะไรคือการล่วงละเมิด สิ่งไหนที่สามารถบอกได้ว่าสิ่งนี้คือเค้ากำลังล่วงละเมิดทางเพศอยู่ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจว่ากำแพงบางอย่างถูกทำลายลงไปแต่กลับสร้างกำแพงตัวใหม่ขึ้นมา

สำหรับแสนสิริที่เป็นธุรกิจที่อยู่อาศัย เรื่องแรกเลยก็คือการขอสินเชื่อ แม้จะไม่ใช่เรื่องของเราโดยตรงแต่เราก็เจอลูกค้าที่เป็นคู่รักเพศเดียวกันติดปัญหาในเรื่องของการกู้ร่วม เราจึงคุยกับธนาคารที่เราสนิทด้วยสองแห่งในการหาวิธีการแก้ปัญหาเรื่องนี้ ให้เค้ากำหนดคำว่าคู่ชีวิตในที่นี้ให้ชัดเจนว่าต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่นการใช้ที่อยู่ทะเบียนบ้านที่เค้าอยู่ด้วยกันมายืนยันว่าเค้าอยู่ด้วยกันมากี่ปีแล้ว เราไม่ได้มีแคมเปญอะไรที่ทำมาเพื่อตอบรับกฎหมายสมรสเท่าเทียม เพราะเรามีสิ่งที่เราทำกันมาอยู่แล้ว แต่การที่ที่มีกฎหมายตัวนี้ออกมามันช่วยให้หลายอย่างถูกต้องสักที

ทางแสนสิริเรามีการทดลองทำ Sand Box สำหรับหลายๆ กรณีที่เป็นความอ่อนไหวทางสังคมไม่ใช่แค่เรื่องความเท่าเทียมกันเท่านั้น เรายังมีเรื่องการศึกษาของเด็กที่อยู่ในไซด์ก่อสร้าง หากต้องพึ่งพาแต่ละภาครัฐก็คงจะช้าเกินไป เราเลยคิดว่าเป็นหน้าที่ของภาคเอกชนที่ต้องทดลองทำอะไรบางอย่าง พยายามขับเคลื่อนผลักดันในสิ่งที่เราคิดว่าเราสามารถทำได้

TAGS: #LGBTQ #สมรสเท่าเทียม