Positive Self-Talk หรือการพูดเชิงบวกกับตัวเอง วิธีการที่ใครหลายคนรู้สึกขนลุกเบาๆ เมื่อต้องพูดชมตัวเองหรือพูดคนเดียวในใจ แต่การทำ Positive Self-Talk นั้นเป็นเคล็ดลับที่คนเก่งหลายคนแอบทำลับๆ
หลายประโยคที่เรามักใช้พูดเพื่อให้กำลังใจกับคนอื่นเช่น "กลัวอะไร เรื่องนี้ยังไงเธอก็ทำได้!", "มั่นใจตัวเองหน่อย เธอคือคนที่เข้าใจเรื่องนี้ เธอสามารถพูดได้" ประโยคที่มักพูดปลอบใจคนอื่นนั้นที่จริงแล้วเราสามารถพูกกับตัวเงได้เช่นกัน
เว็บไซต์เมดิคัล นิวส์ ทูเดย์ เผยบทความประโยชน์ที่ได้จากการทำ Positive Self-Talk และวิธีการเลิกพูดเชิงลบกับตัวเอง
ประโยชน์ในการทำ Positive Self-Talk
การศึกษาในปี 2019 พบว่าเมื่อนักเรียนท่องข้อความยืนยันมั่นใจตัวเองก่อนกล่าวสุนทรพจน์หรือการนำเสนอ พวกเขามีความวิตกกังวลในการปฏิบัติงานน้อยกว่านักเรียนที่ไม่ได้ทำ การวิจัยระบุว่าวิธีที่ผู้คนพูดถึงตนเองระหว่างพูดคุยส่งผลต่อความรู้สึกของพวกเขา ตัวอย่างเช่น ตามบทวิจารณ์ในปี 2014 การใช้คำสรรพนามที่ไม่ใช่บุรุษที่หนึ่ง เช่น 'คุณ' และชื่อ แทนที่จะใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง เช่น 'ฉัน' ช่วยให้ผู้คนควบคุมความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของตนได้ภายใต้ ความเครียดทางสังคม
Gary Lupyan ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจาก University of Wisconsin กล่าวว่า ปฏิกิริยาสมองมีแพทเทิร์นที่คล้ายกับ Self-Talk อยู่เป็นระยะตลอดทั้งวันอ หรือก็คือคนเรา คุยกับตัวเองทุกวันอยู่แล้ว เพียงแต่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว
แล้วการพูดคุยเชิงลบกับตนเองมีผลกระทบอย่างไร?
การพูดคุยกับตนเองในทางลบอาจส่งผลเสียต่อความภาคภูมิใจในตนเองและความเชื่อในคุณค่าในตนเองและความสามารถของตนเอง การวิจัยในปี 2018 ชี้ให้เห็นว่า RNT (Repetitive Negative Thinking) เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อความรุนแรง การคงอยู่ และการกำเริบของภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล
การทำ Self-Talk ยังช่วยให้เราจัดการอารมณ์ได้ ในบางเวลาเรามีมากกว่า 1 อารมณ์ บางครั้งอาจรู้สึกเครียด เหนื่อย กังวล ล้าในเวลาเดียวกัน การได้พูดคุยกับตัวเองเปรียบเหมือนกับการสำรวจความรู้สึกนึกคิดขณะนั้นได้
อารมณ์และประสบการณ์บางอย่างเป็นเรื่องส่วนตัวที่ลึกซึ้งมากจนอาจไม่กล้าแบ่งปันกับใครเลย แม้แต่คนรักที่เชื่อถือได้ อาจจะต้องมีการจัดการอารมณ์ส่วนนั้นก่อน การใช้เวลานั่งคุยกับอารมณ์เหล่านี้จะช่วยให้คลายความกังวลและแยกความกังวลที่อาจเกิดขึ้น แม้ว่าจะทำสิ่งนี้ได้ในหัวหรือในกระดาษ แต่การพูดสิ่งต่างๆ ออกมาดังๆ สามารถช่วยยึดถือความเป็นจริงได้
การทำ Self-Talk อย่างจริงจังยังทำให้สถานการณ์คลี่คลายลง อารมณ์เสียน้อยลง ช่วยให้มีสติรู้เท่าทัน เปรียบเสมือนเป็นการ “ดึงศักยภาพ” ออกมาให้มากที่สุด
การทำ Positive Self-Talk นั้นยไม่เหมือนกับการหลงตัวเอง แต่เป็นการเพิ่มโอกาสให้เราได้พบสิ่งดีๆ แม้เหตุการณ์ดูเลวร้าย แต่การพูดคุยกับตัวเอง เหมือนเป็นการหาช่องทางที่จะช่วยให้เรามองเห็นภาพรวม เหมือนตอนที่เราให้คำปรึกษาปัญหาคนอื่น แต่กลับกันเป็นการให้โอกาสแก่ตัวเองแทน