สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย พาไปรู้เท่าทันพฤติกรรมการปั่นหุ้น นักลงทุนต้องสังเกตอย่างไร เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ
สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย Thai Investors Association (TIA) ได้โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟสบุ๊ก โดยอ้างอิงถึงงานวิจัย-วิทยานิพนธ์ หลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปี 2564 โดย “จักรกฤษ สีดาน้อย” หัวข้อ “ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พุทธศักราช 2535 : ศึกษากรณีการปั่นหุ้นสร้างราคาหลักทรัพย์” มีความน่าสนใจ ดังนี้
-เป็นงานวิจัย เชิงคุณภาพ เปรียบเทียบการบังคับใช้กฎหมาย 4 ประเทศ คือ ไทย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และ อังกฤษ
-ทั้ง 3 ประเทศ ที่นำมาศึกษาเปรียบเทียบนั้น พบว่า มีการใช้บังคับทางกฎหมาย แบบ Principle-Based หมายถึง การมุ่งเน้นไปที่ “ผลลัพธ์” มีแนวทางในการดำเนิน/ปฏิบัติ มากกว่าการร่างตัวบทกฎหมาย
-ประเทศไทย มีการใช้บังคับทางกฎหมาย แบบ Rules – Based หมายถึง การดำเนินการ ตามกระบวนการทางกฎหมาย
-สถิติคดีปั่นหุ้น ในรอบ 20 ปี ( 2535-2555) มีจำนวน 459 คดี : ลงโทษ ได้ ร้อยละ 16,อัยการฟ้อง ร้อยละ 48, อัยการไม่ฟ้อง ร้อยละ 18, ขาดอายุความ ร้อยละ 13 และ ศาลยกฟ้อง ร้อยละ 5
-สถิติการลงโทษทางแพ่ง (ค่าปรับ) ในฐานโทษ การสร้างราคา/การใช้ข้อมูลภายใน/เปิดเผยข้อมูลภายใน ปี 2561-2562-2563-2564 เป็นเงิน 317,802,35 และ 3.4 ล้านบาท ตามลำดับ
การสร้างราคา หรือ ปั่นหุ้น แยกเป็น 6 วิธี ได้แก่
1) การเผยแพร่ข่าวเท็จ
2) การร่วมกันซื้อขายเป็นกลุ่ม
3) การควบคุมอุปทาน หรือ เรียกว่า Corner
4)การจับคู่ ซื้อ-ขาย
5) ซื้อ-ขาย แบบต่อเนื่อง
6)ซื้อ-ขายแบบไม่เปลี่ยนแปลงการเป็นเจ้าของ หรือ เรียกว่า Washed Sale
การปั่นหุ้น มีอุปสรรคสำคัญ ที่ยังไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างจริงจัง เพราะ
1. ยังไม่มีการปรากฏเป็นรูปธรรม
2. ขาดเอกภาพของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง
3. ความอ่อนด้อย ของกฎหมาย หลักทรัพย์ อันตีความกว้าง ว่า “ ไม่ครอบคลุม ขาดความชัดเจน จนนำไปสู่การไม่สามารถเอาผิดผู้กระทำความผิดได้”
เป็นเส้นทาง ที่ชี้ชัด ว่า หาก “ย้อนรอย-ย้อนศร” ย่อมเป็นการชี้เส้นทาง ให้ทั้ง “หน่วยงานกำกับ” และ “โจรหุ้น” มีช่องทาง ผิดแต่ว่า ความไว ที่เป็นต่อ ของฝ่ายใด เท่านั้น จึงจะคว้าชัย