หรือ KCG เปิดตัว CEO คนใหม่ ประกาศวิสัยทัศน์ “Transition Towards Sustainable Growth สร้างองค์กรสู่การเติบโตที่มั่นคง ยั่งยืน และพร้อมสู่อนาคตที่กำลังเปลี่ยนแปลง
ดำรงชัย วิภาวัฒนกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KCG ผู้นำธุรกิจผลิต จัดจำหน่าย และนำเข้าเนย ชีส และผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคชั้นนำจากทั่วโลก เปิดเผยว่า จากการวางยุทธศาตร์และกลยุทธ์การตลาดอย่างแข็งแกร่งและสอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของปี 2566 สร้างสถิติเติบโตสูงสุดเป็นประวัติการณ์ มีรายได้จากการขาย 7,157 ล้านบาท เติบโต 16.2% จากปีก่อนหน้า และทำกำไรสุทธิ 305.9 ล้านบาท เติบโต 26.9% จากปีก่อนหน้า
โดยล่าสุดได้วางแผนงานเพื่อสานต่อความสำเร็จก้าวต่อไป ภายใต้วิสัยทัศน์ “Transition Towards Sustainable Growth” “สร้างองค์กรสู่การเติบโตที่มั่นคง ยั่งยืน และพร้อมสู่อนาคตที่กำลังเปลี่ยนแปลง” โดยกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาใน 2 มิติ ได้แก่
1. ยุทธศาสตร์ด้านวัฒนธรรมองค์กร (Cultural Strategy) โดยยึดหลัก “Heart-driven - Expertise - Agile – Responsible – Teamwork” ด้วยความเชื่อมั่นว่าพนักงานเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะร่วมขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุสู่เป้าหมายสูงสุด
2. ยุทธศาตร์ทางธุรกิจ (Business Strategy) เพื่อบรรลุเป้าหมายสร้างอาณาจักรอาหารตะวันตก เนยและชีส ให้เติบโตมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้การขับเคลื่อน 7 แกนหลัก ได้แก่
1.) มุ่งสร้างการเติบโตทางธุรกิจ (Growth)
2.) การพัฒนาบุคลากร (People)
3.) การขับเคลื่ององค์กรด้วยข้อมูลและเทคโนโลยี (Innovation Data & Tech)
4.) การขยายตลาดส่งออก (Export)
5.) ยกระดับศูนย์กระจายสินค้าและคลังสินค้าที่ทันสมัยและครบวงจร (Supply Chain & Inventory)
6.) ยกระดับการผลิตโดยใช้ระบบอัตโนมัติ (Production& Automation)
7.) การส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (Sustainable Development)
ด้านธวัช ธีระนุสรณ์กิจ รองกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส KCG กล่าวถึงเทรนด์อุตสาหกรรมอาหารว่า สถานการณ์การแพร่ระบาด Covid-19 ที่ผ่านมา ได้สร้างอุบัติการณ์ใหม่ทางด้านโภชนาการอาหารทั่วโลก โดยพฤติกรรมของผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งสร้าง 5 เมกะเทรนด์ในปี 2567 ได้แก่
1. Health Beliefs เทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพและสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
2. Naturally Functional เทรนด์อาหารที่มีการพัฒนาสารเสริมเชิงหน้าที่จากธรรมชาติหรือมีการเติมวิตามินเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ
3. Weight Wellness เทรนด์อาหารสำหรับการดูแลรูปร่าง
4. Snackification เทรนด์นวัตกรรมอาหารว่างที่ทำให้สะดวกทานง่ายทุกที่และทุกเวลา และ
5. Sustainability เทรนด์ผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับโลก
สำหรับแนวทางการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในปี 2567-2572 บริษัทฯ วางกรอบการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสุขภาพและบริการใหม่ตามเทรนด์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นทั้งในประเทศไทยและระดับโลก เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถเจาะลึกถึงต้องการของผู้บริโภคกลุ่มที่มีไลฟ์สไตล์แตกต่างกัน รวมถึงการต่อยอดสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ทั้งที่ทำจากนม (Dairy Products) และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ไม่ได้ทำจากนม (Non-dairy) พร้อมทั้งร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและพันธมิตรบริษัทชั้นนำจากทั่วโลก เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดอย่างเหมาะสม
ดนัย คาลัสซี รองกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส KCG กล่าวว่า หลังจากเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัทฯ ได้ลงทุนสร้าง ‘KCG Logistics Park’ หรือศูนย์กระจายสินค้าและคลังสินค้าแบบครบวงจร บนพื้นที่ 15 ไร่ โดยนำเทคโนโลยีมาจัดเก็บผลิตภัณฑ์ของ KCG ซึ่งครอบคลุมทั้ง 3 อุณหภูมิ ทั้งระบบแช่แข็ง (Frozen) ระบบแช่เย็น (Chill) และแบบอุณหภูมิห้อง (Ambient) มาใช้ ทำให้สินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์เนยและชีสมีความสดใหม่ และนำเทคโนโลยีระบบ VMI (Vendor Managed Inventory) มาใช้เพื่อควบคุมระดับสต็อกและการส่งสินค้าให้ทันเวลาตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งช่วยให้สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฟสแรกคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายนนี้ และคาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งโครงการภายในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ซึ่งเร็วกว่าแผนเดิมที่วางไว้
นอกจากนี้ ในด้านการผลิตได้มีการขยายกำลังผลิตกลุ่มผลิตภัณฑ์ชีสในรูปแบบห่อเดี่ยว (Individually Wrapped Processed Cheese Slices หรือ IWS) เพิ่มขึ้นจากเดิม 2,106 ตันต่อปี เป็น 4,212 ตันต่อปี ไปเรียบร้อยแล้วในเดือนตุลาคมปี 2566 และอยู่ระหว่างการขยายกำลังการผลิตเนยจากเดิม 18,000 ตันต่อปี เป็น 23,000 ตันต่อปี ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2568
ในขณะเดียวกัน บริษัทฯ พร้อมเดินหน้าปรับระบบการขนส่งสินค้าด้วยการเพิ่มสัดส่วนการใช้รถไฟฟ้าพลังงานสะอาด (EV Truck) โดยวางเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนเป็น 30% ของจำนวนรถขนส่งทั้งหมด เพื่อสร้างระบบนิเวศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในห่วงโซ่คุณค่าอย่างยั่งยืน