AI กับการปฏิวัติ วงการธุรกิจหลักทรัพย์ ปัจจุบันใช้จริงแล้วกว่า 50%

AI กับการปฏิวัติ วงการธุรกิจหลักทรัพย์ ปัจจุบันใช้จริงแล้วกว่า 50%
เมื่อ AI เข้ามามีบทบาทในธุรกิจหลักทรัพย์มากขึ้น จะช่วยให้การทำงานง่ายจริงหรือ? ข้อดี-ข้อเสียที่ควรรู้ ในการเลือกนำ AI เข้ามาใช้ให้เหมาะสมควรจะเป็นอย่างไร?

AI กำลังเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของธุรกิจหลักทรัพย์อย่างก้าวกระโดด ตั้งแต่การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากแหล่งต่าง ๆ การพัฒนาโปรแกรมซื้อขายอัตโนมัติที่ลดการพึ่งพาการตัดสินใจจากอารมณ์ของมนุษย์ ไปจนถึงการคาดการณ์แนวโน้มตลาดและการบริหารความเสี่ยงแบบเรียลไทม์ 

เทคโนโลยี AI ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจจับพฤติกรรมฉ้อโกง รวมถึงการให้บริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการแนะนำการลงทุนส่วนบุคคลและการตอบคำถามทันทีในทุกช่วงเวลา ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ธุรกิจหลักทรัพย์สามารถดำเนินงานได้รวดเร็วมากขึ้นในยุคดิจิทัล

เบญจ สุพรรณกุล ทนายความหุ้นส่วน (Partner) Baker&Mckenzie กล่าวในงาน AI IN THE SECURITIES INDUSTRY : CASE SUDIES AND SUPERVISION ว่า จากสถิตของ ASCO ที่ได้มีการสำรวจพบว่าบริษัทหลักทรัพย์ไทยมีการนำ AI มาใช้เพื่อช่วยในการดำเนินงานถึง 53% โดยส่วนใหญ่เป็นการซื้อ AI แล้วนำมาใช้เลย 

โดยอุตสหกรรมหลักทรัพย์นั้นบริษัทส่วนใหญ่ใช้ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร โดยหากแยกตาม function งาน จะพบว่างานด้าน IT จะเป็นส่วนงานที่มีการใช้ AI มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นระบบตรวจจับการโจมตีทางไซเบอร์ การประเมินความเสี่ยงด้าน Cyber Security เพื่อเตรียมแผน BCP รวมถึงการช่วยพัฒนา ตรวจสอบโปรแกรม วิเคราะห์ความ Error ของระบบ เป็นต้น 

ส่วนงาน Front นั้น AI จะถูกนำมาใช้ในด้าน Customer Insight เช่น วิเคราะห์พฤติกรรมการลงทุนของลูกค้า วิเคราะห์ Customer Journey เพื่อพัฒนาหรือนำเสนอผลิตภัณฑ์บริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น , Social Listening & find out market insight from social media เพื่อดูว่าในแต่ละขณะนักทุนให้ความสนใจเรื่องใด , Portfolio Management and Creation เพื่อจัดพอร์ตและบริหารการลงทุนของลูกค้าให้สอดคล้องกับความเสี่ยง ผลตอบแทนที่ลูกค้าต้องการ 

ส่วนงาน Research จะมีตั้งแต่การนำ AI มาช่วยจัดทำบทวิเคราะห์ รวบรวม สรุป แปล เช่น รายงาน Earnings Brief สำหรับหุ้นต่างประเทศด้วย Generative AI , สรุป Report และข่าวประจำวันรวมถึงถึงจัดทำ Outlook View ด้วย  Generative AI และยังมีการประเมิน Valuation ของหุ้นไทยและต่างประเทศด้วย AI อีกด้วย 

ส่วนงาน Risk Management และ Compliance นั้น AI จะถูกนำมาใช้เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมต้องสงสัยหรือไม่เหมาะสมในการทำธุรกรรมของลูกค้าหรือพนักงาน พร้อมกับส่งสัญญานแจ้งเตือนให้ส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งยังตรวจสอบรายชื่อการซื้อขาย สถานะการลงทุนในบัญชีบริษัทและลูกค้า ที่สำคัญยังช่วยมอนิเตอร์ และกรองข่าวที่อาจจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือ รือราคาหุ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งบางบล.มีการนำ AI มาใช้ประเมิน Default Risk ของลูกค้าโดยดูว่าพฤติกรรมนี้ของลูกค้ามีความเสี่ยงที่สมควรจะถูกปรับหรือไม่่

อย่างไรก็ตามการนำ AI มาใช้เพื่อช่วยดำเนินงานก็จะมีการ Concerns ในเรื่องการเกิดข้อผิดพลาดหรือทำงานไม่สมบูรณ์เนื่องจากข้อมูลที่ป้อนเข้าไปหรือไม่เข้าใจในบริบทการเงินที่ซับซ้อน เนื่องจากความรู้ของ AI เกิดจากการเทรนของมนุษย์ และด้วยวิวัฒนาการที่มีขึ้นใหม่ทุกวันส่งผลให้มีเคสใหม่ๆที่เกิดขึ้นได้เสมอ

ดังนั้นบางครั้งการที่ AI ไม่ได้เทรนด้วยข้อมูลที่อัพเดทตลอดเวลาจึงสามารถทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ ซึ่งข้อสรุปในความผิดพลาดของ AI นั้นจะสอดคล้องกับเกณฑ์ของ ก.ล.ต. ที่มองว่า AI ควรนำมาใช้เป็นเพียงผู้ช่วยเท่านั้น มนุษย์ยังไม่สามารถถอยออกมาได้แบบ 100% ยังคงต้องตัดสินใจ มอนิเตอร์  สอบถามและตรวจสอบด้วยตนเองอยู่เสมอ
 

TAGS: #AI #ตลาดหุ้น #GenerativeAI