“บล.เอเซีย พลัส” ชี้สงครามการค้าผันผวนสูง เน้นหุ้นกลุ่มพื้นฐานดี / Domestic / Defensive / Dividend เพื่อลดความผันผวน ของพอร์ตลงทุน
สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ รุนแรงเป็นประวัติการณ์ หลังตอบโต้กันไปมาผ่านการขึ้นอัตราภาษีศุลกากร ซึ่ง เศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบมากในช่วงเปลี่ยนผ่าน 1-2 ปีแรกจากสงครามการค้า ทำให้ตลาดมองความเสี่ยงเศรษฐกิจ ถดถอยในสหรัฐฯ สูงขึ้น และมีแนวโน้มนั่นคาดการณ์เศรษฐกิจลงเพิ่มเติมทั้งในและนอกสหรัฐฯ สำหรับตลาดการเงินกลับมา ให้น้ำหนักมากขึ้นที่ Fed อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมากกว่า 2 ครั้งในปีนี้
ขณะที่ตลาดการเงินมองว่า BoJ มีโอกาสคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตลอดปีนี้ อย่างไรก็ดี ค่าเงินเยน (JPY) กลับแข็งค่าขึ้น ต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว สะท้อนบทบาทสกุลเงิน Safe-Haven สอดรับกับเครื่องชี้ภาวะ Risk off อื่นๆ
ในระยะสั้นมีสัญญาณที่ดีเกิดขึ้นต่อประเทศคู่ค้า (ยกเว้นจีน) ในเรื่องสงครามการค้า หลังสหรัฐฯ ได้มีการผ่อนผันภาษีตอบโต้ 90 วัน แต่ยังต้องเฝ้าระวังอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้มีการขู่จะปรับขึ้นภาษีนำเข้าเพิ่มเติม อาทิ Pharmaceutical และ Semiconductor
สำหรับเป้าหมายดัชนี S&P500 ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการปรับขึ้นภาษีนำเข้าและความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย โดยในปีนี้ ดัชนี S&P500 ปรับตัวลงมากกว่า 20% YTD ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยตั้งแต่ปี 1990 ที่ดัชนีมีการปรับตัวลงตั้งแต่ 10% ขึ้นไป แต่ยัง อยู่ในระดับที่สูงกว่าช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย และปรับตัวลงอยู่ในช่วงกรอบบนของภาวะตลาดหมีในอดีต
ทั้งนี้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนด้านนโยบายการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะแนวโน้มการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนและ การที่สหรัฐฯ โดนโต้ตอบจากคู่ค้า รวมถึงความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่ยังมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องและอาจเข้าสู่ภาวะ ถดถอย หุ้นกลุ่มพื้นฐานดีที่เน้น Domestic / Defensive / Dividend เพื่อลดความผันผวนของพอร์ต เนื่องจากความไม่ แน่นอนของสงครามการค้าที่มีอยู่สูงและความเสี่ยงด้านต่ำจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย นอกจากนี้ ต้องติดตามประเด็นความ ขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่อาจลุกลามไปนอกเหนือจากภาษีทางด้านการค้า ความเสี่ยงหนี้สาธารณะชนเพดานของ สหรัฐฯ รวมทั้งแผนปรับลดภาษีของสหรัฐฯ
ตลาดหุ้นไทยไตรมาส 2 “SET กลับตัวก็ไม่ได้ ให้เดินต่อไปก็ไปไม่ถึง” แนะนำหุ้นอันดับ 1 ในอุตสาหกรรมที่นักวิเคราะห์เห็นว่าแข็งแกร่ง และมี High Dividend Yield + Profit Growth 68-69 อย่าง SCC CPALL BDMS WHA KCE CK AP SCGP BBL
สายงานวิจัยฯ บริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส จำกัด (ASPS) ในกลุ่มบริษัท เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ASPS ประเมินภาพในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่ต้องติดตาม คือ การเปลี่ยนแปลงการเมืองโลกยุค TRUMP 2.0 เป็นเรื่องที่นักลงทุนให้น้ำหนักมากขึ้น เนื่องจากผลกระทบต่อภาคการค้าระหว่างประเทศ เสี่ยงแพร่กระจายไป ทั่วโลก (ไม่ใช่แค่จีนประเทศเดียว) โดยคาดสหรัฐจะเริ่มปรับขึ้นภาษีนำเข้าในช่วง 2Q68 เป็นต้นไป กดดัน GDP โลกปี 2025F โตต่ำกว่า 3% อย่างไรก็ตามแรงกดดันจากการตั้งกำแพงภาษีสหรัฐที่ไม่มีการตอบโต้กลับกว่า 75 ประเทศ ถูกเลื่อนออกไป 90 วัน ซึ่งอาจหนุนให้เม็ดเงินไหลกลับเข้าสู่ตลาดหุ้นในช่วงสั้นได้ ขณะที่มุมนโยบาย การเงินสหรัฐฯ แม้ FED ส่งสัญญาณ Hawkish เพิ่มขึ้น แต่ในปีนี้ตลาดมองมีโอกาสลดดอกเบี้ยอีก 3 – 4 ครั้ง ตาม ภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจชะลอลง ส่วนเศรษฐกิจไทยปี 68 ประเมินเบื้องต้นอาจกดดัน GDP ไทยชะลอลง ซึ่งคาด ว่าตัวเลขมีโอกาสต่ำกว่า 2.0% จากหลายปัจจัยกดดันทั้งการแข่งขันที่จะรุนแรงขึ้นในตลาดสินค้าโลก ซึ่งจะกระทบ ต่อภาคส่งออกไทยโดยตรง และการลงทุนทางตรงของต่างชาติที่มีความไม่แน่นอนสูง กดดันให้มูลค่า FDI/ BOI มี แนวโน้มลดลง
คุณเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม กรรมการบริหาร บล.เอเซีย พลัส ประเมินว่า ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจดังกล่าว น่าจะเห็น มาตรการที่จะเข้าประคับประคองทั้งนโยบายการคลังที่มีโอกาสเห็นการปรับเพิ่มกรอบวินัยการคลัง จากหนี้ สาธารณะ 70% ของ GDP ให้สูงขึ้น และนโยบายการเงิน ซึ่งน่าจะเห็น กนง.ปรับลดดอกเบี้ยอย่างน้อย 1 ครั้ง เหลือ 1.75% ในการประชุมรอบ 30 เม.ย.68 โดยการดอกเบี้ยลง 25 BPS. ขณะที่ Downside ของ EPS 2568 ของ บริษัทจดจะเบียนไทยยังมีเปิดอยู่ จากราคาน้ำมันดิบโลกที่มีแนวโน้มขาลง และ กลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับ การส่งออก ส่วนตลาดหุ้นไทยช่วง 1Q68 ย่อตัวลงมาลึกเกินไป โดย RETURN (QTD) -15% จนมี VALUATION ถูก มี PBV68F 1.0 เท่า (-2SD) ต่ำสุดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก (MSCI WORLD 2.97 เท่า) และ SET มี DIVIDEND YIELD 68F สูง 4.4% (+1SD) สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และคาดหวังผลตอบแทนในระยะกลาง-ยาวได้ โดยฝ่าย วิจัยฯ ประเมินเป้าหมายดัชนีปลายปี 68 แบบอนุรักษ์นิยม (CONSERVATIVE) ภายใต้ EPS68F ที่ 89 บาทต่อหุ้น, อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2% อิง MEYG 4.5% (+1 SD) ได้ดัชนีเป้าหมายปี 2568 ที่ 1424 จุด ส่วนแนวรับทาง พื้นฐานภายใต้ EPS68F ที่หัก Downside จากค่าเฉลี่ยราคาน้ำมันดิบ WTI ในปีนี้ที่ถูกกว่าปีก่อนหน้าราว 10 เหรียญฯ จะเหลือ 80 บาท/หุ้น และอิง MEYG 5.8% (ระดับสูงสุดตลอดกาล) จะได้แนวรับทางพื้นฐานที่ระดับ 1026 จุด แต่ถ้าลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 1 ครั้ง เหลือ 1.75% จะได้แนวรับทางพื้นฐานที่ระดับ 1060 จุด
กลยุทธ์การลงทุน แนะนำหุ้นอันดับ 1 อุตสาหกรรมที่นักวิเคราะห์เห็นว่าแข็งแกร่ง และมี High Dividend Yield + Profit Growth 68-69 อย่าง SCC CPALL BDMS WHA KCE CK AP SCGP BBL
เส้นอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ไทยแม้เปิด downside มากกว่า upside เนื่องจากอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายยังเป็นขาลง แต่ก็มี room ลงจำกัด คาด yield ทรงตัวไปถึงลงเล็กน้อย จนกว่าจะเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์
ทีมผลิตภัณฑ์ตลาดรอง บริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส จำกัด (ASPS) ในกลุ่มบริษัท เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์จำกัด (มหาชน) หรือ ASPS ประเมินภาพรวมการลงทุนของตลาดตราสารหนี้ไทยแม้ผันผวนมากขึ้นแต่ยังพอไปได้ โดย นักลงทุนยังมีความต้องการลงทุนเพียงแต่จะ selective buy มากยิ่งขึ้น เนื่องจากตลาดมีความกังวลจากการผิดนัด ชำระหนี้ของผู้ออก 3 ราย และ การเลื่อนกำหนดชำระของผู้ออก 9 ราย ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ส่งผลให้ผู้ลงทุน มีความต้องการซื้อตราสารหนี้ไทยที่มีอันดับเครดิตสูงกว่า Investment grade และ มีอายุไม่เกิน 1-3 ปี ยกเว้น Perpetual bonds ที่เป็นที่ต้องการของนักลงทุนทั่วไปอยู่แล้วถ้าบริษัทที่ออกเป็นที่รู้จักและให้ผลตอบแทนไม่ต่ำ กว่า 4.00-5.00% ซึ่งถือว่าสูงเมื่อเทียบกับตราสารหนี้ทั่วไปส่วนใหญ่ที่ให้ผลตอบแทนต่ำกว่า 4.00% โดยยอดคง ค้างตราสารหนี้ไทย ณ. สิ้น Q1/2025 อยู่ที่ 17.5 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.2% จากปีที่แล้ว โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของ พันธบัตรภาครัฐ สวนทางกับยอดคงค้างของตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาว หรือ หุ้นกู้ระยะยาว ที่ปรับลดลง 1.76% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยลงมาอยู่ที่ 203,486 ล้านบาท
สามไตรมาสที่เหลือของปีนี้ มีมูลค่าตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาวครบกำหนด 686,004 ล้านบาท โดยจะครบ ในช่วงไตรมาสสอง 38.17% ช่วงไตรมาสสาม 29.3% และ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ 32.53% ซึ่งจะครบ กำหนดมากสุดในเดือน พฤษภาคม มิถุนายน และ กรกฎาคม โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังครองอันดับหนึ่งของการมี มูลค่าคงค้างตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาวสูงสุด คือ กลุ่มพลังงาน (ENER) ซึ่ง 5 อันดับแรกของกลุ่ม อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าคงค้างตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาวสูงสุด คือ กลุ่มพลังงาน (ENER) กลุ่มเงินทุนและ
หลักทรัพย์ (FIN) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (PROP) กลุ่มพาณิชย์ (COMM) และ กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร (ICT) โดย 5 กลุ่มนี้มียอดคงค้างคิดเป็น 60% ของมูลค่ารวมทั้งตลาด แต่ถ้ามองในมุมของอันดับเครดิต แล้ว หุ้นกู้กลุ่มอันดับเครดิต A มีมูลค่าคงค้างสูงสุด แต่ ถ้ามองทุกอันดับเครดิตรวมกันกว่า 93% เป็นหุ้นกู้กลุ่ม Investment Grade (BBB-) ขึ้นไป
โดย คุณลัพธ์พร ปานะกุล ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์ตลาดรอง คาดว่าตลาดตราสารหนี้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ จะมีการเคลื่อนไหวแบบลงจำกัดอย่างเสียไม่ได้ เนื่องจากการคาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงก์ ชาติ จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก จากระดับ 2.00% ในปัจจุบัน ลงไปอยู่ที่ 1.50-1.75% ซึ่งโดยปกติแล้ว ตลาดจะมีการเคลื่อนไหวเพื่อรองรับการคาดการณ์ล่วงหน้า สังเกตได้จากอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล ไทยอายุไม่เกิน 3 ปี ที่ตอนนี้อยู่ในช่วง 1.55-1.71% โดยล่าสุดตลาดคาดว่าแบงก์ชาติจะปรับลดดอกเบี้ยลงอีก ในช่วงกลางปีลงไป โดยเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ณ สิ้นไตรมาสแรก มีการปรับตัวลงตั้งแต่ช่วง ปลายเดือนกุมภาพันธ์หลัง กนง ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงเร็วกว่าตลาดคาดส่งผลให้ อัตราผลตอบแทนภาครัฐ อายุ 2-10 ปี ปรับลง 31-35 bps มาอยู่ที่ 1.69%, 1.74% และ 1.99% ตามลำดับ ณ สิ้นไตรมาสแรกของปีนี้
ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนที่แนะนำสำหรับการลงทุนในช่วงที่เหลือของปีนี้ ภายใต้สภาวะตลาดที่ผันผวน เนื่องจาก ปัจจัยเสี่ยงมากมายทั้งภายในและภายนอก เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หนี้เสีย ภาวะเศรษฐกิจที่โตต่ำ และ สงครามการค้าทั่วโลก จึงกดดัน yield ระยะสั้นให้โงหัวไม่ขึ้นตามการคาดการณ์การปรับตัวลงของดอกเบี้ย นโยบาย แต่อย่างไรก็ตามตลาดพร้อมดีดตัวกลับอย่างเร็วและแรงเมื่อเห็นสัญญาณ bottom out ของภาวะ ดอกเบี้ย จึงแนะนำให้ selective buy ตามวัตถุประสงค์การลงทุน ถ้าวัตถุประสงค์เพื่อ trading แนะให้ซื้อตราสาร หนี้ภาครัฐ โดยความเสี่ยงจากการขาดทุนจะมากขึ้นตามอายุตราสาร ดังนั้น จึงแนะนำให้ trade พันธบัตรที่อายุ ไม่เกิน 5 ปี แต่ถ้าวัตถุประสงค์ Buy and Hold แนะให้ซื้อ Perpetual bonds หรือ หุ้นกู้ที่อันดับเครดิตสูง ใน อุตสาหกรรมที่เกี่ยวพันกับปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิต อย่างเช่น อาหารและเครื่องดื่ม (Food), การแพทย์ (Helth), ธุรกิจการเกษตร (Agri) เป็นต้น
“ลงทุนอย่างมั่นใจ...ในวันที่โลกไม่มีความแน่นอน”
ในวันที่โลกเต็มไปด้วยความผันผวน ราคาหุ้นเหวี่ยงแบบไร้ทิศทาง ข่าวลบถาโถม แต่ถ้านักลงทุนเข้าใจหลักการ ของ Regression to the Mean ว่า"ทุกความสุดโต่ง... ไม่ช้าก็จะกลับเข้าสู่สมดุล” พายุกระหน่ำวันนี้สุดท้ายก็จะ ผ่านไปและฟ้าหลังฝนสวยงามเสมอ ดังนั้นใน Q2/2025 นี้ ASP ขอแนะนำ 4 กองทุน 1.UGIS-N 2. SCBCEH 3. K-GSELECT 4. KFGDIV-A พิชิตทุกความความผันผวนและสร้างผลตอบแทนที่ดีในปีนี้
ในไตรมาส 2 ปี 2025 จากสถานการณ์ “Reciprocal"จากปธน.โดนัลล์ ทรัมป์ ซึ่งสร้างความปั่นป่วนต่อการลงทุน ไปทั่วโลก ทีม Investment Advisory แนะนำ เปิดเกมรุกด้วยกลยุทธ์. “รับให้แน่น - รุกให้หนัก” เพื่อรับมือกับ ภาวะเศรษฐกิจโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน โดยเน้นการกระจายความเสี่ยงอย่างรอบคอบ พร้อมคัดเลือก สินทรัพย์คุณภาพสูงเพื่อตอบรับสัญญาณเข้าสู่ช่วงปลายของวัฏจักรเศรษฐกิจ ตามมุมมองของ Fidelity Investment การปรับพอร์ตในเวลานี้จึงไม่ใช่แค่การป้องกันความเสี่ยง แต่คือโอกาสในการเสริมความแกร่งให้ พอร์ตในระยะยาว
แนะนำ 4 กองทุนเด่น ที่ออกแบบให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงและเป้าหมายของนักลงทุน ได้แก่
1. UGIS-N ลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพทั่วโลกผ่าน PIMCO GIS Income Fund - ซื้อทันที
2. SCBCEH ลุยหุ้นจีนขนาดใหญ่ผ่าน Hang Seng H-Share Index ETF – ซื้อทันที
3. K-GSELECT คัดหุ้น Defensive จากประเทศพัฒนาแล้ว โดยเน้นสหรัฐฯ - ทยอยสะสม
4. KFGDIV-A ลงทุนในหุ้น Defensive ปันผลทั่วโลก สร้างกระแสรายได้มั่นคง - ทยอยสะสม
ธีมหลักคือ "รอบคอบแต่ไม่ถอย" เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเสริมพอร์ตให้แข็งแรงในระยะกลางถึงยาว พร้อมสร้าง สมดุลระหว่าง รายได้สม่ำเสมอและการเติบโตที่ยั่งยืน ท่ามกลางกระแสเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน