ดร.กอบศักดิ์ แนะ 5 ธีมลงทุน รับมือเศรษฐกิจถดถอย หวังพลิกวิกฤตเป็นโอกาส

ดร.กอบศักดิ์ แนะ 5 ธีมลงทุน รับมือเศรษฐกิจถดถอย หวังพลิกวิกฤตเป็นโอกาส
"โลกเผชิญหน้า เศรษฐกิจถดถอย  อัตราดอกเบี้ยสูง เราจะบริหารเงินอย่างไร?"  โอกาสการลงทุนต่อจากนี้ หลังเราผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมาแล้วกว่า 1 ปี

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และประธารกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "โลกเผชิญหน้า เศรษฐกิจถดถอย  อัตราดอกเบี้ยสูง เราจะบริหารเงินอย่างไร?"  

โดยให้มุมมองว่า สำหรับโอกาสการลงทุนต่อจากนี้จะมีมากขึ้น หลังเราผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมาแล้วกว่า 1 ปี  ที่สำคัญการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ใกล้สิ้นสุดแล้ว โดยปัจจุบันดอกเบี้ยนั้นอยู่ในกรอบ 6% ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในรอบสองปี รวมถึงเงินเฟ้อเริ่มปรับตัวลดลง ซึ่งหลังจากนี้คาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกสักระยะในการเข้าสู่ช่วงฟื้นตัวของเศรษฐกิจ 

สำหรับประเด็นสำคัญที่เฟดจับตามองมีอยู่ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. เรื่องของแนวโน้มเงินเฟ้อ  2. ความตึงตัวของตลาดแรงงาน : ซึ่งตัวเลขการจ้างงานปัจจุบันยังห่างไกลจากอดีตที่การจ้างงานมีการติดลบจนทำให้งินเฟ้อปรับตัวลดลง และ 3.ภาวะสินเชื่อตึงตัว (Credit Tightening)อย่างไรก็ตามมองว่าเฟดจะคงดอกเบี้ยนานกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้อย่าน้อย 3-4 ไตรมาส ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่า ซึ่งจะกดดันเงินสกุลอื่น ๆ ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามคาดว่ากลางปีหน้าจะเห็นภาพของดอกเบี้ยที่ปรับตัวลดลง 

ทั้งนี้ยังมีอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามคือการที่เศรษฐกิจเข้ากำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) โดยคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาส 4/2566 - ไตรมาส 1/2567 แต่มองว่าจะมีการติดลบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งจุดนี้จะส่งผลกระทบทบต่อผู้ประกอบการบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐซึ่งจะต้องมีการปรับประมาณการเป้าหมายการเติบโตใหม่อีกครั้ง รวมถึงช่วงที่ผ่านมาตัวเลขการผลิต (PMI)ของประเทสจีนยังได้มีการปรับตัวลดลง และส่งออกทั่วโลกยังมีการปรับตัวลดลงด้วย ซึ่งส่งผลกระทบต่อหุ้นกลุ่มส่งออก 

ดร.กอบศักดิ์ ได้แนะนำการบริหารเงินจาก 5 ทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ ดังนี้

1. ตลาดหุ้น : มองว่าน่าสนใจ้เป็นอย่างมากในการลงทุนเนื่องจากดัชนีปรับตัวตัวลงไปค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับปีก่อน และยังมีประเด็นเรื่องการเมืองเข้ามากดดันเพิ่ม 

2. พันธบัตร : ได้รับประโยชน์จากเงินเฟ้อที่เริ่มลดลง ซึ่งเฟดคงอัตราดอกเบี้ยซึ่งเป็นเป้าหมายต่อไป

3. ทองคำ : เป็นสินทรัพย์ที่สามารถทำจุดสูงสุดใหม่ ( New Hight)ได้ในช่วงวิกฤตเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ทั้งในเรื่องโควิด-19 สงรคามยูเครน-รัสเซีย และเรื่องแบงก์สหรัฐฯ

4.บิทคอยด์ (BTC): ปัจจุบันบิทคอยด์อยู่ในช่วงของวิกฤต แต่อย่างไรก็ตามเชือว่าฝ่ายกำกับดูแลจะมีการเข้ามาควบคุมให้สินทรัพย์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อไม่ให้นักลงทุนเกิดความเสี่ยงจากการลงทุน

5.เงินฝาก : จากดอกเบี้ยที่คาดจะปรับตัวขึ้นในอีก 3 เดือนข้างหน้า โดยคาดว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) น่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีกสัก 1 ครั้ง ในการประชุมเดือนส.ค. ก่อนจะเข้าสู่ช่วงคับขันของเศรษฐกิจโลก    

 

 

TAGS: #วิกฤตเศรษฐกิจ