ปั้น Start Up ให้อยู่รอดทุกวิกฤต ด้วยกลยุทธ์ Sustainable แบบ JITTA

ปั้น Start Up ให้อยู่รอดทุกวิกฤต ด้วยกลยุทธ์ Sustainable แบบ JITTA
“จิตตะ” (JITTA) สตาร์ทอัพฟินเทคสัญชาติไทย กับกลยุทธ์การบริหารธุรกิจแบบ “Sustainable” ที่ทำให้บริษัทสามารถอยู่รอดได้นานกว่า 11 ปี

ก่อนหน้านี้กระแส start up ในประเทศไทยมาแรง ซึ่งหลายคนจะพูดถึง Ecosystem ของ start up ในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแหล่งเงินทุน  ไอเดีย การพัฒนา product และคนไทยก็ที่มีความคิดที่อยากจะกลับมาพัฒนาตัว product ในประเทศมากขึ้น

แต่การทำ start up ให้อยู่รอดไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมี start up หลายรายที่ได้โบกมือลาหลังจากเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจทั้งในเรื่องของ โควิด-19 เงินเฟ้อ และดอกเบี้ย บทความนี้ The Better จะพาไปพูดคุยกับ “พรทิพย์ กองชุน” ผู้ร่วมก่อตั้งและ Chief Growth Officer (CGO) ของ “จิตตะ” (JITTA) สตาร์ทอัพฟินเทคสัญชาติไทย กับกลยุทธ์การบริหารธุรกิจแบบ “Sustainable” ที่ทำให้บริษัทสามารถอยู่รอดได้นานกว่า 11 ปี

 

พรทิพย์ เล่าให้ฟังว่า อันดับแรก เราต้องทำธุรกิจให้ Sustainable ก่อน เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เพราะเมื่อไหร่ที่เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ เราจะควบคุมได้ยากเพราะเป็นสิ่งที่นอกเหนือจากที่เราจะจัดการได้ ซึ่งสิ่งที่ “จิตตะ” ทำในเชิงกลยุทธ์คือสร้าง product ให้แข็งแรง และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

 

อันดับสอง นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยต่อยอดพัฒนาธุรกิจ อย่างปัจจุบันเราจะโฟกัสเรื่องธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนด้านการลงทุน และการเงิน หลังประชาชนในยุคนี้ส่วนใหญ่เกือบทุกเจนเนอร์เรชั่นต้องการความมั่งคั่งและมั่นคงในชีวิต ยิ่งเกิดสถานการณ์โควิด-19 ทำให้หลายคนตระหนักในการใช้เงินและต้องการมีเงินเก็บมากกว่าเดิมเพื่อรองรับวิกฤติฉุกเฉิน หรือเพื่อการลงทุนระยะยาว

 

นอกเหนือจากเรื่องของการลงทุน การทำประกันสุขภาพ หรือประกันอุบัติเหตุ ก็สำคัญเช่นกัน ดังนั้นการบริหารจัดการเงินในมือให้ดีและมีประสิทธิภาพจึงจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับ Jitta Wealth ได้นำเทคโนโลยีมาบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนให้กับลูกค้า และปัจจุบันจิตตะได้มีการขอใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนสมัยใหม่ที่มี business model ในการบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยี ทำให้ค่าธรรมเนียมต่ำอยู่ที่ 0.5 % ซึ่งจะทำให้ลูกค้ามีกำไรมากขึ้น และการนำเทคโนโลยีเข้าสามารถทำให้ scale ขยายได้เยอะขึ้น ส่งผลให้ปัจจุบันเรามีจำนวนกองทุนส่วนบุคคล (private fund) ที่บริหารอยู่ประมาณหกหมื่นสามพันกว่าบัญชี ซึ่งถือว่าเป็นอันดับ 1 ของกองทุนส่วนบุคคลของประเทศไทย

 

 

**บทเรียนวิกฤตต่าง ๆ  กับเส้นทางหลังจากนี้ของ Start Up ไทย**

 

ผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจถดถอยหรือว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมาแน่นอนว่าสงผลให้ start up ที่โดนผลกระทบล้มหายไปไม่น้อย แต่ก็เป็นโอกาสของ start Up บางรายเช่นกัน อย่างสถานการณ์โควิด-19 บริษัทที่ทำเกี่ยวกับดิจิทัลเติบโตขึ้นอย่างมากไม่ว่าจะเป็น Healthcare , diliverly , E-commerce ดังนั้น ต่อให้เศรษฐกิจถดถอยบางธุรกิจที่เป็น start up ก็ยังอยู่ได้ดี ซึ่งจิตตะก็เป็นหนึ่งใน start up ที่ได้อานิสงค์จากตรงนั้นเพราะทุนคนสามารถลงทุนออนไลน์ทั่วโลกได้แล้ว

 

เราก็จะเห็นว่า start up ที่ได้อานิสงค์บางรายก็ยังอยู่ในประเทศไทยเช่นเดียวกัน คนที่อยู่รอดคือคนที่่สามารถมองเห็นตัวของเทคโนโลยี ความต้องการของคนที่เติบโตไปด้วยได้แล้วเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้  หรือกลุ่มคนที่ทำ start up ดั้งเดิมแล้วอาจจะไม่ตอบโจทย์ในสถานการณ์ปัจจุบัน ก็เริ่มที่จะปรับตัวและหา solution อื่น ๆ เข้ามาทดแทน

 

**มุมมองการเข้าลงทุนใน start up ของ corporate ใหญ่**

 

ส่วนตัวมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่แย่ เพราะถ้าถอยกลับมาดูภาพรวมของ industry ในเมืองไทยมีองค์กรใหญ่ค่อนข้างเยอะและถึงแม้ประเทศไทยจะมี SME จำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตาม ณ ตอนนี้องค์กรขนาดใหญ่ยังถือว่าเป็นผู้ที่ขับเคลื่อนธุรกิจของประเทศมากกว่า ซึ่งการที่ start up บางรายที่มีไอเดียพร้อมพัฒนาและต้องการเติบโต การที่เข้าไปอยู่ภายใต้องค์กรขนาดใหญ่ก็มีข้อดีในรื่องของการ support ทั้งคนทั้ง know-how knowledge และทุนต่างๆได้ดีกว่า จึงส่งผลให้บางคนตัดสินใจไปอยู่ภายใต้ตรงนี้ดีกว่าที่จะอยู่แบบ stand alone และยังเป็นการช่วยสนับสนุนให้องค์กรเหล่านั้นเติบโตได้เร็วอีกด้วย 

 

 

 

TAGS: #StartUp