พนักงานออฟฟิศทุกคนต้องประสบปัญหาออฟฟิศซินโดรมปวดคอ บ่า ไหล่ จนกลายเป็นเรื่องปกติ แต่การปวดคอบางครั้งเราไม่ควรชะล่าใจ เพราะอาจจะนำไปสู่โรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอกดทับเส้นประสาท หรือไขสันหลังได้
“หมอนรองกระดูก” นั้นเป็นอวัยวะที่ขั้นอยู่ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อ โดยมีหน้าที่เป็นตัวรับน้ำหนักและรับแรงกระแทกที่ถูกถ่ายทอดลงมาจากกระดูกสันหลังชิ้นบนที่จะส่งผ่านต่อลงไปที่กระดูกสันหลังชิ้นล่าง หมอนรองกระดูกของร่างกายคนเราจะมีทั้งหมด 23 ชิ้น มีลักษณะรูปร่างกลมรี ซึ่งจะมีทั้งขนาดใหญ่จนถึงขนาดเล็ก โดยขนาดของหมอนรองกระดูกจะขึ้นอยู่กับรูปร่างของกระดูกสันหลัง และตำแหน่งที่อยู่ของร่างกาย โดยโรคหมอนรองกระดูกสันหลังแบ่งอาการออกเป็น 2 กลุ่มคือ
- อาการของการกดทับเส้นประสาท ปวดต้นคอ ร้าวไปตามต้นแขน
โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังเผยถึงสาเหตุ และพฤติกรรมเสี่ยงของการใช้คอผิดลักษณะโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท เกิดขึ้นได้ทั้งจากอุบัติเหตุ และจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งส่วนที่เกิดจากอุบัติเหตุ มีการบาดเจ็บและทำให้หมอนรองกระดูกบริเวณต้นคอ มีการเคลื่อน หรือกดทับไขสันหลังหรือเส้นประสาท
สำหรับกลุ่มที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตพบได้บ่อยๆ คือกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเรื่องของการใช้คอ ใช้กล้ามเนื้อแผ่นหลังที่ผิดลักษณะ เช่น
- พฤติกรรมการใช้คอผิดท่านานเกิน 2 ชั่วโมง เช่น ก้มคอ พับคอ เงยคอ
- พฤติกรรมความรุนแรง เช่น สะบัดคอ โยกคอ หรือวางของไว้บนศีรษะ
- โครงสร้างไม่สมดุล ตั้งแต่แรกเกิด เช่น กระดูกคอคด
- อาการของการกดไขสันหลัง ขาอ่อนแรง ชาตามลำตัว และลามไปถึงขาทั้งสองข้าง
ข้อมูลจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์กล่าวว่า อาการของการกดไขสันหลังมักจะแสดงออกในรูปแบบของความสามารถในการทำงานละเอียดๆ ลดลง, ความแม่นยำในการควบคุมนิ้วมือ แขนขาด้อยลง, ความเร็วในการพิมพ์สัมผัสช้าลง, เล่นดนตรีในเพลงยากๆ ได้ไม่เหมือนเดิม, การทรงตัวขณะเดินไม่ดีเหมือนเดิม หรือแม้กระทั่งล้มบ่อยๆ โดยไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด
โรคหมอนรองกระดูกทับไขสันหลังเป็นโรคที่คล้ายกับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แต่แตกต่างที่การดำเนินโรคช้า เพราะเกิดจากความเสื่อมตามอายุที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้น อาจจะใช้เวลาหลายปีกว่าอาการจะมากจนรู้สึกได้ นอกจากนั้นก็ยังเป็นปัจจัยทางกายวิภาคของไขสันหลังเองที่เส้นใยประสาทรับความรู้สึกจะอยู่ทางด้านหลังเมื่อถูกกดทับอาการปวดจึงไม่เด่น
การรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอกดทับเส้นประสาท หรือ ไขสันหลัง
ในภาวะที่มีเพียงการกดทับเส้นประสาท โดยไม่มีการกดทับไขสันหลัง จะทดลองรักษาด้วยวิธีการไม่ผ่าตัดก่อนเสมอ แต่ภาวะการกดทับไขสันหลังเป็นหนึ่งในข้อยกเว้นที่มักจะแนะนำให้คนไข้เข้ารับการผ่าตัดตั้งแต่ยังมีอาการน้อยๆ เพราะหากรอให้เกิดเหตุไม่คาดฝันเสียก่อน การฟื้นตัวอาจจะทำได้ยากมาก
การผ่าตัดโรคนี้ในยุคปัจจุบันเราผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์ทั้งหมดการฟื้นตัวหลังผ่าตัดจึงไว พักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพียงวันเดียวก็สามารถออกจากร.พ. ได้