การเสพติดการเล่นพนัน อาจมีต้นตอจากโรคจิตเวช หรือบางรายอาจมาจากยาที่รักษาโรคจิตเวชที่ทำให้เกิดการขาดความยับยั้งชั่งใจ
การเสพติดนั้นมีหลายประเภท บางรายเสพติดการศัลยกรรม เสพติดกราซื้อของออนไลน์ หรือแม้กระทั่งการเสพติดการรับประทานของหวาน หรือน้ำหวาน ยาเสพติด แต่การเสพติดที่นำโทษร้ายแรงอย่างการเล่นพนันนั้นจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ของโรคจิตเวช ทางเฟซบุ๊ค Neurologist P โพสต์ข้อความเกี่ยวกับภาวะเสพติดการพนันว่า
"เดิมทีโรคติดการพนันตามเกณฑ์การวินิจฉัยของโรคจิตเวชจะจัดอยู่ในกลุ่มโรคความผิดปกติเกี่ยวกับความยับยั้งชั่งใจ (impulse control disorder) แต่เนื่องจากที่กล่าวมาแล้วว่าการติดการพนันไม่ได้เกิดจากสมองส่วนที่ควบคุมการยับยั้งชั่งใจผิดปกติ (prefrontal cortex) แต่เกิดจากการกระตุ้นของระบบรางวัล (reward system – nucleus accumben กับ การสื่อประสาท dopamine)
คล้ายกับการได้รับสารภายนอกที่เข้าไปกระตุ้นระบบนี้เช่นกัน จึงเปลี่ยนมาอยู่ในกลุ่มความผิดปกติเกี่ยวกับการเสพติด (Substance-Related and Addictive Disorders) และใช้ชื่อ Gambling disorder แทน pathologic gambling อนึ่งกิจกรรมที่สามารถกระตุ้นระบบรางวัลในสมอง เช่น การเล่นเกมส์ การไลฟ์สด การช็อปปิ้ง การกระทำใดๆโดยเฉพาะที่ได้รับสิ่งตอบแทนเป็นของมีค่า ได้ง่ายๆ ย่อมเสพติดเป็นธรรมดา แต่ก็ไม่ใช่ว่ามันไม่ดีเสมอไปนะ แค่มันต้องฝึกการคิดไตร่ตรองให้มากขึ้นไปด้วย"
ภาวะเสพติดการพนันนั้น เป็นความเจ็บป่วยทางจิตเวช ที่สมาคมแพทย์อเมริกันได้ให้คำจำกัดความในการวินิจฉัยโรคไว้ โดยงานวิจัยได้พบว่า วงจรการทำงานของสมองของผู้ติดการพนันมีลักษณะที่ต่างจากคนทั่วไป มีการทำงานของสารสื่อประสาทในสมองโดปามีนเสียสมดุล จนสร้างปัญหาทางด้านสุขภาพจิตและจิตเวช ซึ่งผู้ติดการพนันมีแนวโน้มจะมีความสัมพันธ์กับโรคทางจิตเวชอาทิเช่น โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive disorder: OCD) และ ADHD เป็นต้น
แต่ภาวะขาดความยับยั้งชั่งใจ (impulsive compulsive behaviors, ICBs) อาจเกิดจากการรับยาเพื่อการรักษาจนเกิดปฏิกิริยาที่เรียกว่า Impulsive-compulsive behaviors (ICBs) กลุ่มอาการขาดความยับยั้งชั่งใจ กลุ่มอาการที่ผู้ป่วยขาดความยับยั้งในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดผลเสียต่อตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัวหรือผู้ดูแล ซึ่งมักเป็นผลจากการใช้ยารักษาโรคพาร์กินสัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งยากลุ่มเสริมตัวรับโดปามีน ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันพบอุบัติการณ์ของการเกิดอาการดังกล่าวประมาณร้อยละ 13.6 ในขณะที่ประชากรปกติพบอุบัติการณ์ของการเกิดประมาณร้อยละ 1 ของประชากร แม้ว่าสิ่งนั้นจะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อตนเองหรือผู้อื่นก็ตาม
โดยอาการที่เจอได้บ่อยคืออาการ เล่นการพนัน (pathological gambling), ความต้องการทางเพศสูง (hypersexuality), อาการซื้อของมากผิดปกติ (compulsive shopping) และ การรับประทานอาหารมากผิดปกติ (compulsive eating) เป็นต้น
โรคขาดความยับยั้งชั่งใจสัมพันธ์กับยารักษาโรคพาร์กินสันใช่หรือไม่ โรคขาดความยับยั้งชังใจสามารถพบได้ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันได้ ไม่ว่าจะได้รับการรักษาโดยวิธีใดก็ตาม อย่างไรก็ตามโรคขาดความยับยั้งชั่งใจส่วนมากแล้วมักจะพบในผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่มที่เรียกว่า Dopamine agonists ดังนี้
- Pramipexole
- Ropirinole
- Rotigotine
โรคขาดความยับยั้งชั่งใจนี้สามารถพบในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันทีไม่ได้รับการรักษาเลยหรือได้รับการรักษาด้วยยาอื่นๆได้เช่นเดียวกัน แต่พบไม่บ่อยนัก แพทย์ใช้ยารักษาโรคพาร์กินสันโดยเฉพาะ ยากลุ่มเสริมตัวรับโดปามีน และการเพิ่มขนาดยาโดยรวมทั้งหมดในผู้ป่วยพาร์กินสันอีกด้วย เนื่องจาก ยารักษาโรคพาร์กินสันชนิดอื่นก็สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการ ICBs ได้เช่นกัน แต่พบในสัดส่วนที่น้อยกว่ายากลุ่มเสริมตัวรับโดปามีน