ความเฉื่อยชาใน “วัยกลางคน” ที่ใครๆ ต้องพบเจอ

ความเฉื่อยชาใน “วัยกลางคน” ที่ใครๆ ต้องพบเจอ
ต่อสู้กับความซบเซาในวัยกลางคน จัดการกับเป้าหมายยุบยิบทิ้งไป แล้วหันหน้าโฟกัสกับสิ่งสำคัญให้บรรลุ หรือไม่ก็ไม่ต้องทำอะไรเลย

เบรเน บราวน์ นักเขียนและอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยฮุสตันนิยาม “วัยกลางคน” ไว้ว่า “ช่วงเวลาที่จักรวาลคว้าไหล่ของคุณและบอกกับคุณว่า ฉันไม่ได้ล้อเล่น ใช้พรสวรรค์ที่คุณได้รับไปซะ”

เดเนียล เอช.พิงค์ ผู้เขียนหนังสือวิทยาศาสตร์บนเข็มนาฬิกา เสนอแนวทางการปรับตัวในช่วงวัยกลางคนที่คนส่วนใหญ่มักจะติดปัญหากลับตัวก็ไม่ได้ จะเดินต่อไปก็ไปไม่ถึง จะต้องทำตัวอย่างไรเมื่อถึงเวลาที่จักรวาลคว้าไหล่ของเรา แม้เรายังไม่พร้อมที่จะไป

จัดลำดับความสำคัฯให้กับเป้าหมายสูงสุด (เทคนิคของบัฟเฟตต์) 

วอร์เรน บัฟเฟตต์ถือเป็นอีกคนที่รับมือกับความซบเซาในช่วงวัยกลางคนได้อย่างดี  เขาเสนอวิธีเยียวยา 3 ขั้นตอน คือ

ขั้นแรก เขียนเป้าหมายสูงสุด 25 อันดับแรกสำหรับตลอดชีวิตที่เหลือ

ขั้นที่ 2 จากเป้าหมาย 25 อันดับให้วงกลมเป้าหมายสูงสุด 5 อันดับแรก หรือเป้าหมายที่มีความสำคัญสูงสุดสำหรับคุณอย่างไม่ต้องสงสัย ดังนั้นตอนนี้คุณจะมีชุดเป้าหมายในชีวิต 2 ชุด ชุดแรกคือ เป้าหมายสูงสุด 5 อันดับแรก ชุดที่สองคือเป้าหมายสูงสุด 20 อันดับถัดไป

ขั้นที่ 3 ให้เริ่มต้นวางแผนทันทีว่าจะบรรลุเป้าหมาย 5 อันดับแรกอย่างไร ส่วนอีก 20 อันดับ ทิ้งมันไปได้เลย! ไม่ต้องลังเล ไม่ต้องเผื่อใจ อย่าเสียเวลากับเป้าหมายเหล่านั้นจนกว่าเราจะบรรลุเป้าหมายสูงสุด 5 อันดับแรกของเรา

การทำสิ่งสำคัญไม่กี่อย่างได้ดีมีแนวโน้มสูงกว่าอย่างมากที่จะผลักดันให้เราหลุดพ้นจากความซบเซาเมื่อนับกับโครงการอีกสิบอย่างที่ทำครึ่งๆกลางๆ ให้มันเสร็จๆ

พัฒนาการให้คำปรึกษาในช่วงกึ่งกลางอาชีพภายในองค์กร

การให้คำปรึกาาด้านอาชีพโดยส่วนใหญ่แล้วมักเกิดขึ้นเมื่อคนเรายังใหม่ในสายอาชีพดังกล่าว ฮันเนส ชแวนต์ มหาวิทยาลัยซูริกกล่าวว่า การเข้าใจว่าเราไม่จำเป็นต้อรับการอบรมในอาชีพที่เราคล้ำหวอดมาระยะนึง การให้คำปรึกษาแบบเป็นทางการและเฉพาะเจาะจงแก่พนักงาน “ตลอดอาชีพการทำงาน” มีประโยชน์ สองอย่างความสุขเป็นสิ่งที่พวกเราส่วนใหญ่ต้องพบเจอ การพูดคุยเกี่ยวกับความซบเขาอย่างเปิดเผยอาจช่วยให้เราตระหนักว่าการประสบกับความเบื่อหน่ายในช่วงกึ่งกลางอาชีพไม่ใช่เรื่องเสียหาย

อย่างที่สอง พนักงานที่มีประสบการณ์มากกว่าสามารถเสนอกลยุทธ์เพื่อรับมือกับความซบเซาได้ และ เพื่อนร่วมงานก็สามารถให้คำแนะนำซึ่งกันและกันได้ไม่ว่าจะเป็นคำแนะนำว่าพวกเขาได้ทำอะไรไปบ้างเพื่อสอดแทรกจุดมุ่งหมายกลับเข้าไปในงานของตัวเองอีกครั้งหรือพวกเขาสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมายในที่ทำงานหรือนอกที่ทำงานอย่างไร

ลบเหตุการณ์ด้านบวกในใจ

ในโลกแห่งวัยกลางคนบางครั้งการลบอาจทรงพลังมากกว่าการบวก ในปี 2008 นักจิตวิทยาสังคมสี่คนได้หยิบยืมแนวคิดจากภาพยนตร์เรื่อง It's a Wonderful Life เพื่อใช้นำเสนอเทคนิคใหม่ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดเรื่องนี้"จงเริ่มต้นด้วยการคิดถึงเหตุการณ์ด้านบวกสักอย่างในชีวิตของคุณ เหตุการณ์นั้นอาจจะเป็นการคลอดลูกคนแรก ชีวิตคู่ของคุณ หรือความสำเร็จครั้งใหญ่ในอาชีพการงานก็ได้ จากนั้นให้เขียนสถานการณ์ทั้งหมดที่ทำให้เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นไปได้ มันอาจจะเป็นการตัดสินใจที่ดูเหมือนไม่สลักสำคัญอะไรอย่างการเลือกร้านอาหารค่ำในคืนหนึ่ง หรืออาจจะเป็นชั้นเรียนที่คุณตัดสินใจลงทะเบียนเรียนอย่างหุนหันพลันแล่น หรืออาจจะเป็นเพื่อนของเพื่อนของเพื่อนคุณซึ่งบังเอิญบอกคุณเกี่ยวกับประกาศรับสมัครงาน

จากนั้นให้เขียนรายการเหตุการณ์ สถานการณ์และการตัดสินใจทั้งหมดที่อาจไม่มีวันเกิดขึ้น จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณไม่ได้ไปงานเลี้ยงครั้งนั้น เลือกเรียนวิชาอื่น หรือไม่ได้ไปดื่มกาแฟกับลูกพี่ลูกน้อง ลองจินตนาการถึงชีวิตของคุณที่ไม่มีเหตุการณ์ต่อเนื่องเหล่านั้นดู และที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ลองจินตนาการถึงชีวิตของคุณที่ไม่มีเหตุการณ์ด้านบวกครั้งใหญ่ในชีวิต

ทีนี้ให้กลับมายังปัจจุบันและย้ำเตือนตัวเองว่าชีวิตที่ผ่านมาของคุณดำเนินไปในทางที่คุณอยากให้เป็นอยู่แล้วลองนึกถึงความไร้แบบแผนอันงดงามและแสนสุขที่นำผู้คนหรือโอกาสเข้ามาในชีวิตของคุณ จงถอนหายใจด้วยความโล่งอก แล้วส่ายศีรษะให้กับความโชคดีของตัวเอง จงซาบซึ้งกับมัน ชีวิตของคุณอาจยอดเยี่ยมกว่าที่คุณคิดก็ได้

เขียนแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อตัวเอง

เรามักแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อคนอื่นมากกว่า แต่ศาสตร์ที่เรียกว่า "ความเห็นอกเห็นใจต่อตัวเอง"แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มเช่นนี้อาจทำลายความสุขของเราและบ่อนทำลายความยืดหยุ่น" นั่นคือเหตุผลที่นักวิจัยในด้านนี้แนะนำแนวทางปฏิบัติต่อไปนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ จงเริ่มต้นด้วยการระบุอะไรสักอย่างเกี่ยวกับตัวเองที่ทำให้คุณรู้สึกเสียใจ ละอายใจ หรือผิดหวัง(อาจเป็นเรื่องที่คุณโดนไล่ออก สอบตก ทำลายความสัมพันธ์ หรือทำให้การเงินของตัวเองมีปัญหาก็ได้)

แล้วเขียนบรรยายแบบเฉพาะเจาะจงว่าเรื่องนั้นทำให้คุณรู้สึกอย่างไร จากนั้นให้เขียนอีเมลหาตัวเองสักสองย่อหน้าเพื่อแสดงความเห็นอกเห็นใจหรือเข้าใจในเรื่องดังกล่าวซึ่งเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งในชีวิตของคุณลองจินตนาการว่าคนที่ห่วงใยคุณจะพูดอย่างไร เขาอาจมีจิตใจที่เมตตามากกว่าคุณก็ได้ 

อันที่จริงคริสติน เนฟฟ์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทกซัสเสนอแนะให้คุณเขียนจดหมาย "จากมุมมองของเพื่อนในจินตนาการที่รักคุณอย่างไม่มีเงื่อนไข" แต่จงนำความเข้าใจไปผสมผสานกับการลงมือทำด้วย เพิ่มข้อความสองสาม

ประโยคเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่คุณสามารถทำได้ในชีวิตและวิธีที่คุณจะสามารถพัฒนาตัวเองในอนาคตจดหมายแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อตัวเองจะทำหน้าที่เหมือนกับผลสืบเนื่องแบบย้อนกลับของหลักปฏิบัติตัวต่อผู้อื่นที่เรียกว่า "กฎทองคำ" นั่นคือ มันเสนอวิธีปฏิบัติต่อตัวเองแบบที่คุณจะปฏิบัติต่อผู้อื่น

รอคอย

บางครั้งวิธีการลงมือทำที่ดีที่สุดก็คือ “ไม่ทำอะไรเลย” วิธีนี้อาจทำให้รู้สึกทรมาน แต่การไม่เคลื่อนไหวเลยอาจเป็นแนวทางที่ถูกต้องก็ได้ ความซบเซาเป็นเรื่องปกติ แต่มันก็มีอายุสั้น การหลุดพ้นจากความซบเซาเป็นเรื่องปกติเช่นเดียวกับตอนที่เราตกอยู่ในความซบเซาขอให้คิดเสียว่ามันเหมือนไข้หวัด มันอาจรบกวนเราแต่สุดท้ายแล้วมันจะหายไป

 

TAGS: #จิตวิทยา #วัยกลางคน