ความกลัวที่จะมีความสุขมาจากความเชื่อที่ว่าความสุขไม่สามารถมั่นคงหรือคงที่ได้ และความสุขนั้นจะทำให้ผิดหวัง
เคยมีอาการ “กลัวความสุข” กันหรือไม่ อย่างเช่น หลังจากได้รับคำชมในที่ทำงาน ก็เกิดอาการแทบจะหายใจไม่ออก กังวลว่าจะทำอย่างไรให้งานต่อไปที่ต้องทำพังไปหมด หรือในสถานการณ์เที่ยวกับคนรักมีความสุขมาก แต่อีกใจก็กังวลว่าเหมือนคลื่นสงบก่อนพายุจะมากลัวจะผิดใจแล้วทะเลาะกัน แม้กระทั่งได้ปาร์ตี้กับเพื่อนแต่ก็ดันกลัวขึ้นมาว่สเพื่อนจะแอบนินทาว่าไม่ชอบเรา
หลายคนมักประสบกับความกลัวที่จะมีความสุขอย่างไม่มีเหตุผล มันถูกเรียกว่า cherophobia ซึ่งแปลว่า "กลัวความยินดี" อย่างแท้จริง ผู้เชี่ยวชาญบางรายกล่าวว่าเป็นโรควิตกกังวล แม้ว่าจะไม่ได้กำหนดโดย DSM-5 ก็ตาม
ความเชื่อที่ว่าความสุขจะตามมาด้วยโชคร้ายอาจเป็นผลมาจากประสบการณ์ในวัยเด็กที่สร้างการเชื่อมโยงระหว่างความสุขและความเจ็บปวด ซึ่งท้ายที่สุดแล้วก็จะเชื่อมโยงกันภายในสมองมากขึ้น
ยกตัวอย่างเมื่อเป็นเด็กอาจจะเคยถูกลงโทษหลังจากออกไปเล่นสนุกสนานกับเพื่อนๆ หรือการถูกเยาะเย้ยในความสำเร็จหรือความคิดที่เราตื่นเต้น แคร์รี บาร์รอน จิตแพทย์กล่าวว่า “มันอาจจะดูแปลกสำหรับคนที่จะกลัวอารมณ์เชิงบวกนี้ แต่หากเป็นเพราะความเชื่อมโยงระหว่างความสุขและการลงโทษในวัยเด็ก มันอาจจะเป็นเรื่องปกติมากกว่าที่เราคิด”
นอกจากนี้ คาร์ลา มารี แมนลี นักจิตวิทยาคลินิกในแคลิฟอร์เนีย ยังได้อธิบายว่าไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลายๆ คนจะต้องเผชิญกับความวิตกกังวลทันทีหลังจาก “ข่าวดีหรือความสำเร็จที่ได้มาอย่างยากลำบาก”
การตอบสนองที่ฝังแน่นอยู่ในสมอง” ซึ่งวงจรความกลัวนี้ทำงานเร็วมากและไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่าง “ความรู้สึกตื่นเต้น (ความเครียดที่ดี) และความตื่นตระหนก (ความเครียดที่ไม่ดี)” มักเกิดกับผู้ที่อยู่ในภาวะวิตกกังวลเรื้อรัง
ยิ่งไปกว่านั้น สำหรับผู้ที่ประสบกับความวิตกกังวลเป็นประจำ ในช่วงที่รู้สึกอิ่มเอมใจ สมองสามารถวิ่งไปมาระหว่างความรู้สึกมีความสุข กลัวการเปลี่ยนแปลง และกังวลเกี่ยวกับตนเอง ซึ่งสามารถอธิบายความวิตกกังวลที่เราประสบเมื่อบรรลุเป้าหมายสำคัญได้
มีการวิจัยยังระบุว่าโรคกลัวความยินดี เป็นเรื่องปกติในผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งเชื่อว่าความสุขไม่สามารถคงที่ได้ และการประสบกับความสุขจะนำไปสู่ความผิดหวัง หรือความเหงา หรือเพียงแค่โชคร้าย ความสมบูรณ์แบบที่ซึ่งเป็นลักษณะบุคลิกภาพสามารถกระตุ้นให้เกิดความหวาดกลัวในบางคนได้
ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าจิตบำบัดที่มุ่งเน้นข้อมูลเชิงลึกหรือการบำบัดพฤติกรรมทางปัญญาจะมีประโยชน์สำหรับคนที่เป็นโรคกลัวความยินดี แม้จะไม่ทำให้ใช้ชีวิตลำบาก แต่ในแง่ของการทำความเข้าใจสาเหตุที่แท้จริงที่อยู่เบื้องหลังความสัมพันธ์เชิงลบระหว่างการเชื่อมโยงความสุขกับความเจ็บปวด การได้สัมผัสกับเหตุการณ์ที่กระตุ้นความสุขซึ่งช่วยให้ผู้คนเข้าใจว่าความสุขไม่จำเป็นต้องส่งผลเสียเสมอไปก็สามารถใช้ได้กับบางคนที่เป็นโรคกลัวความกลัวในสังคมได้เช่นกัน