แยกให้ออก อารมณ์ไม่ดี หรือ อารมณ์เชิงลบที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

แยกให้ออก อารมณ์ไม่ดี หรือ อารมณ์เชิงลบที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
Unhealthy VS Healthy Negative Emotion เมื่ออารมณ์เชิงลบสามารถช่วยบำบัดจิตใจได้เช่นกัน

การบำบัดแบบเน้นเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม (Rational Emotive Behavior Therapy: REBT) สร้างความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เรียกว่าอารมณ์เชิงลบที่ไม่ดีต่อสุขภาพและอารมณ์เชิงลบที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ พูดง่ายๆ ก็คือ อารมณ์เชิงลบที่ไม่ดีต่อสุขภาพคืออารมณ์ที่ควบคุมเรา ดังนั้นวิธีคิด ความรู้สึก และการกระทำจึงไม่สร้างสรรค์

แต่ในทางกลับกันอารมณ์เชิงลบที่เป็นประโยชน์นั้นเป็นอารมณ์ที่เราสามารถควบคุมได้ ดังนั้นวิธีคิด รู้สึก และการกระทำจะสร้างสรรค์ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด การเน้นไปที่อารมณ์เชิงลบ ทั้งดีต่อสุขภาพหรือไม่ดีต่อสุขภาพ แค่รับรู้ถึงความทุกข์ยาก ความท้าทาย หรือสถานการณ์ที่ยากลำบาก นักบำบัด REBT ยังคงต้องการให้เราแสดงอารมณ์ เพียงแต่เราต้องการให้แสดงอารมณ์อย่างสร้างสรรค์ จงระบายความโกรธ

อัลเบิร์ต เอลลิส (Albert Ellis) ผู้สร้างทฤษฎีการบำบัด REBT ในปี 1955 ได้เผยแพร่การบำบัดแบบเน้นเหตุผล และอารมณ์ ซึ่งเน้นให้ผู้รับการบำบัดเข้าใจและแสดงพฤติกรรมตามที่เข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาซึ่งประกอบไปด้วย ความเชื่อซึ่งนำไปสู่ความทุกข์ทางอารมณ์. แนวคิดดังกล่าวนี้ เน้นการทำงานเพื่อเพื่อเปลี่ยนแปลง ความเชื่อและพฤติกรรมที่ส่งผลร้ายต่อตนเอง โดยการทำให้ผู้รับการบำบัดเข้าใจความไม่สมเหตุสมผลและความจำกัดของความเชื่อและพฤติกรรมดังกล่าว

สองปีต่อมา เอลลิสได้เขียนหนังสือชื่อ How to Live with a Neurotic (วิธีการใช้ชีวิตร่วมกับคนเป็นโรคประสาท) ซึ่งนำเสนอแนวคิดทฤษฎีที่ละเอียดมากขึ้น ปีต่อมา เขาได้นำเสนอแนวคิดใหม่นี้ในงานประชุมของ สมาคมจิตวิทยาอเมริกันที่ชิคาโก ในสมัยนั้น จิตวิทยาการทดลองจะสนใจแนวคิดพฤติกรรมนิยม ส่วนจิตวิทยาคลินิกจะสนใจแนวคิดจิตวิเคราะห์ เช่นของ ฟรอยด์ จุง แอดเลอร์ และเพิร์ล เป็นต้น

แม้ว่าแนวคิดของเอลลิสจะเน้นวิธีการเกี่ยวความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม แต่จุดเน้นด้านความคิดของเขาก็กระตุ้นบุคคลด้วยข้อยกเว้นที่เป็นได้ของนักจิตวิทยาแนวแอดเลอร์. เพราะฉะนั้น เขาจึงมักจะได้รับการต่อต้านในการประชุมเชิงวิชาชีพและในงานเขียน น่าสนใจว่า ในการประชุมของสมาคมจิตวิทยาอเมริกันหลายครั้ง เฟเดอริก เพิร์ล ผู้ตั้งการบำบัดแนวเกสตัลมักจะอ้างถึงแนวคิดความเป็นเหตุเป็นผล (Rationality)ของเอลลิสในเชิงเหน็บแนม แต่ก็ไม่เคยเหน็บแนมเรื่ององค์ประกอบด้านประสบการณ์และพฤติกรรมของทฤษฎีการบำบัดแบบเน้นเหตุผลและอารมณ์เลย

เอลลิส เดิมเขามีความนิยมต่อการบำบัดแบบจิตวิเคราะห์ และได้เข้าฝึกอบรมด้านจิตวิเคราะห์ยุคใหม่ แต่เขาไม่สู้ประทับใจกับประสิทธิผลการบำบัดแบบจิตวิเคราะห์ เขาพบว่าคนไข้ของเขาแม้จะเกิดการหยั่งรู้ในปัญหา มีความเข้าใจอย่างดีต่อเหตุการณ์ในอดีตแต่คนเหล่านั้นก็ยังไม่หายจากอาการและมีแนวโน้มที่จะสร้างปัญหาหรือเกิดอาการใหม่ขึ้นมาอีก เอลลิสเริ่มตระหนักถึงเหตุผล 2 ประการ 

ประการแรกคนเหล่านั้นได้รับการอบรมเลี้ยงดูสั่งสอนให้มีความเชื่อที่ไร้เหตุผล รวมทั้งเชื่อในความไม่มีคุณค่าของตัวเอง เหตุผลประการที่สอง คือ คนเหล่านั้นบอกย้ำกับตนเองถึง
ข้อห้ามต่างๆ และความเชื่อที่ผิดๆ  ที่เขาเก็บสะสมจากอดีตเอลลิส แสดงจุดยืนของแนวความคิด เขียนบทความโต้ตอบแนวทางการบำบัดแบบจิตวิเคราะห์และไม่เห็นด้วยกับการให้การปรึกษาแบบบุคคลเป็นศูนย์กลางที่ขาดความกระฉับกระเฉงประจวบกับการได้ศึกษาปรัชญากรีกและปรัชญาเอเชีย เขาจึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาโดยให้ความสำคัญกับความคิด เขาเริ่มคิดทฤษฎีของตนเองและนำมาใช้ในปี

ค.ศ. 1955 ทฤษฎี REBT เหมาะสมที่จะใช้ในกลุ่มการปรึกษาเพราะผู้นำกลุ่มสามารถสอนให้สมาชิกเข้าใจถึง โครงสร้าง ABCDE (กรอบความคิดที่อธิบายถึงที่มาของอารมณ์ทางลบและวิธีการปรับอารมณ์ กล่าวคือทฤษฎีนี้ตั้งอยู่บนหลักการว่าความคิดคือสาเหตุของความรู้สึก ดังนั้นในกลุ่มผู้นำกลุ่มจะช่วยให้สมาชิกเปลี่ยนความรู้สึกโดยทบทวนความคิดที่ตนบอกกับตนเอง ผู้นำกลุ่ม REBT จะช่วยให้สมาชิกกลุ่มรับรู้ว่าตนสามารถควบคุมชีวิตได้ดีขึ้น โดยสร้างการตระหนักรู้ว่าความรู้สึกลบทั้งหลายที่รบกวนจิตใจล้วนเกิดจากความคิดที่เกิดขึ้นไม่ใช่เหตุการณ์ภายนอกหรือคนอื่น ต่อไปเป็นการแสดง ตัวอย่างของกรอบความคิด กรอบความคิด ABCDE

REBT เสนอกรอบความคิด ABCDE (Elis, 2000) เพื่อแสดงให้เห็นว่าความคิดเป็นตัวกำหนด สร้างอารมณ์ทางลบและจะจัดการกับความคิดได้ ดังสถานการณ์ต่อไปนี้

A = เหตุการณ์ที่กระตุ้นเร้า (activating event) แฟนปฏิเสธ

B = ความเชื่อที่มีต่อเหตุการณ์ (beliet) เป็นความเชื่อว่าจำเป็นต้องได้รับความรักจากแฟน ดังนั้นการที่ไม่ได้รับความรักแสดงว่าฉันไม่มีคุณค่า

C = ผลที่ได้รับทางอารมณ์และพฤติกรรม ซึ่งกำหนด โดยความเชื่อ (emotional and behavioral consequences) ทำให้รู้สึกซึมเศร้าและมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยง

D = การโต้แย้งความเชื่อที่ส่งผลรบกวนจิตใจ (disputing disturbance-producing beliefs) ฉันอยากที่จะได้รับความรัก แต่ไม่มีเหตุผลว่าจะต้องได้รับความรักให้ได้ ถึงไม่ได้รับความรักฉันสามารถที่จะมีความสุขและยอมรับตนเอง แฟนปฏิเสธฉันเป็นประสบการณ์ที่น่าเศร้าแต่ไม่ได้หมายความว่าฉันเป็นคนไม่มีค่า คุณค่าของมนุษย์มีหลายมุมมอง

E = ทัศนะใหม่มีเหตุผลและประสิทธิภาพทำให้พฤติกรรมและอารมณ์เปลี่ยนไป่ (new and effective rational outlook) เช่น รู้สึกเศร้าและเริ่มเข้าหาสังคมเพราะยอมรับตนเองมากขึ้น

อ้างอิง 1 2 3

TAGS: #สุขภพจิต #จิตวิทยา #การบำบัดจิต