ปอดอักเสบ (Pneumonia)คือการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุมักจะอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วยสามารถแพร่กระจายได้โดยการไอ จาม หรือหายใจรดกัน ควรดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด
พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคปอดอักเสบ โดยปอดบวม หรือ ปอดอักเสบ (Pneumonia)คือการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก อาจมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
ข้อมูลจากโรงพยาบาลศิริราชเผยสาเหตุที่ทำให้ลูกป่วยเป็นปอดอักเสบ เกิดจากสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ ปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อและปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ แต่โดยส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งในกลุ่มเด็กเล็กนั้นจะพบว่ามีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรียร่วมกันเชื้อไวรัสที่พบบ่อย คือเชื้อ Respiratory Syncytial Virus (RSV) เชื้อ Inuenza (ไข้หวัดใหญ่) เชื้อ parainuenza
ส่วนผู้ป่วยอักเสบที่มีชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุนั้น เกิดจากการติดเชื้อ Streptococcus pneumoniae มากที่สุด เชื้อแบคที่เรียทีเป็นรายอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุ ได้แก่เชื้อ Haemophilus inuenza Type B หรือ ฮิบ, เชื้อ Staphylococcus aureus หรือ กลุ่มเชื้อ Mycoplasma pneumoniae, Chlamydia pneumoniae.
ปอดอักเสบสามารถติดต่อกันได้ เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุมักจะอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วยสามารถแพร่กระจายได้โดยการไอ จาม หรือหายใจรดกัน การสำลักเอาสารเคมี หรือเศษอาหารเข้าปอด การแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด เช่น การฉีดยา การให้น้ำเกลือ การอักเสบในอวัยวะส่วนอื่นๆ เป็นต้น
อาการปอดอักเสบ มีไข้ ไอ หายใจเหนื่อย หายใจลำบาก หายใจเร็ว หายใจปีกจมูกบาน ซี่โครงบาน
อกบุ๋ม ซึม อาจมีอาการตัวเขียวได้ อาจรับประทานนมหรือดูดนมลำบาก ในบางรายอาจร้องกวน งอแง กระสับกระส่าย
อาการส่วนมากในเด็กมักไม่มีลักษณะเฉพาะ ผู้ป่วยอาจมีไข้ หรือไม่มีไข้ก็ได้ อาจมีอาการซึม อาเจียน และไม่ยอมดูดนมหรือน้ำในเด็กโตอาจจะมีอาการเจ็บหน้าอกเวลาหายใจเข้าออก
การรักษา
- ความรุนแรงของโรคไม่เท่ากันในแต่ละราย
- ยารักษาตามอาการ ได้แก่ ยาลดไข้ ยาละลามเสมหะ ล้างจมูก
- ยาฆ่าเชื้อ เฉพาะรายที่สงสัยติดเชื้อจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
- ข้อบ่งชี้ในการนอนโรงพยาบาล ได้แก่ หายใจเหนื่อย ออกซเจนต่ำ กินได้น้อย มีภาวะขาดน้ำ ในเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัว (เด็กเกิดก่อนกำหนด โรคปอด โรคหัวใจ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง) อาการแย่ลง มีภาวะแทรกซ้อน
การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชน สถานที่แออัด
- ใส่หน้ากากอนามัย
- ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือน้ำสบู่
- ทำความสะอาดของเล่น
- ใช้ช้อนกลาง แยกของใช้ส่วนตัว
- แยกผู้มีอาการป่วยที่อยู่ในบ้านเดียวกัน
- เมื่อเริ่มมีอาการไม่สบาย ควรหยุดโรงเรียนทันที
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การสัมผัสควันบุหรี่
- วัคซีนเสริม ไข้หวัดใหญ่ โควิด ปอดอักเสบนิวโมคอคคัส