อากาศหนาวๆ หลายคนคงเลือกที่จะอาบน้ำอุ่น แต่การอาบน้ำแล้วมาเจออุัณหภูมิที่เย็นเฉียบทันทีอาจจะทำให้ร่างกายปรับไม่ทัน ส่งผลให้หลอดเลือดสมองแตกได้
จากข่าวชายวัย 30 ปี อาบน้ำอุ่น หลังจากอาบเสร็จเจออุณหภูมิแตกต่างฉับพลัน ทำให้เกิดอาการปวดหัวหนัก แขนขาอ่อนแรง รีบส่งรพ. พบความดันเกิน 200 มม. หลอดเลือดในสมองแตก
เกิดจากอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ ถ้าหากร่างกายมีอุณหภูมิต่ำกว่า 34 °C จะมีอาการอยู่ในสภาพที่ไม่รู้สึกตัว อัตราการสร้างความร้อนจะลดลงถึงสองเท่า และถ้าอุณหภูมิต่ำจนถึง 28 °C ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายจะเสียไปอย่างถาวร ร่างกายจะเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตามสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับสัตว์เลือดเย็น
เมื่อเราไปอยู่ในที่อากาศร้อน สักพักหนึ่งเลือดในกายของเราจะร้อนขึ้น เลือดนี้หมุนเวียนไปถึงศูนย์ควบคุมอุณหภูมิฮัยโปธาลามัส สมองส่วนนี้จะออกคำสั่งเพื่อแก้ไขสถานการณ์ให้รักษาอุณหภูมิไว้ให้คงที่ก่อนอื่นจะผ่านคำสั่งไปยังก้านสมอง ไปถึงหลอดเลือดผิวกาย ให้หลอดเลือดขยายตัวเพื่อระบายความร้อนออก
เมื่ออยู่ในที่ร้อนนานๆ ร่างกายจะเพิ่มการระบายความร้อน โดยเส้นเลือดผิวกายขยายตัว ขับเหงื่อ อวัยวะภายในเช่นกล้ามเนื้อ หัวใจ ปอด ตับจะลดการทำงาน เส้นเลือดทั่วกายขยายตัว เลือดไปกองตามแขนขา เมื่ออยู่ในที่ร้อนนานๆ เส้นเลือดจะยิ่งขยายต่อไปจนทำให้เกิดการคั่งเลือด
เนื่องจากว่าคนเรามีปริมาณเลือดจำกัดที่ 4,500 ซีซีเมื่ออยู่ในที่ร้อนนานๆเส้นเลือดขยายตัวเลือดไปกองตามแขนขาเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เลือดที่จะหมุนเวียนที่ส่วนกลางลดน้อยลงเลือดจึงไปเลี้ยงสมองไม่พอ ถ้าอาการน้อยก็อาจรู้สึกมึนซึม ง่วงเหงาหาวนอน ถ้าเป็นเฉียบพลันก็ทำให้เกิดอาการเป็นลมหน้ามืดหรือหมดสติได้
ประโยชน์จากน้ำเพื่อผลในการกระตุ้นร่างกาย ฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วย
1. บุคคลควรงดที่การอาบน้ำคือ คนที่มีไข้สูง หรืออยู่ในระยะที่เริ่มจะมีอาการไข้เฉียบพลัน, ผู้ป่วยโรคหัวใจรุนแรง, โรคเลือดจาง, โรคไตวายรุนแรง, คนที่ดื่มเหล้าเมา
2. โรคที่ติดต่อกันง่าย เช่น วัณโรค แผลติดเชื้อที่ผิวหนัง ไม่ควรอาบน้ำในสระหรือที่สาธารณะร่วมกัน และควรใช้อุปกรณ์ของใช้ส่วนตัวเท่านั้น
3. คนที่มีโรคความดันสูง โรคหัวใจขาดเลือด ไม่ควรแช่น้ำร้อนนานเกิน 10 นาที ในขณะที่แช่น้ำร้อนควรถูนวดตัวไปด้วย เพื่อช่วยให้การไหลเวียนที่ผิวดีขึ้น
4. การแช่น้ำร้อนนานกว่าครึ่งชั่วโมง จะทำ ให้เลือดลงมาสะสมที่ผิวหนัง ส่งผลให้ไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ อาจเป็นลมได้
5. ไม่ควรอาบน้ำในขณะเหงื่อออกมาก จะทำให้ไม่สบาย เพราะรูขุมขนกำลังเปิด ความเย็นจะเข้าสู่ร่างกาย
6. การอาบน้ำหลังกินข้าวอิ่มใหม่ๆ จะทำให้การย่อยอาหารมีประสิทธิภาพน้อยลง
7. การอาบน้ำร้อนปกติ อุณหภูมิไม่ควรเกิน 40 องศาเซลเซียส ยกเว้นกรณีพิเศษที่ต้องการผลเฉพาะ
ดังนั้นเวลาเราไปตากแดดมา หน้าของเราจะเป็นสีแดง เพราะเส้นเลือดขยายตัว ขณะเดียวกันต่อมเหงื่อจะทำงานเพิ่มขึ้น เพื่อระบายเหงื่อออก เหงื่อระเหยไปจากผิวหนัง ก็ช่วยพาความร้อนออกไปจากตัวในอีกด้านหนึ่ง คำสั่งระบบประสาทอัตโนมัติจะไปยังอวัยวะภายใน และระบบฮอร์โมนให้ลดอัตราเผาผลาญอาหารของร่างกาย และลดการทำงานของอวัยวะภายใน
ผลโดยรวมทำให้หัวใจ ปอด ตับ ม้าม อวัยวะภายในทำงานน้อยลง กล้ามเนื้อทำงานน้อยลง เกิดการคลายตัว เป็นผลโดยรวมให้สร้างความร้อนในร่างกายน้อยลง
สักพักหนึ่งเลือดในการของเราจะเย็นลง เมื่อเลือดจำนวนนี้หมุนเวียนไปถึงฮัยโปธาลามัส ศูนย์แห่งนี้รับรู้อุณหภูมิเลือดที่เย็นลงเป็นปกติแล้ว ก็จะหยุดคำสั่งเบื้องต้นไว้ ทำให้รักษาอุณหภูมิไว้ที่ 37 °C เอาไว้ได้
นอกจากกลไกการทำงานของร่างกายจะช่วยรักษาอุณหภูมิได้แล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็เป็นตัวช่วยให้เรารับมือกับอันตรายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิร่างกายได้ ถ้าต้องอยู่ในที่หนาวเย็นก็ใส่เสื้อผ้าหนา ๆ ห่มผ้าอุ่น ๆ หากรู้สึกว่าอากาศร้อนมากเราก็เลือกที่จะใส่เสื้อผ้าที่ไม่มิดชิดจนเกินไป ดื่มน้ำให้มากขึ้น ลดการทำกิจกรรมที่สร้างความร้อน หรือย้ายไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เย็นขึ้น