ข้าวรูปแบบใหม่ “meaty rice” แหล่งโปรตีนอนาคต

ข้าวรูปแบบใหม่ “meaty rice” แหล่งโปรตีนอนาคต
นักวิทยาศาสตร์วิจัย ข้าวออร์แกนิกเซลล์ meaty rice ข้าวที่มีเซลล์เนื้อ แหล่งโปรตีนราคาไม่แพง แถมไม่ก่อคาร์บอนฟุตปริ้นเท่าเลี้ยงสัตว์

สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นอาหารลูกผสมรูปแบบใหม่โดยเรียกว่า 'meaty' rice  หรือข้าวเนื้อ ไม่ใช่ข้าวหน้าเนื้อ แต่เป็นข้าวที่มีเซลล์สัตว์อยู่ โดยนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า 'meaty' rice  นี้สามารถให้แหล่งโปรตีนที่ราคาไม่แพงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

โดยธัญพืชนี้ที่มีรูพรุนอัดแน่นไปด้วยกล้ามเนื้อเนื้อวัวและเซลล์ไขมันที่ปลูกในห้องแล็บ เมล็ดข้าวที่เคลือบด้วยเจลาติน/เอนไซม์จากปลามีการปรับปรุงความเสถียรของโครงสร้าง เป็นครั้งแรกเพื่อช่วยให้เซลล์เนื้อวัวเกาะติด และเมล็ดข้าวถูกทิ้งไว้ในจานเพาะเชื้อเพื่อเพาะเลี้ยงนานถึง 11 วัน

คุณสมบัติทางอาหารของข้าวออร์แกนิกเซลล์แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการเป็นธาตุอาหารในอนาคต นักวิจัยกล่าวว่าอาหารดังกล่าวอาจทำหน้าที่ "บรรเทาความอดอยาก เป็นอาหารทางการทหาร หรือแม้แต่อาหารในอวกาศ" ในอนาคต

เห็นได้ชัดว่าข้าวลูกผสมมีความแน่นและเปราะกว่าข้าวปกติเล็กน้อย แต่มีโปรตีนมากกว่า รายงานวารสาร Matter จากข้อมูลของทีมมหาวิทยาลัยยอนเซในเกาหลีใต้ พบว่ามีโปรตีนมากกว่า 8% และมีไขมันมากกว่า 7% และเมื่อเทียบกับเนื้อวัวทั่วไป เนื้อนี้มีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า เนื่องจากวิธีการผลิตไม่จำเป็นต้องเลี้ยง หรือทำเป็นฟาร์มเลี้ยงสัตว์จำนวนมาก

คาดว่า 'meaty' rice จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่า 6.27 กิโลกรัม (13.8 ปอนด์) ในขณะที่การผลิตเนื้อวัวจะปล่อยออกมามากกว่า 8 เท่าที่ 49.89 กิโลกรัม นักวิจัย โซฮยอน ปาร์ค อธิบายว่า ”โดยปกติแล้วเราได้รับโปรตีนที่เราต้องการจากปศุสัตว์ แต่การผลิตปศุสัตว์ต้องใช้ทรัพยากรและน้ำจำนวนมาก รวมทั้งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก ลองจินตนาการถึงการได้รับสารอาหารทั้งหมดที่เราต้องการจากข้าวที่มีโปรตีนเพาะเลี้ยงเซลล์“

TAGS: #ข้าว #เซลล์เนื้อ #สารอาหาร #โปรตีน