ฮาวาร์ดเผย 4 อาหารหลักสำหรับเลี้ยงสอง ป้องกันอัลไซเมอร์ เพิ่มความเฉียบคม ทั้งยังสามารถรับประทานได้ทุกวัน
นักประสาทวิทยาจาก Harvard-trained แนะนําโปรแกรมอาหารที่เรียกว่า MIND ย่อมาจาก Mediterranean-DASH Intervention for Neurodegenerative Delay ซึ่งออกแบบมาเพื่อลดความเสี่ยงการเสื่อมของสมองส่วนของความรู้ความเข้าใจเมื่อเราอายุมากขึ้น เพราะอาหารที่เรากินมีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อสุขภาพสมอง รวมถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์เมื่ออายุเพิ่มขึ้น
ประเภทอาหารโดยทั่วไปของ MIND ได้แก่ เบอร์รี่ ผักใบเขียว ผัก ถั่ว พืชตระกูลถั่ว ธัญพืชไม่ขัดสี ปลา และสัตว์ปีก แค่เห็นคงรู้สึกเบื่อ แต่ไม่จําเป็นต้องทานอาหารแบบนี้อย่างสมบูรณ์แบบ มีการศึกษาพบว่าผู้ที่ลองทานอาหารแบบ MIND ในระดับนึง หรือลองทานครึ่งนึงของทั้งหมดจะลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ได้ร้อยละ 37 นี่คืออาหารที่ควรพยายามทานทุกวันเพื่อเพิ่มสุขภาพสมอง
1. โปรตีนลีน (Lean poteins)
การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงสามารถนําไปสู่ภาวะคอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน และโรคหัวใจ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนได้สําหรับโรคอัลไซเมอร์
การศึกษายังพบว่าคนที่ทานเนื้อแดงเป็นประจําจะเกิดการเสื่อมถอยของสมองส่วนการรับรู้ความรู้ความเข้าใจ ลองเปลี่ยนเนื้อแดงเป็นโปรตีนลีนที่มีอยู่หลากหลาย โดยเฉพาะปลาแซลมอน ปลาทูน่า ไข่ และเต้าหู้ ทั้งหมดนี้เป็นแหล่งวิตามินบีและวิตามินดีที่ดี ซึ่งเป็นสารอาหารสําคัญสําหรับการต่อสู้กับภาวะสมองเสื่อม
2. ธัญพืชไม่ขัดสี
แทนที่ขนมปังขาวและข้าวแปรรูปด้วยการรับประทานขนมปังโฮลเกรน ข้าวกล้อง และควินัวเป็นประจํา ซึ่งเป็นแหล่งวิตามินบีที่ดี การศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่าผู้ที่กินธัญพืชไม่ขัดสี 2 มื้อต่อวันมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ลดลงถึงร้อยละ 40
3. ผักใบเขียว
ผักใบเขียว เช่น ผักโขมและคะน้า มีสารอาหารที่กระตุ้นสมองสูง เช่น ลูทีน เบต้าแคโรทีน และโฟเลต การรับประทานสลัดได้แก่ ผักใบเขียว มะเขือเทศย่าง อะโวคาโด มะกอกดํา และถั่วพิสตาชิโอ เมล็ดทับทิม เต้าหู้ผัดในน้ํามันมะกอก แอปเปิ้ล แครนเบอร์รี่ และวอลนัท ราดด้วยน้ําสลัดง่ายๆ ของน้ํามันมะกอก เกลือ และมะนาว บางครั้งใส่มัสตาร์ดและน้ําผึ้งหรือน้ําส้มสายชูเกือบทุกวันเป็นการให้อาหารสมองที่ดี
4. ถั่วและเมล็ดพืช
สิ่งสําคัญคือต้องได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 เพียงพอเพราะร่างกายของเราไม่ได้ผลิตเอง ถั่ว เมล็ดพืช และน้ํามันพืช เช่น น้ํามันเมล็ดแฟลกซ์เป็นแหล่งกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ดีเยี่ยม ซึ่งช่วยให้เซลล์สมองแข็งแรงและลดการอักเสบ
การนำถั่ว เมล็ดพืชมาทำเป็น “สมูทตี้” เป็นวิธีการทำให้ถั่วและเมล็ดพืชเข้ากับอาหาร เช่นการนำเมล็ดเจียหนึ่งช้อนชา เมล็ดแฟลกซ์หนึ่งช้อนชา เนยถั่วหนึ่งช้อนโต๊ะ (แค่ถั่วลิสง ไม่ใส่น้ําตาลหรือน้ํามัน) ผักโขมหรือคะน้าหนึ่งกํามือ กล้วยหนึ่งลูก มะนาวฝาน และนมข้าวโอ๊ตมาผสมกันแล้วปั่น
มีวิธีการรับประทานอาหารมากมายที่ดูเหมือนจะย้อนแย้งกันบ้าง แตาส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การจำกัดและการกีดกันซึ่งมักจะไม่ยั่งยืน การเลือกรับประทานแบบ MIND จึงดูเป็นเมนูอาหารมากกว่าการควบคุมอาหาร
เป็นแนวทางในการรับประทานอาหารโดยเราจะได้เลือกอาหารอร่อยหลากหลายชนิดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสุขภาพสมองและป้องกันการเสื่อมถอยของสติปัญญา เพราะการทานอาหารเป็นสิ่งที่ไม่ควรรู้สึกเหมือนเป็นแผนงาน 30 วันที่เราพร้อมจะทิ้งไปในวันที่ 31 ตามหลักการแล้ว สิ่งนี้สามารถกลายเป็นไลฟ์สไตล์ เป็นวิถีชีวิตที่สอดคล้องกันได้