ระบบภูมิคุ้มกันฟื้นฟูช้าเป็นปี แม้เลิกสูบบุหรี่แล้ว

ระบบภูมิคุ้มกันฟื้นฟูช้าเป็นปี แม้เลิกสูบบุหรี่แล้ว
งานวิจัยเผย การสูบบุหรี่ลดความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายในการต่อสู้กับการติดเชื้อในทันทีและยังคงเสียหายเป็นปีแม้จะเลิกสูบบุหรี่แล้ว

การสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อร่างกายมากจนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของคนเปลี่ยนไป ทำให้พวกเขาเสี่ยงต่อโรคและการติดเชื้อมากขึ้น แม้ว่าจะเลิกบุหรี่ไปหลายปีก็ตาม การศึกษาใหม่พบว่า แม้ว่าอัตราการสูบบุหรี่จะลดลงนับตั้งแต่ทศวรรษ 1960 แต่ก็ยังเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตที่สามารถป้องกันได้ในสหรัฐอเมริกา โดยมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 480,000 รายต่อปี

เป็นเวลาหลายทศวรรษแล้วที่ผู้ให้บริการด้านสุขภาพบอกกับผู้สูบบุหรี่ว่านิสัยดังกล่าวอาจนำไปสู่ปัญหาร้ายแรง เช่น มะเร็งปอด หัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมอง แต่การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature เสนอเหตุผลอีกประการหนึ่งให้เลิกสูบบุหรี่ การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการสูบบุหรี่ลดความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายในการต่อสู้กับการติดเชื้อในทันทีและยังไม่สามารถกลับมาใช้งานได้ปกตินับปี ทั้งยังอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และโรคลูปัส

ดร. วิโอเลน แซงต์-อังเดร ผู้เชี่ยวชาญด้านชีวสารสนเทศ ที่ Institut Pasteur ปารีสเตือน “หยุดสูบบุหรี่โดยเร็วที่สุด โดยเฉพาะต่อเยาวชนเพราะดูเหมือนว่าจะมีความสนใจอย่างมากสำหรับภูมิคุ้มกันในระยะยาว ที่จะทำให้ผู้คนหันมาไม่เริ่มสูบบุหรี่” นักวิจัยได้ศึกษาตัวอย่างเลือดจากกลุ่มคนที่มีสุขภาพแข็งแรงจำนวน 1,000 คน อายุระหว่าง 20 ถึง 69 ปี โดยแบ่งกลุ่มระหว่างชายและหญิงเท่าๆ กัน เมื่อผู้สูบบุหรี่ในการศึกษาเลิกสูบบุหรี่ การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของพวกเขาดีขึ้นในระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างสมบูรณ์เป็นเวลาหลายปี 

ตามที่ผู้ร่วมวิจัย ดร. ดาร์ราห์ ดัฟฟี่ ซึ่งเป็นผู้นำหน่วย Translational Immunology ที่ Institut Pasteur กล่าว “ข่าวดีก็คือ เมื่อเลิกบุหรี่ได้ ระบบภูมิคุ้มกันมันเริ่มมีการรีเซ็ตแล้ว แม้ไม่ใช่เวลาที่ดีที่จะเริ่มสูบบุหรี่ แต่ถ้าคุณเป็นนักสูบบุหรี่ เวลาที่ดีที่สุดที่จะเลิกคือตอนนี้” การศึกษาพบว่าการสูบบุหรี่ดูเหมือนจะมีผลกระทบระยะยาวต่อรูปแบบการป้องกันที่สำคัญของระบบภูมิคุ้มกันสองรูปแบบ ได้แก่ การตอบสนองโดยธรรมชาติและการตอบสนองแบบปรับตัว 

ผลกระทบต่อการตอบสนองโดยธรรมชาติจะหายไปอย่างรวดเร็วเมื่อมีคนหยุดสูบบุหรี่ แต่ผลกระทบต่อการตอบสนองแบบปรับตัวยังคงอยู่แม้ว่าพวกเขาจะเลิกบุหรี่แล้วก็ตามการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติเป็นวิธีทั่วไปที่ผิวหนัง เยื่อเมือก เซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน และโปรตีนต่อสู้กับเชื้อโรค เมื่อร่างกายพิจารณาว่าการตอบสนองโดยกำเนิดไม่สามารถป้องกันได้เพียงพอ ระบบภูมิคุ้มกันแบบปรับตัวจะเริ่มทำงาน ระบบภูมิคุ้มกันนี้ประกอบด้วยแอนติบอดีในเลือดและของเหลวในร่างกายอื่นๆ บีและทีลิมโฟไซต์ที่สามารถ “จดจำ” ภัยคุกคามและกำหนดเป้าหมายภัยคุกคามได้ดีขึ้น

TAGS: #สูบบุหรี่ #บุหรี่ #ระบบภูมิคุ้มกัน