1 ใน 3 ของผู้สูงอายุหกล้มทุกปี "รู้ ปรับ ขยับเพิ่ม" ป้องกันบาดเจ็บรุนแรง

1 ใน 3 ของผู้สูงอายุหกล้มทุกปี
1 ใน 3 ของผู้สูงอายุหกล้มทุกปี หรือประมาณ 4 ล้านคน ตระหนักรู้อันตรายของผู้สูงอายุที่บาดเจ็บจาการหกล้ม เนื่องในวันผู้สูงอายุแห่งชาติ

13 เมษายน ของทุกปีเป็น "วันผู้สูงอายุแห่งชาติ" ตรงกับวันปีใหม่ไทยหรือวันสงกรานต์ เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของผู้สูงอายุ ที่มีคุณค่า ภูมิปัญญา มากด้วยประสบการณ์ กรมควบคุมโรคห่วงใยผู้สูงอายุในเทศกาลสำคัญและเกี่ยวข้องกับสถาบันครอบครัวไทย ได้แก่ วันผู้สูงอายุแห่งชาติและวันสงกรานต์รวมถึงวันครอบครัวแห่งชาติ ลูกหลานกลับบ้านไปเยี่ยมครอบครัว มีความปราถนาให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถดูแลตัวเองได้ เป็นที่พึ่งให้แก่ลูกหลานไปอีกยาวนาน 

ประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20 หรือมากกว่า 12 ล้านคน พบปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและพบบ่อยคือการพลัดตกหกล้ม โดย 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุหกล้มทุกปี หรือประมาณ 4 ล้านคน ร้อยละ 20 ของผู้สูงอายุที่หกล้ม ได้รับบาดเจ็บ ทำให้เกิดการบาดเจ็บตั้งแต่เล็กน้อย จนถึงรุนแรง ทำให้ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ต้องพึ่งพาผู้อื่น ส่งผลกระทบต่อภาระของครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ ตามมา 

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่
1. ปัจจัยเสี่ยงทางด้านร่างกาย
เช่น มวลกล้ามเนื้อลดลง ไม่แข็งแรง ทำให้การเคลื่อนไหว เดิน และการทรงตัวบกพร่อง มีโรคประจำตัว ใช้ยาที่เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม เคยมีประวัติหกล้ม ความสามารถในการรับรู้ที่ช้าลง รวมไปถึงการสวมรองเท้าไม่เหมาะสมกับรูปเท้าตนเอง พื้นไม่มีดอกยาง ลื่น เป็นต้น
2. ปัจจัยเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อม เช่น พื้นลื่น ต่างระดับ ไม่มีราวจับ แสงสว่างไม่เพียงพอ  วางสิ่งของกีดขวาง เป็นต้น

การพลัดตกหกล้มสามารถป้องกันได้ด้วย "รู้ ปรับ ขยับเพิ่ม"

รู้ความเสี่ยงของตนเอง ประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มปีละครั้ง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ห่างไกลความเสี่ยง

ปรับบ้าน สิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย เช่น ติดป้ายเตือนพื้นที่ต่างระดับ ติดตั้งราวจับ มีแผ่นกันลื่น ใช้เก้าอี้มั่นคงนั่งอาบน้ำ ไม่วางสิ่งของกีดขวางทางเดิน เป็นต้น

ออกแรงต้าน เพิ่มกิจกรรมทางกาย ออกกำลังกายแบบแรงต้าน คาร์ดิโอ ฝึกสมดุลทรงตัว ชะลอการเสื่อมถอยของมวลกล้ามเนื้อทำไม่น้อยกว่า 150 นาที/ สัปดาห์

รู้ความเสี่ยง ปรับพฤติกรรม ปรับบ้านและสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย เช่น ติดตั้งราวจับ มีแผ่นกันลื่น ไม่วางของกีดขวางทางเดิน มีป้ายเตือนพื้นต่างระดับ เป็นต้น

ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสูงวัยออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน มีส่วนร่วมทางสังคม เพิ่มกิจกรรมทางกาย ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง โปรดสังเกตสิ่งแวดล้อมเพื่อความปลอดภัย ทางเดินต่างระดับ ลื่น เป็นหลุม ขรุขระ เลือกสถานที่ปลอดภัย เป็นต้น

TAGS: #วันผู้สูงอายุแห่งชาติ #ผู้สูงอายุ