เช็กอาการด่วน ท่อเก็บสารกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 หาย!

เช็กอาการด่วน ท่อเก็บสารกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 หาย!
เช็กด่วน! วัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม 137 (Cesium) ได้สูญหายไปจากโรงงานไฟฟ้า จ.ปราจีนบุรี

เช็กด่วน! วัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม 137 (Cesium) ได้สูญหายไปจากโรงงานไฟฟ้า จ.ปราจีนบุรี โดยผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรีแถลงข่าว 15.00 น.วันอังคารที่ผ่านมา เตือนประชาชนผู้พบเห็นห้ามเข้าใกล้หรือจับเด็ดขาด เบื้องต้น ผู้แทนบริษัทฯได้เข้าแจ้งความกับทางเจ้าหน้าที่พร้อมตั้งรางวัลนำจับไว้ 50,000 บาท สำหรับผู้ชี้เบาะแสจนนำไปสู่การติดตามวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม 137 กลับคืนมาได้

ข้อมูลทั่วไปของสารเคมี Cesium-137 เป็นโลหะอ่อนมาก สีทองเงิน จุดหลอมเหลวที่ 28.5 องศาเซลเซียส เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง แต่มักจะจับตัวกับคลอไรด์กลายเป็นผงผลึก ปล่อยรังสีเบต้าและแกมม่า

ㆍ มีอยู่เล็กน้อยในเครื่องตรวจจับรังสี (Geiger-Mueller counter)
ㆍ เครื่องมือทางการแพทย์ใช้รักษามะเร็ง
ㆍ มาตรวัดกระแสน้ำในท่อมักใช้ในโรงงาน
ㆍใช้วัดความหนาของสิ่งต่างๆ เช่น กระดาษ แผ่นโลหะ
ㆍจากขบวนการฟิสชันของปฏิกิริยานิวเคลียร์พบได้ทั้งในโรงงานนิวเคลียร์และจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์

Health Effect (Acute Exposure) and management

อวัยวะเป้าหมาย
ㆍLocal effect: ผิวหนัง
ㆍSystemic effect:ระบบเลือด ทางเดินอาหาร ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบประสาท

กลุ่มอาการเฉียบพลันจากรังสี

(Acute radiation syndrome-ARS, radiation toxicity. radiation sickness) ARS จะเกิดขึ้นได้ต้องมีภาวะ ดังนี้

1. ปริมาณรังสีต้องมีขนาดสูงพอ คือมักต้องเกิน 0.7 เกรย์ (Gray) หรือ 70 แหรตส์ (rads)
2. แหล่งที่มาของรังสีเป็นจากภายนอก (จากภายในได้แต่ว่าพบได้น้อยมากๆๆ)
3. รังสีชนิดนั้นต้องเป็นแบบที่ทะลุทะลวงถึงอวัยวะภายในได้ ได้แก่ รังสีเอกซ์ รังสีแกมม่า นิวตรอน
4. ส่วนของร่างกายเกือบทั้งหมด หรือทั้งหมดโดนรังสี มีใช่เฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง
5. รังสีทั้งหมดได้ถูกปล่อยออกมาในเวลาสั้นๆ ส่วนใหญ่เป็นนาที

3 กลุ่มอาการ จาก ARS

1. กลุ่มอาการกดไขกระดูก (ระบบเลือด) เกิดได้ตั้งแต่โดนรังสี 0.3 Gray หรือ 30 rads แต่มักมีอาการชัดเจนเมื่อได้เกิน 0.7 Gray หรือ 70 rads อาการแบ่งได้ 4 ระยะ 

ระยะแรก (Prodromal stage): คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร เริ่มมีอาการได้ตั้งแต่ 1 ชั่วโมงถึง 2 วันหลังโดนรังสี อาการเป็นไต้นานเป็นนาทีถึงหลายๆ วัน

ระยะสอง (Latent stage!): เซลล์ตันกำเนิดในไขกระดูกตายไปเรื่อยๆ ระยะนี้จะเป็นอยู่ตั้งแต่ สัปดาห์แรกถึง 6 สัปดาห์ผู้ป่วยอาจดูปกติหรือไม่มีอาการ

ระยะสาม (Manifest ilness stage): เบื่ออาหาร มีไข้ อ่อนเพลีย ปริมาณเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดงและเกร็ดเลือดทั้งหมดลดระดับลงเรื่อยๆ ในเวลาหลายๆสัปดาห์ และจะเสียชีวิตในเวลา 2-3 เดือน ผู้ป่วยมักเสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด หรือเลือดออกมากและไม่สามารถหยุดได้

ระยะฟื้นตัว (Recovery: ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากภาวะที่ขกระดูกโดนกด โดยจะดีขึ้นไต้จากตั้งแต่ 2-3 สัปดาห์ ถึง 2 ปี (ผู้ป่วยราวครึ่งหนึ่งจะเสียชีวิตที่ 60 วัน หากได้รับรังสี 2.5-5 Gray - LD so/60 = 2.5-5 Gray)

2. กลุ่มอาการทางเดินอาหาร (Gastrointestinal syndrome) เกิดจากโดนรังสีเกิน 10 Gray (ส่วนน้อยเป็นได้ตั้งแต่ 6 Gray) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเสียชีวิตใน 2 สัปดาห์ จากการที่ระบบทางเดินอาหารและไขกระดูกโดนทำลายและไม่สามารถซ่อมแซมได้

ระยะแรก (Prodromal stage): คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง ท้องเสีย เริ่มมีอาการภายใน 2-3 ชั่วโมงหลังโดนรังสี

ระยะสอง (Latent stage) เซลล์ตันกำเนิดในไขกระดูกและเยื่อบุทางเดินอาหารตายไปเรื่อยๆ ระยะนี้ผู้ป่วยอาจดูปกติหรือไม่มีอาการ ระยะนี้จะไม่เกิน 1 สัปดาห์

ระยะสาม (Manjfest illness stage): เบื่ออาหาร มีไข้ อ่อนเพลีย ท้องเสีย ขาดน้ำ เกลือแร่ต่างๆ ผิดปกติ มักเสียชีวิตในเวลา 2 สัปดาห์ จากการติดเชื้อ ขาดน้ำ เกลือแร่ผิดปกติ

ระยะฟื้นตัว (Recovery): เสียชีวิตทั้งหมดหากได้รังสีเกิน 10 Gray (LD 100 = 10 Gray)

3. กลุ่มอาการทางระบบหัวใจหลอดเลือดหรือระบบประสาท มักโดนรังสี > 50 Gray (บางคน > 20 Gray)

ระยะแรก (Prodroma stage): วุ่นวายไม่ค่อยรู้ตัว คลื่นไส้อาเจียนถ่ายเหลวอย่างมาก ผิวไหม้ เกิดในเวลาเป็นนาที

ระยะสอง (Latent stage): กลับมามีอาการปกตีไต้ แต่มักไม่กี่ชั่วโมง

ระยะสาม (Monifest illness stage): อาเจียนท้องเสียมากๆอีกครั้ง ร่วมกับมีชัก โคม่า มักเกิดภายใน 5-6 ชั่วโมงหลังโดนรังสี และมักเสียชีวิตใน 3 วัน

ระยะฟื้นตัว (Recovery)! ไม่มี

กลุ่มอาการด้านผิวหนังจากรังสี (Cutaneous Radiation Syndrome)

มักเกิดจากการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีที่ผิวหนังหรือเสื้อผ้า บริเวณที่โดนรังสี จะเกิดการอักเสบ แดง มีการหลุดลอกผมหรือขนจะหลุดร่วง อาการแตงของผิวหนังอาจเกิดได้ตั้งแต่ 2-3 ชั่วโมงหลังโตนรังสี แล้วอาจเข้าสู่ช่วงที่ผิวหนังดูค่อนข้างปกติ

จากนั้นผิวจะกลับมาแดงขึ้นมากๆ อีก ร่วมกับมีถุงน้ำและแผลอักเสบ (ulcer) ต่อมาอาจจะดีขึ้น หรืออาจนำไปสู่ผิวหนังเสียหายถาวร เช่น ต่อมเหงื่อโดนทำลาย ผิวหนังตาย มีการอักเสบเรื้อรัง เกิดพังผืด หรือผิวหนังฝ่อ

การดูแลก่อนถึงโรงพยาบาล

1. หากผู้ป่วยได้รับบาดจ็บร่วมกับได้รับรังสี หรือมีการปนปื้อนสารกัมมันตรังสี ให้ดูแลเรื่องการบาดเจ็บที่จะถึงแก่ชีวิตก่อน
2. หลังจาก stabilize ผู้ป่วยแล้วค่อยประเมินการรับรังสีหรือการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี
3. ประเมินการปนเปื้อนภายนอกและสะเก็ดฝังใน และบันทึกการปนเปื้อนทุกจุดใน record form
4. ทำการชำระล้างร่างกายผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ
5.สำรวจการปนเปื้อนอีกครั้งโดยใช้เครื่องมือสแกน จากนั้นให้ทำการชำระล้างซ้ำจนกว่าเครื่องจะอ่านได้ระดับรังสีที่ไม่เกิน 2 เท่าของ background
6. พิจารณาการส่งผู้ป่วยกลับบ้านหากมีครบทุกข้อดังนี้
- ถ้าชำระล้างการปนเปื้อนจนได้น้อยกว่า 2 เท่าของ backgroundไม่มีการบาดเจ็บ หรือมีการบาดเจ็บเล็กน้อย
- โดนรังสีไม่เกิน 2 Gray
7. แต่ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่งจาก 3 ข้อด้านบน ให้ส่งต่อไปรพ.

ข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิวาส

TAGS: #ซีเซียม-137