เหนื่อยมาจนเกือบจะกลางปี วัยกลางคนยังไหวอยู่ใช่ไหม?

เหนื่อยมาจนเกือบจะกลางปี วัยกลางคนยังไหวอยู่ใช่ไหม?
Mid Year, Midlife Crisis เดินทางมาเกือบกลางปี ชาววัยกลางคนยังไหวอยู่ไหม? เพราะการเข้าสู่วัยกลางคนไม่ใช่เรื่องง่ายๆ สำหรับคนๆ นึง เพราะคือช่วงวัยผู้ใหญ่ของมนุษย์คนนึงที่เกิดขึ้นก่อนเข้าสู่วัยชราในทันที

วัยกลางคน โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 40-60 ปี และการเข้าสู่วัยกลางคนไม่ได้เปลี่ยนแปลงแค่ร่างกายที่ถดถอยลง สรีรวิทยาที่เปลี่ยนไป แต่รวมถึงจิตใจที่ตระหนักรู้ถึงความตาย รำลึกถึงอดีตมากขึ้น แทนที่จะคาดหวังกับอนาคต แต่หากมองในแง่ดี ชาววัยกลางคนนั้นมีเวลาให้เตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่วัยชราอย่างมีคุณภาพ

แม้จะผ่านมาเกือบจะกลางปี และวัยกลางคนยังคงต้องต่อสู้กับความรับผิดชอบ ไม่ใช่การเตรียมตัวเพื่อให้ตัวเองเข้าสู่วัยชราที่มีความมั่นคงทั้งสุขภาพและการเงินเท่านั้น หากมีครอบครัวที่ยังต้องประคับประคองไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ และ คู่สมรสบุตรของตัวเอง เราเรียกเจเนอเรชั่นนี้ว่า “Sandwich Generation”

วิกฤตวัยกลางคน หมายถึง ช่วงเวลาแห่งความสับสนวุ่นวายทางอารมณ์ในวัยกลางคน โดยมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง เกณฑ์สำหรับวิกฤตการณ์วัยกลางคนไม่ได้ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนและอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่มักเต็มไปด้วยความรู้สึกรุนแรง ทักษะการรับมือที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น การกระทำแบบหุนหันพลันแล่น การใช้จ่ายที่เสี่ยง 

คำถามสำคัญคือ “คนๆ หนึ่งอาจเริ่มตั้งคำถามว่าอะไรสามารถนำความหมายและความสมหวังมาสู่บั้นปลายของชีวิตซึ่งอาจหายไปหรือยังไม่ได้สำรวจ” และคำถามนี้อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในชีวิต เช่น หน้าที่การงาน การเงิน กิจวัตรประจำวัน สุขภาพ ความสัมพันธ์ รวมถึงงานอดิเรกสิ่งไหนสำคัญในชีวิต

วิกฤตในวัยกลางคนมักเกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่ผิดปกติ โดยเฉพาะความโกรธหรือหงุดหงิดที่เพิ่มขึ้น ความวิตกกังวลหรือความเศร้า น้ำหนักลดหรือเพิ่มขึ้น การรบกวนการนอนหลับ และความเปลี่ยนไปของกิจวัตรและความสัมพันธ์ตามปกติ โดยทั่วไปแล้ว ผู้คนที่ประสบภาวะตกต่ำในวัยกลางคนมักมีความปรารถนาอย่างเร่งด่วนที่จะเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ 

อาการเหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นกับคนบางคนเท่านั้น อาจจะมีสัญญาณของวัยกลางคนที่แตกต่างกันออกไปและไม่จำเป็นต้องแสดงออกมาในเชิงลบเท่านั้น เช่น การอุทิศตัวให้กับครอบครัวมากขึ้น ทำชีวิตให้ work-life balance มุ่งเน้นไปที่งานน้อยลงและออกมาใช้ชีวิตมากขึ้น หรือการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของตัวเองและการมีส่วนร่วมในชีวิต 

อ้างอิง 1 2 3

TAGS: #วัยกลางคน #midlifecrisis #middleage