รวมความเชื่อผิดๆ โภชนาการเด็กในวัยเรียน

รวมความเชื่อผิดๆ โภชนาการเด็กในวัยเรียน
ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโภชนาการทางอาหารของเด็กวัยเรียน หากไม่ปรับแก้ไขให้ถูกต้งครบหลัก 5 หมู่ยิ่งส่งผลให้การเจริญเติบโตชาลง และยังส่งผลทางด้านอารมณ์อีกด้วย

เด็กวัยเรียนในช่วงอายุ  6-12 ปี เป็นวัยกำลังเตรียมพร้อมเข้าสู่ช่วงการเจริญเติบโตทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและจิตใจ จึงต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสมกับช่วงวัย เรื่องอาหารเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กให้พร้อมเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ แต่การรับประทานอาหารแบบผิดๆ ด้วยความเชื่อแบบผิดนั้นกลับทำร้ายพัฒนาการของเด็กได้ มาเช็กกันว่าความเชื่อไหนที่ผิดบ้าง

 1. กินข้าวกับเนื้อสัตว์ปรุงสุกเยอะๆ ถึงจะดี
เพราะคิดว่าจะช่วยเพิ่มพลังงานให้เด็กและทำให้เด็กมีร่างกายที่แข็งแรงขึ้น นั้นอาจไม่ใช่ความเชื่อที่ถูกต้องเท่าไร เพราะการทานแต่ข้าวกับเนื้อสัตว์อาจทำให้เด็กได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ซึ่งเด็กจะได้รับเพียงคาร์โบไฮเดรตจากข้าวและโปรตีนจากเนื้อสัตว์เท่านั้น โดยขาดทั้งวิตามิน แร่ธาตุ และไขมัน

2. อาหารฟาสต์ฟู้ดกินเมื่อไหร่ก็ได้
ทำให้เด็กได้รับสารอาหารที่ไม่ครบถ้วนและยังได้รับสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของเด็กในระยะยาวอีกด้วย เป็นสาเหตุให้เด็กเกิดโรคอ้วนได้ง่าย กว่าที่ร่างกายของเด็กจะใช้ได้หมดแล้ว ในอาหารเหล่านี้ยังมีสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของเด็ก เช่น สารกันบูด สารเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ เป็นต้น

อาหารขยะส่งผลต่อความทรงจำและการเรียนรู้

การที่เด็กในวัยนี้ได้รับสารอันตรายจากอาหารขยะเป็นจำนวนมากจะส่งผลเสียต่อระบบความคิดและระบบการจำของเด็กได้ ซึ่งนอกจากส่งผลต่อระบบสมองให้ทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพแล้ว ยังส่งผลต่อเด็กในด้านของอารมณ์และสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย

3. ให้กินขนมหวานหลังมื้ออาหาร
ทำให้เด็กติดนิสัยในการกินเพื่อให้ได้กินขนมหวานหลังจากอาหารมื้อนั้น ถ้ากินบ่อยๆ หรือกินในปริมาณมาก เด็กจะติดรสชาติหวานซึ่งส่งผลให้เด็กอยากกินขนมหวานบ่อยขึ้นหรือชอบกินอาหารที่มีรสชาติหวานมากขึ้น ทำให้ฟันผุและอาจก่อให้เกิดโรคอ้วนได้ ส่งผลต่อด้านอารมณ์ของเด็กที่ทำให้สมาธิสั้น โกรธและฉุนเฉียว

4. วิตามินเสริมทดแทนอาหารหลักได้
เมื่อเด็กได้รับวิตามินเสริมเป็นระยะเวลานานจะส่งผลต่ออวัยวะภายในซึ่งเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ทางที่ดีควรปลูกฝังเด็กให้กินผักและผลไม้สดตั้งแต่ยังเด็กเพื่อให้วิตามินจากธรรมชาติที่หลากหลาย ได้มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของเด็กและช่วยในการป้องกันโรคได้

ปริมาณอาหารที่จำเป็นสำหรับเด็กวัยเรียนใน 1 วันมีอะไรบ้าง

จากตาราง แสดงให้เห็นถึงความเหมาะสมในการจัดเตรียมอาหารให้ได้โภชนาการครบถ้วนสำหรับเด็กวัยเรียนใน 1 วัน โดยเด็กชั้นอนุบาลช่วงอายุ 4-5 ปี มีความต้องการข้าว-แป้ง 5 ทัพพี, ผัก 3 ทัพพี, ผลไม้วันละ 3 ส่วน, เนื้อสัตว์ประมาณ 3 ช้อนกินข้าว และนม 2-3 แก้ว

ส่วนเด็กชั้นประถมหรือช่วงอายุ 6-13 ปี มีความต้องการข้าว-แป้ง 8 ทัพพี, ผัก 4 ทัพพี, ผลไม้วันละ 3 ส่วน, เนื้อสัตว์ประมาณ 6 ช้อนกินข้าว และนม 2-3 แก้ว

ข้อมูลจาก : กลุ่มพัฒนาพฤติกรรมโภชนาการ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

TAGS: #โภชนาการ #อาหาร #สุขภาพ #เด็ก